วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

ตั้งแล้ว!!ครม.ตั้ง​ “เทพรัตน์” เป็นผู้ว่าการ ​กฟผ.หลังยืดเยื้อมาเกือบปี

05 มี.ค. 2024
189

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (3 มี.ค. 2567) มีมติเห็นชอบตามที่ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เสนอ แต่งตั้ง นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์  เป็นผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คนใหม่  แทน นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ.ที่ครบวาระไปแล้วตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค.2566 

​ ที่ผ่านมาคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย​ ( กฟผ.)​ ที่มี​นายกุลิศ​ สมบัติศิริ​ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน​ นั่งเป็นประธาน​ ให้ความเห็นชอบชื่อนายเทพรัตน์​ เป็นผู้ว่าการ​ กฟผ.คนใหม่​ตั้งแต่การประชุม​เมื่อวันที่​ 8​ มี.ค.​2566​ แล้ว​ แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน​ ณ​ ขณะนั้น​ไม่ได้นำชื่อนายเทพรัตน์​ เสนอต่อคณะรัฐมนตรึ​ ก่อนที่จะมีการประกาศยุบสภา​ วันที่​ 20 มี.ค.​ 2566​ ซึ่งเมื่อมีการเสนอชื่อนายเทพรัตน์​ เข้า ครม.ในช่วงที่มีรัฐบาลรักษาการเพื่อพิจารณา​ ทำให้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง​( กกต.)​ด้วย​

อย่างไรก็ตาม​ หลังจากเลือกตั้งเมื่อได้รัฐบาลชุดใหม่และรัฐมนตรีพลังงานคนใหม่​ เรื่องการแต่งตั้ง​ นายเทพรัตน์​ เป็นผู้ว่าการ กฟผ.ก็ยังไม่ถูกนำเสนอให้ ครม.พิจารณาเห็นชอบ​ จนกระทั่ง​ นายกุลิศ​ สมบัติ​ศิริ​ เกษียณอายุจากปลัดกระทรวงพลังงาน​ เมื่อ​ 30​ ก.ย.2566​ และหลังจากนั้นในเดือน ต.ค.ก็ลาออก​ จากประธานบอร์ด​ กฟผ.​ทำให้บอร์ดทั้งคณะสิ้นสภาพไปด้วย​ กว่าที่จะตั้งบอร์ด กฟผ.ชุดใหม่​ ที่มี​ ดร.ประเสริฐ​ สินสุขประเสริฐ​ ปลัดกระทรวงพลังงาน​ เป็นประธาน​ และยืนยันชื่อนายเทพรัตน์​ ว่ามีความเหมาะสมเป็นผู้ว่าการ กฟผ.​ ก็ล่วงมาถึง วันที่ 21 ก.พ. 2567 และมีการนำเสนอให้​ ครม.เห็นชอบในวันที่​ 3​ มี.ค.​2567

​ มีกระแสข่าวว่าเหตุผลที่มีการยื้อเกมไม่ตั้งนายเทพรัตน์​ เป็นผู้ว่าการ กฟผ.​เสียทีเนื่องจากฝ่ายที่มีบทบาทกำกับกระทรวงพลังงาน​ ต้องการให้​ นายเทพรัตน์​เข้ามาดำเนินการแยก“ศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า (System Operator: SO) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้าของ กฟผ.ประกอบด้วย ศูนย์ควบคุมระบบส่งไฟฟ้า (Transmission System Operator: TSO) และศูนย์ควบคุมระบบจำหน่ายไฟฟ้า (Distribution System Operator: DSO) ออกมาเป็นอิสระจาก ​กฟผ.​ ท่ามกลางกระแสความไม่เห็นด้วยเพราะศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า​ เปรียบเสมือนหัวใจของความมั่นคงระบบไฟฟ้าประเทศ​ หากถูกแทรกแซงจากการเมือง​ ที่ใช้เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนบางกลุ่มจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านไฟฟ้าและจะสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ​ของประเทศ

โดย นายเทพรัตน์​ จะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ กฟผ.ได้อีกประมาณ​ปีกว่าเท่านั้น​ จึงน่าติดตามว่า​ การแต่งตั้งผู้บริหารระดับรองผู้ว่าการ กฟผ.แทนผู้ที่เกษียณอายุอีกหลายตำแหน่งหลังจากนี้​ จะมีการวางตัวใคร ที่จะขึ้นมาเป็นผู้ว่าการ​ กฟผ.แทนนายเทพรัตน์​ เพื่อจะมาดำเนินการแยกศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า​ ออกจาก​ กฟผ.ให้สำเร็จ หรือไม่

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สำเร็จ! วิศวะ มข.จับมือ กฟผ.เปิดตัวนวัตกรรม “ระบบอัตโนมัติสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำเขื่ออุบลรัตน์”ตัวช่วยแก้ภัยแล้ง-ลดผลกระทบน้ำท่วม
กฟผ. ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มข.และสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ จัดงาน EGAT OpenHose: Smart Energy Solutions 2567 นำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานล้ำสมัย
พพ. – กฟผ. ร่วมสร้างมาตรฐานฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานของอาคารและโรงงานเบอร์ 5
ปตท. ผนึก กฟผ. ร่วมทุนโครงการ LNG Map Ta Phut Terminal 2 (LMPT2) เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน
กฟผ. ขอเชิญร่วมแชร์ไอเดียประหยัดพลังงานช่วงฤดูร้อน
พิธีการลงนามสัญญาจ้างผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 16