วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

AIS สานพลัง กรมควบคุมโรค ต่อเนื่อง พร้อมโชว์ความสำเร็จกว่า 3 ปี หนุน อสม.ป้องกันไข้เลือดออก ผ่านแอปฯ อสม.ออนไลน์

15 มิ.ย. 2022
520

AIS สานพลัง กรมควบคุมโรค ต่อเนื่อง พร้อมโชว์ความสำเร็จกว่า 3 ปี หนุน อสม.ป้องกันไข้เลือดออก ผ่านแอปฯ อสม.ออนไลน์ ใช้ดิจิทัลพาคนไทยเข้าถึงบริการสุขภาพ

AIS พร้อมด้วยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในไทยผ่านการใช้แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ด้วยฟีเจอร์รายงานสำรวจลูกน้ำยุงลาย เพื่อให้ อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขนำไปเป็นตัวช่วยปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยตลอดเวลา 3 ปีที่ผ่านมาได้กลายเป็นหนึ่งเครื่องมือสำคัญในการรับมือกับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกไทยมากกว่า 1 ร้อยล้านครั้ง ตอกย้ำการยกระดับรูปแบบการดูแลสุขภาพประชาชน รวมถึงสร้างมาตรฐานใหม่ในด้านสาธารณสุขพื้นฐานอย่างเท่าเทียม เพื่อร่วมกันยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

            ดร.พญ.ฉันทนา ผดุงทศ ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กล่าวว่า “โรคไข้เลือดออก ถือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข ไม่เพียงแค่ในประเทศไทยยังรวมไปถึงกลุ่มประเทศอาเซียน เนื่องด้วยอยู่ในภูมิภาคเขตร้อนชื้น ด้วยความสำคัญดังกล่าว 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงได้ลงมติร่วมกันให้ ทุกวันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปีเป็น “วันไข้เลือดออกอาเซียน” ( ASEAN Dengue Day) เพื่อร่วมกันรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกในวงกว้าง สำหรับในประเทศไทยโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่ระบาดอย่างต่อเนื่องมากว่า 70 ปี  โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 8มิถุนายน 2565 พบว่ามีผู้ป่วยสะสม 3,386 ราย ซึ่งเมื่อเทียบในช่วงเดียวกันกับในปี 2564 พบว่ายอดผู้ป่วยสะสมลดลง 21% โดยในช่วงที่มีการระบาดจะเริ่มต้นในช่วงฤดูฝนหรือตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป ซึ่งโรคไข้เลือดออกนี้มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ฉะนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย”

            ดร.พญ.ฉันทนา กล่าวเพิ่มเติมว่า “การดําเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคดังกล่าว ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานเครือข่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินงาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนงานให้ประสบความสําเร็จ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อสม. ซึ่งจะเป็นผู้นําในชุมชนให้ประชาชนดูแลตนเองและครอบครัวไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อนําโดยยุงลาย ซึ่งปัจจุบันเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาเป็นปัจจัยสําคัญช่วยในการเพิ่มทักษะดิจิทัลด้านสุขภาพ (Digital Health) คือ แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์  ซึ่งแต่เดิมการทำงานจะเป็นการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลโดยใช้แบบฟอร์มกระดาษ ทำให้การนำข้อมูลมาปรับใช้เกิดความคลาดเคลื่อน แต่หลังจากนำเอาฟีเจอร์รายงานสำรวจลูกน้ำยุงลายในแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ มาปรับใช้ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของ อสม.เกิดความคล่องตัว สามารถเก็บข้อมูลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ทั้งจำนวนบ้าน ลูกน้ำ ภาชนะ รวมถึงค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่พบในชุมชนและในบ้าน เพื่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในการสรุปผลและติดตามการแพร่ระบาดในพื้นที่ได้อย่างใกล้ชิด กล่าวโดยสรุปได้ว่าวันนี้กรมควบคุมโรคได้ใช้ประโยชน์ในการนําข้อมูลไปวิเคราะห์ร่วมกับจํานวนผู้ป่วยในพื้นที่ เพื่อคาดการณ์การเกิดการระบาดในพื้นที่ เพื่อแบ่งพื้นที่เสี่ยงสูง เสี่ยงปานกลาง และเสี่ยงต่ำ และนําไปใช้ในการเฝ้าระวัง ปัจจัยเสี่ยงต่ออการเกิดโรคติดต่อนําโดยยุงลายเพื่อแจ้งเตือนพื้นที่ และแจ้งเตือนประชาชนถึงพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ทั้งนี้ในอนาคตทางกรมฯ ได้วางแผนที่จะใช้ข้อมูลผลสํารวจลูกน้ำยุงลายจากแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ ไปวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา เช่น ปริมาณน้ําฝน ความชื้น เป็นต้น เพื่อใช้ในการชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงของโรคไข้เลือดออกที่แม่นยํามากขึ้น

            นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “เป้าหมายหลักของเราในฐานะ Digital Life Service Provider  คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมายกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะในด้านสาธารณสุข ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างเท่าเทียม พิสูจน์ได้จากแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ที่ในวันนี้กลายเป็นคลังความรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่สำคัญที่ทาง อสม.ได้นำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน ทั้งการให้ความรู้ในพื้นที่และเก็บข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะฟังก์ชันที่สำคัญอย่างรายงานสำรวจลูกน้ำยุงลาย เพื่อร่วมกันเฝ้าระวังและช่วยลดการระบาดโรคไข้เลือดออกที่ได้ผลมาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปี โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข AIS และทีม อสม.ยังคงเดินหน้าร่วมกัน ป้องกันการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

            สำหรับฟีเจอร์รายงานสำรวจลูกน้ำยุงลายได้ถูกเพิ่มขึ้นบนแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ในปี 2562 โดยการทำงานตลอด 3 ปีที่ผ่านมา มีครัวเรือนในประเทศไทยที่ได้รับการสำรวจลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์แล้วกว่า 5 ล้านหลังคาเรือน โดยได้การสำรวจลูกน้ำยุงลายไปแล้วมากกว่า 1 ร้อยล้านครั้ง โดยมีการให้คำแนะนำการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านให้ถูกสุขลักษณะ ทำให้สุขอนามัยของประชาชนดีขึ้น และเมื่อสภาพแวดล้อมชุมชนดีก็ทำให้สังคมดีไปด้วย อย่างไรก็ดีการทำงานร่วมกันในครั้งนี้ยังก่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารจัดการข้อมูล โดยเฉพาะการนำข้อมูลจากการสำรวจลูกน้ำยุงลายในแอปฯ อสม.ออนไลน์มาวิเคราะห์ร่วมกันและจัดการการแพร่ระบาดในพื้นที่ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อดูข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจะเห็นได้ว่าอัตราผู้ป่วยลดลงอย่างต่อเนื่อง

            “มิติความเหลื่อมล้ำในเรื่องของสาธารณสุข วันนี้เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างเท่าเทียมในทุกพื้นที่โดยเฉพาะในท้องถิ่น ซึ่งทาง AIS ยังคงยืนยันที่พร้อมจะทำงานกับบุคลากรทุกภาคส่วนที่ต้องทำงานในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อสม. ให้สามารถมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาช่วยให้ภารกิจดูแลสุขภาพคนไทย ก้าวเดินต่อไปอย่างดีที่สุด” นางสายชล กล่าวในตอนท้ายในตอนท้าย

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DasKLf.jpg 8JER4J.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
กสทช. – AIS โชว์ความคืบหน้าระบบเตือนภัยผ่านมือถือ ด้วย Cell Broadcast บน LIVE Networkกลางภูเก็ต พร้อมเชื่อมต่อกับศูนย์บัญชาการกลางของภาครัฐ มอบความอุ่นใจให้แก่คนไทยทั่วประเทศ
AIS โชว์ศักยภาพตัวจริง ชูนวัตกรรมโครงข่ายสุดล้ำ ให้ลูกค้าใช้งานได้พร้อมกัน 2 ซิม บน 5G SA (DSDA) ครั้งแรกในไทย ยกระดับประสบการณ์ดิจิทัลของคนไทยไปอีกขั้น
กระทรวง พม.ร่วมกับ AIS ปักหมุดภารกิจสร้างพลเมืองดิจิทัล ให้รู้เท่าทันทุกภัยไซเบอร์ ดันหลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” สู่บุคลากร พม.ครบ 100% พร้อมส่งต่อไปยังประชาชนคนทุกช่วงวัย
AIS หนุนนโยบายรัฐบาล ปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เดินหน้าดูแลประชาชน พร้อมระงับเบอร์โทรต้องสงสัยที่ใช้งานสูงผิดปกติ
AIS ร่วมแสดงความยินดีกับแอนโทเนีย รองอันดับ 1 Miss Universe 2023 
AIS แสดงพลังต่อต้านการคอร์รัปชัน พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยความโปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล ปี 2566