สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดให้โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่นเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ”การสร้างเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาคุณภาพพิเศษครั้งที่ 1″ ร่วมมือกับโรงเรียนเครือข่ายจำนวน 12 แห่งทั่วประเทศ เพื่อร่วมกันหารือและวางแผนการดำเนินงานจัดทำโครงสร้างการทำงานของโรงเรียนเครือข่าย ตลอดจนเพื่อจัดทำข้อมูลสารสนเทศที่เป็นระบบรวมทั้งการดำเนินโครงการกิจกรรมต่างๆที่สามารถต่อยอดสู่คุณภาพผู้เรียนอย่างแท้จริง
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 11 กรกฏาคม 2565 ที่ห้องประชุมโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ถ.กลางเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ดร.นิพนธ์ ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดและมอบนโยบายสร้างเครือข่ายโรงเรียนคุณภาพพิเศษ โดยมี นายจักราวุธ สอนโกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ,นายศักดาเดช ทาซ้าย ผู้อำนวยการ(เชี่ยวชาญ)โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ตลอดจนผู้อำนวยการ,รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ,รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน และครู รวมจำนวนทั้งสิ้น 60 คน จาก โรงเรียนเครือข่ายจำนวน 12 แห่งทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุม ในการนี้มีนางวราภรณ์ พฤกปัญญากุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาการศึกษา ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์
นายจักราวุธ สอนโกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น กล่าวว่า สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดให้โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่นเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ”การสร้างเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาคุณภาพพิเศษครั้งที่ 1″ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อร่วมกันหารือและวางแผนการดำเนินงานจัดทำโครงสร้างการทำงานของโรงเรียนเครือข่าย ตลอดจนเพื่อจัดทำข้อมูลสารสนเทศที่เป็นระบบรวมทั้งการดำเนินโครงการกิจกรรมต่างๆที่สามารถต่อยอดสู่คุณภาพผู้เรียนอย่างแท้จริง
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีโรงเรียนในเครือข่ายจำนวน 12 โรงเรียนทั่วประเทศดังนี้ 1. โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 2.โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
- โรงเรียนชอนแก่นวิทยายน สำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 4. โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ 5. โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ 6. โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน
- โรงเรียนนครสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล 8. โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล9.โรงเรียนเบญจมราชูทิศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช 10. โรงเรียนระยองวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง11. โรงเรียนเบญจมราชทิศ จังหวัดจันทบุรีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด และ12. โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
ด้าน ดร.นิพนธ์ กล้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการการสร้างเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาคุณภาพพิเศษ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2565 ในครั้งนี้นั้นเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่จะพัฒนาโรงเรียนคุณภาพให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในการแก้ปัญหาด้านการศึกษาและความปลอดภัยของโรงเรียน รวมถึงลดความเหลื่อมล้ำในโอกาสการเข้าถึงการศึกษาในสังคมเมืองและชนบทให้กับนักเรียน สร้างความพร้อมให้กับครูและผู้บริหารโรงเรียนในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย ตามบริบทของโรงเรียนและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ
ดร.นิพนธ์ กล่าวด้วยว่าตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจและระดมความคิดในการดำเนินการขั้นตอนนั้นคือการเตรียมความพร้อม ของบุคลากร รวมทั้งการจัดทำแผนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาให้ชัดเจน ซึ่งนับจากนี้ไปถือเป็นภารกิจสำคัญ ที่ต้องเร่งรัดการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา เพื่อยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้น นับเป็นความท้าทายที่สาธารณชน ที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นต้องร่วมกันพลักดันให้ การบริหารงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาการศึกษาของชาติไปสู่ระดับสากลต่อไป
ส่วน นางวราภรณ์ พฤกปัญญากุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาการศึกษา กล่าวเสริมว่า ในการที่จะสร้างเครือข่ายในต่างประเทศนั้น เรานี้มีการสร้างเครือข่ายด้านวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ด้านหลักสูตร ด้านการพัฒนาบุคลากร ผู้บริหาร ครู หรือการสร้างประสบการณ์ของนักเรียน ทั้งในด้านภาษาและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ให้เข้าใจว่าการมีวัฒนธรรม ที่แตกต่างนั้นเราต้องเคารพวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งกันและกัน จากสิ่งต่างๆ จะอยู่ที่ไหนให้เด็กรู้สึกว่า แอดHome
นางวราภรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่าซึ่งการที่จะได้ประสบการณ์ไม่ว่าจะผ่านออนไลน์ หรือแบบ Real Time หรือว่าการได้ไปทัวร์ หรือการไปอยู่กับครอบครัว ก็เป็นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ในสภาพจริง ซึ่งในการที่เราเน้นด้านวิชาการ ของการทำงานกับหน่วยงานของราชการ ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล เราจะเน้นเรื่องวิชาการมากกว่า สมมุติว่า 70% หรือ 30% ในทำนองนี้ แต่คนที่ไป ต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร นักศึกษาปริญญาโท และหรือนักเรียน ต้องมีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ บ้านเมือง วัฒนธรรม วิชาการหรืออะไรทำนองนี้ ซึ่งก็จะเป็นประสบการณ์ในด้านหลายมิติ
นางวราภรณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่าดังนั้นสิ่งที่เราทำมา เชื่อมโยงกับหลักสูตร สามารถที่จะบูรณาการหลักสูตร ไปด้วยกันเราสามารถที่จะเรียนรู้ในห้องเรียนเดียวกันในเวลาที่จริง เป็นบัดดี้ระหว่างนอกห้องเรียนนักเรียนยังคุยกันด้วยภาษาอังกฤษ ก็จะออกมาในหลายๆรูปแบบในสิ่งที่เราอยากให้ออกมา เราควรจะพัฒนาในเรื่องอะไร สำหรับผู้บริหารสำหรับครู สำหรับนักเรียนก็จะออกมาในกิจกรรมที่หลากหลายเหมาะสม และในพื้นที่บริบทของแต่ละโรงเรียนด้วย
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 >