วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

คณะเกษตรศาสตร์ มข. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ ต้นแบบบ่อเติมน้ำใต้ดินแบบปิด” ตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

03 ต.ค. 2021
1580

เมื่อวันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ต้นแบบบ่อเติมน้ำใต้ดินแบบปิด” ณ ศาลาประชาคม หมู่ 4 บ้านขามป้อม ตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ภายใต้โครงการ U2T โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มัลลิกา ศรีสุธรรม และ อ.ดร.พรทิพย์ โพนตุแสง เป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่ตำบลขัวเรียง ในการฝึกอบรมฯ ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสุภาวดี ศรีสุขวัฒน์ นายอำเภอชุมแพ เป็นประธานในพิธีเปิด ในการนี้มีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลขัวเรียว กำนันตำบลขัวเรียง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ต่าง ๆ และสมาชิกชุมชนตำบลขัวเรียง เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดยในพิธีเปิด ท่านนายอำเภอชุมแพ ได้กล่าวถึงความปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ตำบลขัวเรียงถึงแม้ตำบลขัวเรียงจะอยู่ติดกับภูเขาซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำแต่ยังคงประสบปัญหาเรื่องปริมาณน้ำที่ไม่เพียงต่อการเกษตรและการกักเก็บน้ำในพื้นที่ ดังนั้น ท่านจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำองค์ความรู้และแนวทางการจัดการน้ำที่จะช่วยแก้ไขปัญหามาใช้ในเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในพื้นที่ตำบลขัวเรียงอย่างยิ่ง โดยท่านนายอำเภอชุมแพได้ขอบคุณมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ อว. ที่ได้จัดทำโครงการต่าง ๆ และได้ถ่ายทอดองค์รู้และนวัตกรรมการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ตำบลขัวเรียง

วลา 09:30-11:00 น. วิทยากรในการฝึกอบรม นำโดย ผศ.มัลลิกา ศรีสุธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการลุ่มน้ำและนิเวศวิทยาทรัพยากรที่ดิน และคุณเฉลิมเกียรติ ปลาทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา ได้บรรยายถึง (1) ความสำคัญของการทำบ่อเติมน้ำใต้ดินทั้งรูปแบบบ่อเติมน้ำแบบเปิดและบ่อเติมน้ำแบบปิด (2) หลักเกณฑ์และแนวทางการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำบ่อเติมน้ำใต้ดิน และ (3) ขั้นตอนการทำบ่อเติมน้ำใต้ดินแบบเปิด และแบบปิด ซึ่งการอบรมครั้งนี้ เน้นเทคนิคการทำต้นแบบบ่อเติมน้ำแบบปิด เนื่องจากสามารถดำเนินการได้ง่ายและใช้งบประมาณไม่สูง และที่สำคัญประชาชนสามารถนำไปดำเนินการในระดับชุมชนและระดับครัวเรือนในพื้นที่ของตนเองได้  และในเวลา 11:10 น. วิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรมร่วมกันทำต้นแบบบ่อเติมน้ำใต้ดินแบบปิด ในบริเวณพื้นที่ อบต.ขัวเรียง ซึ่งบริเวณดังกล่าวประสบปัญหาน้ำท่วมขังเป็นเวลานาเมื่อเกิดฝนตก เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นที่ลุ่มต่ำและลักษณะดินเป็นดินร่วนเหนียวส่งผลให้เกิดการซึมน้ำลงสู่ดินชั้นล่างได้ช้า ดังนั้น วิทยากรจึงเลือกพื้นที่ที่ประสบปัญหานี้ในการทำต้นแบบบ่อเติมน้ำแบบปิดเพื่อช่วยลดปัญหาน้ำท่วมขัง โดยการทำต้นแบบบ่อเติมน้ำแบบปิดได้รับความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจเป็นอย่างดีจากผู้นำ นำโดย ปลัด อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านตลอดจนสมาชิกในชุมชน ทำให้ได้ต้นแบบบ่อเติมน้ำใต้ดินมาตรฐานของชุมชนขัวเรียงที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานแก่ผู้ที่สนใจเพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป โดยในระหว่างที่ร่วมกิจกรรมกันทำบ่อเติมน้ำต้นแบบนั้น ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้ซักถามวิทยากรเป็นระยะตลอดช่วงเวลาที่ร่วมกิจกรรมทำให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมการเติมน้ำใต้ดินให้แก่ชมชนบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชนในครั้งนี้

ที่มา https://th.kku.ac.th/76821/

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DNk79R.jpg Phh9Db.jpg sAyptI.jpg DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Aqh3Ka.jpg Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สำนักบริการวิชาการ มข. จัดเวิร์กช็อปพิเศษ Team-Based Learning ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการศึกษา
สำนักบริการวิชาการ มข. ผลักดันการบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
สำนักบริการวิชาการ ร่วมพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อมอดินแดง
มข.ต่อยอด Soft Power ดันลูกทุ่ง “เสียงสนแว่วหวานสีฐานเฟสติวัล” ปีที่ 3 ยกระดับเวที ผู้ชนะเลิศสามารถเดินเข้าสู่วงการบันเทิงในระดับประเทศต่อไป
จ.อุดรธานี/สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะ (UpSkill) แก่ผู้ปฏิบัติงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมการศึกษาต่อเนื่องทางการพยาบาล