วันอาทิตย์, 20 เมษายน 2568

กฟผ. ร่วม มข. พัฒนา Engywall เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

21 ส.ค. 2021
1690

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เวลา 16.00 น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “โครงการวิจัยและพัฒนา Engywall เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์”กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ.)  โดยมี รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ลงนาม พร้อมพยานทั้งสองฝ่ายประกอบด้วย ศาสตรจารย์ ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ  คุณวีนัส หลงสมบุญ ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ กฟผ.  และผู้บริหารจำนวนกว่า 30 ท่าน ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting

ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า  ขอบคุณมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ให้การสนับสนุน หวังว่าเมื่อสถานการณ์โควิดคลี่คลายน่าจะพบกันที่ มหาวิทยาลัยขอน เร็วๆ นี้ ความเป็นมาวัตถุประสงค์ ความร่วมมือในครั้งนี้ สืบเนื่องจากที่ทั้งสองฝ่ายมีองค์ความรู้ด้านพลังงานเป็นอย่างมาก ฉะนั้นเพื่อต่อยอดความรู้นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ให้ชุมชนและผู้ประกอบรวมถึงทุกคนในชาติให้เกิดการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน เป็นที่มาของ “โครงการวิจัยและพัฒนา Engywall เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์”  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำองค์ความรู้ผลงานวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทรัพยากรทั้งสองฝ่ายมาบริหารจัดการร่วมกัน พัฒนาต่อยอดผลงานวิจัยเชิงพานิชย์เป็นระบบสำรองพลังงานไฟฟ้า หรือ  Engywall นับเป็นความร่วมมือแรกที่ มข. และ กฟผ.  จะร่วมมือกันโดยมีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี  หวังว่าความร่วมมือนี้จะก่อให้เกิดความร่วมมืออื่นๆในอนาคต เป็นประโยชน์ต่อสังคมและต่อประเทศสืบไป

รองศาสตราจารย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น  กล่าวว่า  ในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่นขอขอบคุณ กฟผ. ที่ได้มีโครงการร่วมมือกับ มข. “โครงการวิจัยและพัฒนา Engywall เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์”  โดยก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสประชุมร่วมกับท่านองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  ส่วนตัวรู้สึกตื่นเต้นมากกับวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของ กฟผ. รู้สึกเชื่อมั่นว่าจะสามารถบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันได้อย่างดีเยี่ยม เป็นที่มาของการลงนามวันนี้  สำหรับ มข. ได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ในการผลิตพลังงานตามลำดับ  กระทั่งปัจจุบันมีโรงงานต้นแบบ แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน สามารถกักเก็บพลังงานสูง ปลอดภัย และรองรับการ Fast charge ทั้งยังได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)และผ่านการทดสอบตามมาตรฐานสากลของ IEC เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง จากองค์ความรู้ที่เรามี  ประกอบกับวิสัยทัศน์ กฟผ. คาดว่าการลงนามความร่วมมือวิชาการครั้งนี้ จะเกิดประโยชน์ เห็นความสำเร็จร่วมกัน ของทั้งสองฝ่าย และเป็นประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่อไป

ที่มา/ https://th.kku.ac.th/72988/

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DNk79R.jpg sAyptI.jpg DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Aqh3Ka.jpg Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg 2QOy3y.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ผู้เชี่ยวชาญ มข. ร่วมเสนอแนวทางป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ ในเวทีวุฒิสภา
สำนักบริการวิชาการ มข. เปิดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการ เตรียมความพร้อมให้บุคลากรท้องถิ่นเข้าใจกฎหมายเลือกตั้งและอำนาจหน้าที่เชิงลึก
อค-ปส. ช่วยเสริมสร้างสุขลักษณะที่ดีให้กับครูและนักเรียน โรงเรียนชุมชนที่ 11 วัดสุวรรณประดิษฐ์ จังหวัดพิษณุโลก
สำนักบริการวิชาการ มข. เสริมศักยภาพการประชุมสภาท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับการเลือกตั้ง 2568
มข. ร่วมปิดฉากโครงการ HigherEd for PWD เฟสแรกอย่างยิ่งใหญ่
กฟผ.โดยโครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน(อค-ปส.) จัดกิจกรรมโครงการศึกษาดูงาน”ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.ผาบ่อง และโครงการพัฒนาโครงการนำร่องสมาร์ทกริดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน