โครงการนี้เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเข้มข้น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานัก AI อาชีวศึกษาโดยกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม เป็นครูไอซีที ในภาคอีสานจำนวน 25 คน ซึ่งผ่านการคัดเลือกด้านทัศนคติด้านความรู้ ความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้านการทำงานเป็นทีม และพื้นฐานด้านโปรแกรม โครงการนี้ มี 11 สถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาภาคอีสาน และ 1 มหาวิทยาลัย (มมร.อส.) เข้าอบรมเพื่อสร้างเครือข่ายนัก AI และต่อยอดสู่การผลิตผลงาน AI เพื่อช่วยเหลือชุมชน
เมื่อวันที่ 31พฤษภาคม 2565 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่นรายงานว่า บริษัทซิสโก้ ซิสเต็มส์ ประเทศไทย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทดำเนินธุรกิจด้านระบบเครือข่ายอันดับต้น ๆของโลกเล็งเห็นคุณค่าของทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดคือ ทรัพยากรมนุษย์ จึงจับมือกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น และ ชมรมไอซีที อีสานสร้าง AI Thailand แบรนด์ อาชีวะ ในโครงการ AI Boot Camp 2022 ระหว่างวันที่ 28-30 พ.ค. 2565 ณ ศูนย์ไอซีที วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น
รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่าเป็นที่ทราบกันดีว่า AI นั้นได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในปัจจุบัน ทาง ม.ขอนแก่นเองจะไปเน้นด้านระดับเตรียมอุดมศึกษาปริญญาโท -เอก ซึ่งก็จะเน้นด้านการวิจัยด้วย ประกอบกับการไปทำงานภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีความต้องการอย่างมาก ที่จะประกอบกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ต้องการขับเคลื่อนประเทศไปสู่โลกดิจิตอลใหม่ ซึ่งจะมีในเรื่องซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ เข้ามาใช้มากขึ้น
รศ.ดร.รัชพล กล่าวดัวยว่าในส่วนของอาชีวะเองนั้นมีส่วนสำคัญอาจจะเหมือน การจัดการข้อมูล เอา AI มาใช้ เบื้องต้นในการทำงานแก้ไขปัญหาหน้างาน ซึ่งใช้เวลาสั่งงาน จะสั่งงานคนละแบบกัน ดังนั้นสองส่วนนี้ สามารถทำงานไปด้วยกันได้ เพื่อให้ประเทศขับเคลื่อนไปด้วยกัน ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นจริงๆแล้ว เรามีหลักสูตรนี้ ที่ครอบคลุมเรื่องกลุ่มที่เป็นประถมด้วย กลุ่มเด็กประถมเขาเรียกว่า หลักสูตร portging AI สำหรับเด็ก เริ่มก้าวเข้ามาสำหรับเด็ก ม. ต้น และม.ปลายด้วย ซึ่งจะเป็นระดับเดียวกันกับกลุ่มอาชีวะ โดยเปิดคอร์สให้เข้าถึง บริการของคณะได้ ตอนนี้พยายามให้เป็นหลักสูตร ที่สามารถมาเรียนได้และจะเรียนออนไลน์ในวันเสาร์ – อาทิตย์ได้
รศ.ดร.รัชพล กล่าวอีกว่า แต่ถ้าเป็นไปได้สามารถมาเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นในรูปแบบเครดิตแบงค์ สามารถการเรียนล่วงหน้าได้ สามารถเข้าเรียน พรีอมทั้งสามารถไปถ่ายทอดได้ และเรามีการเปิดห้องแบบMajor Street ซึ่งจะทำเป็นห้องเกียร์ออสตูดิโอ โดยจะเอาความรู้ด้านดิจิตอลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง 5G เรื่อง IOG เรื่อง AI และความรู้ด้าน blocktail คือปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยม ให้เด็กได้มีประสบการณ์เรียนรู้ และเปิดโอกาสให้เด็กอาชีวศึกษาขอนแก่นได้เรียนรู้และเข้าถึงได้ก่อนที่อื่นๆสามารถเข้าถึงเหมือนวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นได้
ด้าน ดร.กรรณิกา ยอดสง่า ผอ.วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น กล่าวว่า ในการเข้าอบรมในครั้งนี้ คุณครูสาขาเทคโนโลยี สารสนเทศ จะได้ขยายผลถึงความรู้นี้ ไปต่อยอดให้กับผู้เรียน ด้าน AI ต่อไป ส่วนในการที่จะเป็นเลิศด้านดิจิตอลของวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น นั้นมีแนวทางในการขับเคลื่อน คือในการขับเคลื่อนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น ไปสู่โลกดิจิตอล โดยวิทยาลัยอาชีวศึกษามี บริหารจัดการข้อมูลอยู่บน เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิตอลด้วย ซึ่งในการขับเคลื่อนนี้ มีความมุ่งหวังดีมาก บุคลากรนักเรียนนักศึกษาของ วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นทุกคน มีความรู้ที่เท่าทันด้าน เทคโนโลยีดิจิตอล
