(มีคลิป)เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 13 ก.ย.2567 ที่ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จ ากัด (มหาชน) และ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ การขับเคลื่อนนวัตกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โครงการกินได้ไม่ทิ้งกัน (Zero Food Waste) สู่แมลงโปรตีน (Black Soldier Fly) โดยมี ศ.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน, นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน), นายธนิต ชังถาวร รองผู้อำนวยการสานักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ, นางสาวศิริกร วิวรวงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ร่วมลงนามในพิธี มี รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,ศาสตราจารย์ยุพา หาญบุญทรง นักวิจัย สาขากีฎวิทยาและโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมเป็นสักขีพยาน
ด้าน ศ.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ผ่านโครงการ “กินได้ไม่ทิ้งกัน (Zero Food Waste) สู่แมลงโปรตีน (Black Soldier Fly)” ความร่วมมือของเรามุ่งเน้นการลดปริมาณขยะอาหาร และนำอาหารที่เหลือจากการจำหน่ายในร้านอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ตมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าว สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
“ความร่วมมือในครั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านการพัฒนาอยย่างยั่งยืน (Environment, Social and Governance : ESG) ผ่านการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนจากอาหารส่วนเกินของโลตัส ภายใต้โครงการกินได้ไม่ทิ้งกัน (Zero Food Waste) โดยใช้ประโยชน์จากอาหารที่อาจเหลือจากการจำหน่ายในร้านอาหาร หรือซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น ผัก ผลไม้ อาหารสด อาหารปรุงสำเร็จ ส่งต่อให้แก่เกษตรกรที่ต้องการนำไปเป็นอาหารเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน (Black Soldier Fly : BSF) ที่สามารถลดการทิ้งเป็นขยะอาหารได้ และยังใช้หนอนแมลงโปรตีนเพื่อเป็นอาหารสัตว์เศรษฐกิจเป็นการลดต้นทุนอาหารสัตว์แก่เกษตรกร ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหนอนแมลงโปรตีน อันมีส่วนช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้แล้วมหาวิทยาลัยขอนแก่นพร้อมสนับสนุนประสานงานและคัดเลือกเกษตรกร ตลอดจนให้คำแนะนำด้านวิชาการในการเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีนให้กับ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ และบริษัท ซีพี เอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ความร่วมมือนี้จะช่วยลดการทิ้งขยะอาหาร ลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ และส่งเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีความพร้อมและศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ” ศ.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน กล่าว
ในส่วนของ ศาสตราจารย์ยุพา หาญบุญทรง นักวิจัย สาขากีฎวิทยาและโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะนักวิจัยได้กล่าวเสริมว่า “ เราได้วิจัยงานนี้มากนานแล้ว ถือว่าเป็นแมลงของประเทศไทย เป็นแมลงที่มีประโยชน์กินอาหารพวกอินทรีย์ เลี้ยงง่ายเกษตรกรก็เลี้ยงได้ สำหรับงานวิจัยขั้นต่อไปสูงขึ้นสามารถสกัดเป็นยาปฎิชีวนะ สารลดพวกกำจัดสารเคมีทางการเกษตรในระดับสูง ถือว่าเป็นการสร้างมูลค่ามากขึ้น เป็นงานวิจัยของทาง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเปิดโอกาสกาสให้เกษตรกรมาศึกษาดูงาน นำไปปฎิบัติได้จริง ซึ่งมีเกตรกรมาดูงานทำไปกระจายทั่วประเทศแล้ว เพราะที่ มข.มีโรงเรือนในการเลี้ยงแมลงให้ดูจริงด้วย ในการเพาะเลี้ยงแมลง ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอันมาก”ศาสตราจารย์ยุพา หาญบุญทรง นักวิจัย สาขากีฎวิทยาและโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าว
สุดท้าย รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวเสริมอีกว่า “ โดยทางคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ได้ให้การสนับสนุนในการร่วมมือในครั้งนี้ กับบริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ร่มทั้งแม็คโคร โลตัส เป็นการกำจัดอาหารที่หมดอายุในการขายอย่างมีประสิทธิ์ภาพมาก มามอบต่อให้ทาง มข.ให้นำมาเป็นอาหารของแมลงในงานวิจัยเป็นอาหารอินทรีย์ที่มีคุณภาพ เป็นความร่วมมือกันทั่วประเทศที่ดี ถือว่าเป็นการสนับสนุนงานวิจัยสามารถต่อยอดไปงานวิจัยอื่นๆได้อีกด้วย ขอบคุณหน่วยงานอีกหลายงานที่ได้ให้การสนับสนุนทุกในงานวิจัยนี้อีกด้วย ”รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกล่าวปิดท้าย
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