สหภาพแรงงานขอนแก่น ย้ำชัด ปรับขึ้นค่าแรงวันละ 492 บาทเท่ากันทั้งประเทศเหมาะสม ในภาวะวิกฤติของแพงทุกอย่าง วอนรัฐทบทวนด่วนหลังไม่ได้ปรับขึ้นราคามาตั้งแต่ปี 63
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 5 พ.ค.2565 ที่ร้านกาแฟดอยช้าง ด้านหน้าสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.ขอนแก่น นายธีระพงศ์ ประเสริฐ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ หรือ สรส.สาขาขอนแก่น พร้อมด้วย นายสมบัติ หอวิจิตร สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บ.โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และนายสนธยา เครือสุุวรรณ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการประปาส่วนภูมิภาค ในฐานะที่ปรึกษาสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์สาขาขอนแก่น ร่วมประชุมหารือและติดตามความคืบหน้าภายหลังจาก สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสากิจ หรือ สรส. ร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท?แรงงานไทย หรือ คสรท.ได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้มีการปรับค่าแรงขั้นต่อเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติและวันกรรมกรสากล ประจำปี 2565 ในการขอปรับขึ้นค่าแรงทั้งประเทศทุกจังหวัดในอัตราวันละ 492 บาทโดยได้มีการยื่นเรื่องต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี มาแย่างต่อเนื่องและขณะนี้เข้าสู่ขั้นตอนของการพิจารณาของคณะทำงานตามที่รัฐบาลกำหนด
นายสมบัติ หอวิจิตร ผู้แทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บ.โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ข้อเรียกร้องดังกล่าว ได้ยื่นเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและ รมว.แรงงานมาแล้ว 4 ครั้ง คือตั้งแต่วันที่ 10 ธ.ค.2564,/24 ก.พ.2565,25 เม.ย.2565 และ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเป็นข้อเสนอตามข้อเรียกร้อง 14 ข้อ ที่ สรส.และ คสรท. ได้ยื่นเสนอต่อนายกรัฐมนตรี 14 ข้อ เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติและวันกรรมกรสากลปีนี้ ซึ่งเป็นการขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำภาพรวมทุกจังหวัดทุกประเทศในอัตราราคาเดียว คือวันละ 492 บาท ด้วยเหตุผลที่ทุกคนรู้อยู่ว่าทำไมต้องขอปรับขึ้น เนื่องจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของไทยนั้น ล่าสุดมีขึ้นเมื่อปี 2563 โดยเป็นการปรับขึ้นแบบกลุ่มจังหวัด
“การยื่นเสนอขอปรับขึ้นค่าแรงในครั้งนี้เป้นมิติใหม่ ที่แสดงถึงความเท่าเทียม ทั่วถึงและลดความเหลื่อมล้ำ โดยเป็นการปรับขึ้นค่าแรงตามข้อเรียกร้องที่เป็นราคาเดียวทั้งประเทศ ครอบคลุม ทั้งแรงงานนอกระบบ แรงงานในระบบ และแรงงานต่างด้าว ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวนี้ไม่ได้กดดันรัฐบาลหรือผู้ประกอบการ แต่ต้องการให้รัฐบาล นั้นได้แก้ไขปัญหาต่างๆที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งภาวะราคาสินค้าแพง ,น้ำมันแพง,ปุ๋ยแพง,ต้นทุนการผลิตในด้านต่างๆแพงหมด รวมไปถึงมาตรการด้านภาษี ซึ่งเมื่อค่าครองชีพแพง การเสียภาษียังคงเป็นไปตามที่รัฐกำหนด และไม่มีท่าทีที่จะลดลง รัฐบาลก็ควรที่จะปรับขึ้นค่าแรงให้กับแรงงานด้วยเนื่องจากรายรับที่ได้ขณะนี้ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันอย่างชัดเจน”
นายสมบัติ กล่าวต่ออีกว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นส่งผลต่อผู้ใช้แรงงานอย่างมาก ทั้งการถูกเลิกจ้างงาน ตกงงาน ขาดรายได้ ไร้อาชีพ บางครอบครัวลูกต้องออกจากดรงเรียน ,ไม่มีที่พักอาศัยเนื่องจากบ้านที่ต้องผ่อนแต่ไม่มีรายรับมาใช้หนี้ธนาคาร จึงต้องกลับภูมิลำเนามาตั้งตัวใหม่และเริ่มต้นชีวิตใหม่ ในขณะที่รัฐบาลไม่มีการควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ในราคาที่ยุติธรรม น้ำมันก็แพงซึ่งถึงเวลาที่รัฐบาลต้องทบทวนการปรับขึ้นค่าแรงให้กับแรงงานในระบบ นอกระบบ และแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความสมดุลในภาวะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนนำไปสู่การอยู่ร่วมกันได้ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในภาพรวม
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 >