วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

ครม. เห็นชอบแนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิต-การทำงานวิถีใหม่

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่พร้อมคู่มือ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป และมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐพิจารณานำแนวทางและคู่มือดังกล่าวไปปรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการตามความเหมาะสม

ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิรูปประเทศฉบับปรับปรุง ด้านการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เนื่องจากในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการดำรงชีวิตและการปฏิบัติงานในภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ภาครัฐจึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวและปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชน ตลอดจนการบริหารจัดการภายในหน่วยงานให้มีความเหมาะสมและยืดหยุ่น คล่องตัว ให้สอดคล้องกับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ทันท่วงที

โดยแนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ มีหลักการสำคัญคือ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐปรับตัวได้อย่างสอดคล้องกับบริบท และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างคล่องตัวและทันการณ์ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของงานภาครัฐ และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการรับบริการเป็นสำคัญ ซึ่งจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการปรับรูปแบบการบริหารส่วนราชการ และหน่วยงานภาครัฐในภาพรวมทุกมิติ เช่น ระบบและขั้นตอนการทำงานและการให้บริการประชาชน การบริหารทรัพยากรบุคคล และการปรับปรุงด้านเทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน

นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถส่งเสริมให้เกิดการปรับวิธีคิดและกรอบความคิด (Mindset) ของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ เพื่อให้พร้อมปรับตัวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตลอดจนให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลาเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป และยังเปิดโอกาสให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถพิจารณากำหนดรูปแบบวิธีการปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับภารกิจและลักษณะงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงคุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อการสร้างสมดุลที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน

สำหรับรูปแบบการปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 3 รูปแบบคือ

รูปแบบที่ 1 การปฏิบัติงานในที่ตั้ง โดยการเหลื่อมเวลาทำงาน เช่น กำหนดช่วงเวลาการเข้างานและเลิกงานเป็น 4 ช่วง ตั้งแต่ 07.30-15.30น., 08.00-16.00 น., 08.30-16.30น. และ 09.30-17.30 น.

รูปแบบที่ 2 การปฏิบัติงานในที่ตั้ง โดยการนับชั่วโมงการทำงาน เช่น กำหนดให้สามารถเลือกเวลาเข้างานได้ตามความเหมาะสมกับรูปแบบการดำรงชีวิต โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน โดยเมื่อนับเวลาปฏิบัติงานรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

รูปแบบที่ 3 การปฏิบัติงานนอกที่ตั้ง โดยกำหนดให้สอดคล้องกับร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ พ.ศ. ? ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอ ครม. ตรวจพิจารณาแล้วเมื่อวันที่ 6 ก.ย.65

ทั้งนี้ การกำหนดรูปแบบการปฏิบัติงาน อ้างอิงจากประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ 12 ) พ.ศ.2502 ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้คือ เวลาทำงานเริ่มตั้งแต่ 08.30-16.30 น. หยุดกลางวัน 12.00-13.00 น. รวมระยะเวลาทำงาน 8 ชั่วโมง วันหยุดราชการประจำสัปดาห์ คือ วันเสาร์และอาทิตย์ หากส่วนราชการใดจะกำหนดวันและเวลาในการทำงานเพื่อความสะดวก สามารถทำได้ แต่เมื่อคำนวณแล้วแล้วต้องไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DasKLf.jpg 8JER4J.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ทราบผลการยื่นประมูลสิทธิ์ การเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จ.นครราชสีมา พ.ศ. 2572
“เกณิกา”เผย รัฐบาล-กระทรวงเกษตร ชวนคนไทยร่วมงานวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ 4-6 มิ.ย.นี้
เผยข้อมูล GTA ไทยยืน 1 ส่งออกทุเรียนสดไปจีน โดยปี 2567 จีนนำเข้าจากไทย กว่า 1 แสนตัน เป็นมูลค่า 717 ล้านดอลลาร์ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
รบ.เชิญชวน ทุกหน่วยงาน รัฐ เอกชน ภาคสังคม ร่วมประดับธงชาติ พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
ย้ำ วันแรงงานแห่งชาติ 1 พ.ค. นี้ นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดงานและจ่ายค่าจ้างปกติ
รัฐบาลกระตุ้นส่งเสริมการลงทุนจัดงานมหกรรมดนตรี และเทศกาลนานาชาติ จุดประกายให้ไทยเป็นเป้าหมายการจัดงานระดับโลก