วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

ศาลปกครอง ยกฟ้อง กสทช. สืบเนื่องจาก กสทช.อนุญาตให้ผู้ทดลองประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ ออกอากาศด้วยกำลังส่ง 500 วัตต์ ไปจนถึงสิ้น ปี 2567

เพจองค์กรภาคีเครือข่ายผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชนแห่งประเทศไทย ได้เผยแพร่ข่าวด่วนว่า

ศาลปกครอง ยกฟ้อง กสทช. สืบเนื่องจากกสทช.อนุญาตให้ผู้ทดลองประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ ออกอากาศด้วยกำลังส่ง 500 วัตต์ ไปจนถึงสิ้น ปี 2567 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 12 ผู้นำองค์กร ฝ่ายกฎหมาย และผู้ประกอบกิจการ องค์กรภาคีเครือข่ายผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชนแห่งประเทศไทย ได้เข้ารับฟังการอ่านคำพิพากษาซึ่งศาลปกครองกลาง ได้อ่านคำพิพากษา คดีผู้ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการการวิทยุกระจายเสียง เป็นผู้ฟ้องคดี สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียกิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ ( กสทช.) ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 2ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลปกครองได้ชี้แจงว่ามีคดีที่ฟ้องพร้อม ๆ กันมีลักษณะแบบเดียวกันจำนวน 14 คดี ซึ่งแนวทางการพิพากษานั้นจะเป็นไปในลักษณะเดียวกน แต่วันนี้ศาลจะนำคดีที่ 1905/2564 โดยนายสว่าง ทองไพร กรรมการผู้จัดการ เป็นผู้ฟ้องมาอ่านคำพิพากษา ซึ่งสามารถไปขอคัดสำเนาคำพิพากษาได้ภายหลังจากการอ่านคำ พิพากษาของคดีแต่ละคดี ซึ่งมีความแตกต่างกันไปเฉพาะชื่อ แต่โดยทุกคดีจะมีความ เป็นอย่างเดียวกันคดีหมายเลขดำที่ 1905/2564 คดีนี้ผู้ฟ้องนำคดีมาฟ้องศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2565 ระหว่างบริษัท สีสันนครนายก จำกัด ฟ้องสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติที่ 1 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติที่ 2 เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ศาลมีคำ พิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เรื่อง คณะกรรมการ กสทช.มีมติเห็นชอบให้ลดกำลังส่งของผู้ได้รับการทดลองประกอบกจการวิทยกระจายเสียงจาก 500 วัตต์ เป็น 50 วัตต์ และ สำนักงาน กสทช. ออกประกาศเพื่อแจ้งให้กับผู้ทดลองประกอบกิจการทราบเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่การอนุญาตตามกฎหมาย นั้น ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ทั้งหมด สืบเนื่องจากเมื่อชั้นพิจารณาคดี ผู้ถูกฟ้องได้ แถลงต่อศาลว่า สำนักงาน กสทช. มีมติให้ผู้ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ที่มีปัจจุบัน ได้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ออกอากาศที่กำลัง ส่ง 500 วัตต์ ไปจนถึง 31 ธันวาคม 2567 พร้อมกันทั้งประเทศแล้ว และผู้ฟ้องคดีก็มี ความพอใจแล้ว ซึ่งประกาศของสำนักงาน กสทช. อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจา นุเบกษา ไม่เกินเดือนมีนาคม 2565 จะมีผลบังคับใช้อย่างแน่นอนสำหรับผู้ได้รบั ควรจะมีแนวทางปฏบบัติ ก่อนประกาศ ฯ มีผลบังคับใช้ ดังนี้1.สำหรับผู้ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ที่ใบอนุญาต จะครบกำหนดหรือหมดอายุตามที่ได้รับอนุญาตเดิม ให้ยื่นขอต่ออายุตามปกติไปก่อน ไม่ต้องรอประกาศฯ ฉบับนี้ ท่านอาจจะเสียสิทธิได้2.สำหรับท่านที่ยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตล่วงหน้าไม่ทันภายใน 120 วัน (หรือเลย120 วันไป ) ให้ยื่นคำขอต่ออายุได้ ก่อนครบ 180 วัน แต่ท่านอาจะต้องหยุดออกอากาศ ชั่วคราว จนกว่าท่านจะได้รับอนุญาตให้เปิดได้3. สำหรับท่านที่ออกอากาศ 500 วัตต์ ในปัจจุบัน ใบอนุญาตไม่หมดอายุ แต่ท่านได้ไปลงทะเบียนขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ด้วยกำลังส่งต่ำเอาไว้ ท่านสามารถขอยกเลิกการขออนุญาตดังกล่าวได้ และกลับมาออกอากาศด้วย กำลังส่ง 500 วัตต์ได้เหมือนเดิมไปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567

ที่มา/องค์กรภาคีเครือข่ายผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชนแห่งประเทศไทย

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
กสทช. – AIS โชว์ความคืบหน้าระบบเตือนภัยผ่านมือถือ ด้วย Cell Broadcast บน LIVE Networkกลางภูเก็ต พร้อมเชื่อมต่อกับศูนย์บัญชาการกลางของภาครัฐ มอบความอุ่นใจให้แก่คนไทยทั่วประเทศ
ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมกับ กสทช. ดีอี ปภ. จ.ภูเก็ต นำร่องทดสอบระบบเตือนภัยเสมือนจริง “LIVE – Cell Broadcast Service” ที่ภูเก็ตเมืองท่องเที่ยวระดับโลก
ทรู คอร์ปอเรชั่น ผนึกตำรวจ-กสทช. ร่วม “ยุทธการระเบิดสะพานโจร” ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ครั้งใหญ่เพื่อความปลอดภัยประชาชน
ชมรมผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชนบุก กสทช.ยื่นหนังสือร้องขอการพิสูจน์ทราบ เกี่ยวกับ ความถี่หาย ติดดอกจันทร์และให้ยกเลิกการประมูลคลื่นความถี่
กมธ.ไอซีที ฟัน “นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ” พ้นเก้าอี้ประธาน กสทช. เหตุเข้าข่ายคุณสมบัติต้องห้าม
ศาลปกครองสูงสุดกลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้รับคำฟ้องเพิกถอนควบรวม TRUE-DTAC ไว้พิจารณา