วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

มข. จับมือ 86 ภาคี MOU กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หวัง พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการไทย ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนสหประชาชาติ

มื่อวันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564 กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จัดงานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2564 เรื่อง “โควิด – 19 สู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อคนพิการ” ในการนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สถาบันการศึกษา หน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 86 แห่ง  ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ผ่านระบบออนไลน์  ในงานสัมมนาครั้งนี้ด้วย

 บันทึกความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ บูรณาการและประสานความร่วมมือกับ สถาบันการศึกษา หน่วยงาน และองค์กร ในการกำหนดเป็นนโยบาย และยุทธศาสตร์ และการวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รวมไปถึงการสนับสนุนองค์กร ในด้านต่าง ๆ เช่น องค์ความรู้ในรูปแบบสหวิทยาการงบประมาณตามความจำเป็น เพื่อการศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมการนำผลงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีที่เหมาะสมตามหลักการออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design) เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างเท่าเทียมในสังคม และ เป็นสถานที่สำหรับการศึกษาดูงาน และการฝึกภาคปฏิบัติ สำหรับนิสิต/นักศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และบัณฑิตศึกษา

ผศ.นพ.ธรา ธรรมโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร  มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า การดูแลผู้พิการนั้น สอดคล้องโดยตรงกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 3 กลยุทธ์ที่ 2 เรื่องการดูแลและการให้บริการสังคม นอกจากนี้ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้นำเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของ สหประชาชาติ Sustainable Development Goal  มาเป็นกรอบในการดำเนินการดำเนินงาน   ซึ่งกรอบดังกล่าวมี SDGs ที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการ 2 SDGs คือ SDGs 4 เรื่อง การศึกษา และ SDGs 8 เรื่องการจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ  เพราะฉะนั้น การลงนามครั้งนี้จึงมีความสอดคล้อง สนับสนุน การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างยิ่ง ในการมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางของสหประชาชาติ

 “มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการในเรื่องนี้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาในด้านนโยบาย องค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ การพัฒนาในด้านอาชีพ การพัฒนาในด้านคุณภาพชีวิต การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก จากความร่วมมือดังกล่าว เราจะพัฒนาต่อยอดเพิ่มขึ้น  ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการปรับนโยบาย การรับคนพิการทั้ง นักศึกษา บุคลากร  มีอาจารย์สาขาต่าง ๆ จะมาระดมสมองเพื่อเป็นองค์ความรู้ แนวทางในการพัฒนาอย่างรอบด้าน ซึ่งโครงการที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการ และ มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในขณะนี้  อาทิ การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกที่มากเพิ่มขึ้น ด้านนโยบายมีการปรับใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการรับนักศึกษา การรับบุคลากรใหม่ ด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ เช่น กรณี  ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุและเกิดความพิการขึ้นมา มหาวิทยาลัยได้ออกระเบียบ เรื่อง สวัสดิการใหม่ นอกจากนี้ จะมีการสำรวจคนพิการใหม่  เนื่องจากความพิการมีหลายระดับ แต่เดิม เราสามารถตรวจจับได้เฉพาะกรณีที่เห็นอย่างชัดเจน เช่น แขนขาด ขาขาด ตาบอด แต่ในความเป็นจริงแล้วความพิการที่มีระดับมากกว่านั้น เช่น ตาฝ้าฟาง มือใช้งานไม่ได้บางส่วน เพราะฉะนั้นเราจะมีการสำรวจผู้พิการให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา หรือ บุคลากร เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงนโยบาย สิ่งอำนวยความสะดวกมากเพิ่มขึ้น”

        ทั้งนี้ บันทึกความร่วมมือทางวิชาการฉบับนี้มีผลบังคับใช้ 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2564  ถึงวันที่ 10 กันยายน 2567  ผู้สนใจสามารถชมงานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2564 เรื่อง “โควิด – 19 สู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อคนพิการ ได้ที่  https://fb.watch/7WsrovmcUy/

ที่มา / https://www.khonkaenuniversity.in.th/74985/

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DNk79R.jpg Phh9Db.jpg sAyptI.jpg DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Aqh3Ka.jpg Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สำนักบริการวิชาการ มข. จัดเวิร์กช็อปพิเศษ Team-Based Learning ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการศึกษา
สำนักบริการวิชาการ มข. ผลักดันการบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
สำนักบริการวิชาการ ร่วมพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อมอดินแดง
มข.ต่อยอด Soft Power ดันลูกทุ่ง “เสียงสนแว่วหวานสีฐานเฟสติวัล” ปีที่ 3 ยกระดับเวที ผู้ชนะเลิศสามารถเดินเข้าสู่วงการบันเทิงในระดับประเทศต่อไป
จ.อุดรธานี/สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะ (UpSkill) แก่ผู้ปฏิบัติงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมการศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาล