วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

สสว. พร้อมส่งเสริม SME ในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ในปี 2566 อย่างไร

 ปี 2566 นี้ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงอุตสาหกรรม หรือ สสว. มีแนวทางการส่งเสริม SME ในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ ให้เติบโตไป 2 แนวทาง

 แนวทางแรก คือ การเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า

  • เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของแรงงาน / ช่าง ให้รองรับเทคโนโลยีการผลิตที่แตกต่างจากเดิม รวมถึงบริการหลังการขาย เช่น การซ่อมบำรุง
  • เพื่อส่งเสริมการเข้าสู่ตลาดเฉพาะ เช่น การผลิตรถบัส หรือรถสามล้อรับจ้างเพื่อการท่องเที่ยว / การดัดแปลงรถเก่าคลาสสิกเป็นรถไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อการใช้งานภายในประเทศ

 แนวทางที่สอง คือ เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน / เครื่องมือแพทย์

  • เพื่อส่งเสริมการผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมที่มีความใกล้เคียง เช่น อุตสาหกรรมอากาศยาน / เครื่องมือแพทย์ เพื่อเป็นการขยายช่องทางการตลาด และเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ผลิต

สำหรับวิธีส่งเสริม ก็แบ่งออกเป็น 2 วิธี เช่นกัน

 วิธีที่หนึ่ง คือ ส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบผู้ให้บริการธุรกิจ (BDS) ด้วยทุนอุดหนุนค่าใช้จ่าย 50% – 80% สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท!

ประเภทค่าใช้จ่าย ก็เช่น ค่าใช้จ่ายเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่มาตรฐาน อย. GMP HACCP ฯลฯ / ค่าตรวจวิเคราะห์ สอบเทียบเครื่องมือ / ค่าใช้จ่ายเพื่อขอมาตรฐานต่ออายุมาตรฐาน-ค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าร่วมงานแสดงสินค้า การเจรจาการค้า หรือจับคู่ธุรกิจ

โดยระยะเวลาขอรับทุนอุดหนุน SME เริ่มแล้วตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2566 สนใจสามารถดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ https://bds.sme.go.th

วิธีที่สอง คือ ส่งเสริม SME เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 สสว. จะเป็นตัวเชื่อมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เช่น กองทัพต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ

เพื่อให้ SME รับทราบความต้องการและวางแผนเตรียมตัวผลิตให้ตรงตามความต้องการ

ขั้นตอนที่ 2 ส่งเสริมการพัฒนาสินค้า ขอการวิจัย และการวิเคราะห์ทดสอบชิ้นส่วน รวมถึงขอรับรองมาตรฐานที่จำเป็น

ชิ้นส่วนที่เข้าข่ายในเวลานี้จะเป็นชิ้นส่วนเสริมที่ไม่ได้มีความสำคัญหลัก หรือชิ้นส่วนสำหรับใช้งานภาคพื้นของอากาศยาน หรือชิ้นส่วนอวกาศยานรุ่นเก่า ที่หาซื้อในตลาดไม่ได้แล้ว

ชิ้นส่วนที่ SME ได้รับคำสั่งซื้อและผลิตออกมาแล้วเรียบร้อยเวลานี้คือ Dolly, Engine stand, Rubber seal, O-ring

ขั้นตอนที่ 3 หลังจากได้รับรองมาตรฐานหรือมีการจัดซื้อจัดจ้างจากภาครัฐแล้ว ก็เข้าสู่การจัดซื้อจัดจ้างภาคเอกชนต่อไป

หรือเป็นส่วนหนึ่งของผู้ผลิตระดับบน Tier 1 และ 2 มีการเจรจาธุรกิจและเยี่ยมชมสายการผลิตจากผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน เช่น Lockheed Martin และ Triumph Group ซึ่งเป็นผู้ผลิตระดับ Tier 1 และ 2

ย้ำนะคะว่า SME ที่สนใจ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ https://bds.sme.go.th เลย

และทั้งหมดนี้เป็นเนื้อหาของหัวข้อที่ 3 ของจากงานสัมมนาออนไลน์ “ทิศทางยานยนต์ไฟฟ้ากับภาคธุรกิจไทย ไปถึงไหนแล้ว?” ที่จัดโดย Cartrack

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 DasKLf.jpg 8JER4J.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สสว. จับมือ สอวช. จัดงาน Green SME Forum 2024 เดินหน้าผลักดันผู้ประกอบการ SME สู่เศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน
LINE จับมือ สสว. จัดงาน UPSKILL SME เพื่อผู้ประกอบการ SME ภาคอีสาน สัมมนาความรู้การตลาดดิจิทัลฟรี! สร้างยอดขายโตด้วยโซลูชั่นจาก LINE
ซีพี แอ็กซ์ตร้าฯ สานต่อแพลตฟอร์มแห่งโอกาสเพื่อ SME เสริมแกร่งให้ผู้ประกอบการรายย่อยและเกษตรกรเติบโต สร้างรายได้ยั่งยืน ตลอดปี 2566
กรมทรัพย์สินทางปัญญา จับมือ สสว. และบริษัท โฟโนไรท์ฯให้สิทธิผู้ประกอบการ SMEs ใช้เพลงฟรี 3 เดือน
(มีคลิป)สสว. บุกขอนแก่น เปิดตัวแอพพลิเคชั่นสุดฮิตส่งเสริมการค้าการลงทุนให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอีสาน
โลตัส ยกทัพแฟรนไชส์สัญจร จ.ขอนแก่น ขยายแพลตฟอร์มแห่งโอกาสสู่ SME สร้างรายได้สู่ภูมิภาค