ดร.กรรณิกา กล่าวเพิรมเติมว่าซึ่งในปัจจุบันนี้ วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น เรายังได้รับเป็นศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านวิชาการ ด้านวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิตอล นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ภาครัฐคือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่วนภาคเอกชนก็คือบริษัทซิสโก้ ซิสเต็มส์ ประเทศไทย จำกัด และส่วนที่ 3 คือวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น ที่ให้ความร่วมมือ และมีความเข้มแข็งในความร่วมมือด้านวิชาการ และเด็กๆของเราก็คือในด้านวิชาชีพ เราก็จะได้วิชาชีพด้านดิจิตอล หรือทางด้านปัญญาประดิษฐ์ด้วย ก็คาดหวังว่าสิ่งที่เกิดขึ้น รับต่อจากนี้ไป นั่นคือทักษะบางส่วน ที่มาร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง และจะส่งผลต่อผู้เรียนนั่นก็คือ ผู้ที่มี Soft Skills มีทักษะความรู้ความสามารถ
ส่วน ผศ.ภาณุพงษ์ วันจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการและวิศวกรรมข้อมูล มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่าต้องมีความต่อเนื่อง หลังจากกิจกรรมนี้เป็นครั้งแรกๆ เราก็ได้วางแผนว่า เราทำด้วยกันที่สร้างเครือข่ายขึ้นมา เราได้วางแผนว่า และกิจกรรมต่อไป เราจะทำอะไร และก็ได้หารือกับทางทีมงานที่เข้าร่วมอบรม และทางซิสโก้ ผู้สนับสนุน และมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในประเด็นต่อไปจะทำอะไรต่อ ถ้าเราบูมเฉยๆไม่ทำกิจกรรมต่อเนื่องก็ สิ่งเหล่านั้นไม่เกิดประโยชน์จริง
ซึ่งตอนนี้ก็จะทำโปรเจคร่วมกัน ทุกคนที่เข้าอบรมในวันนี้ ทำโปรเจคร่วมกัน และต่อจากนี้ในเวทีเราจะให้ทุกท่านได้นำนวัตกรรม มาแข่งขันกันหรือว่าให้มาถ่ายทอด ให้กับทุกคนที่ไม่ได้มาอบรมในครั้งนี้ ก็คงคิดว่าคงจะจัดกิจกรรมแบบนี้ไปในแบบระยะยาว ในปีถัดๆไปเพราะว่าการ ขับเคลื่อน AI ไม่ใช่เรื่องทำแล้วจะจบ เพราะ มีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา และมีกิจกรรมที่น่าสนใจเข้ามา แต่สุดท้ายคน ที่ได้ความรู้คือคนที่อยู่ ในอาชีวะเอง ก็สามารถไปสอนนักศึกษาได้ ไปสอนนักเรียนได้ทำให้นักเรียนสามารถมีความรู้ ในเรื่องนี้ได้ ซึ่งก็จะเป็นกำลังสำคัญของชาติ มีของที่มัน สามารถจับต้องได้ ทำให้เป็นตัวอย่างและทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม ใช้ความรู้ทำเป็นชิ้นงานให้เกิดประโยชน์ นวัตกรรมจริงๆ เพราะฉะนั้นเราพยายามหาโจทย์หาเครือข่ายมาช่วยกันทำ ให้มีวิธีให้มีการแบ่งปันมาแชร์ร่วมกันทำ
ท้ายสุด ดร.อาทิตย์ กลีบรัง ผู้แทนครูที่เข้ารับการอบรม กล่าวว่า สำหรับการจัดการเรียนการสอนเป็นที่ทราบกันดีว่า ในวิทยาลัยสังกัดกำกับดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรามีจุดมุ่งหมายที่จะการเรียนการสอนผลิตช่างเทคนิคหรือช่างปฏิบัติ แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี บูรณาการด้วยศาสตร์ความรู้ ที่ทันสมัยเข้าไป เช่น AI ก็เหมือนกัน ส่วนในการจัดการเรียนการสอนระดับ ปวช.,ปวส. แล้วทุกวันนี้เรามีจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ในระดับ ปวช.,ปวส. ถึงแม้ว่าเรายังไม่มีในรายวิชา ที่เป็น AI ขบวนการตอนนี้คือกระบวนการขยายผล ขอนแก่นเราสร้างตัวเรานำร่อง กับคุณครูต่อไปคุณครูก็จะ ขยายผลไปยังผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้มีองค์ความรู้มีทักษะ และก็ใส่หลักการของ AI ได้มากขึ้น
“นอกจากนั้นเราก็ทำการต่อยอดแล้ว ไปสู่ทุเรียนแล้วก็จะมีขบวนการ จัดการแข่งขันและเอาความรู้ที่ได้ มาประยุกต์ใช้สู่ผู้เรียน เพื่อจะแข่งขันกันเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้เรียนรู้สู่ปฏิบัติจริง”ดร.อาทิตย์ กล่าว