วันพฤหัสบดี, 10 เมษายน 2568

CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ ‘ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568’ ปีที่ 7 หนุนนักศึกษาลงพื้นที่ นนทบุรี-นครปฐม พลิกโฉมผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจฐานราก

วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมกับ ธนาคารออมสิน เปิดตัว “โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568” โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง ผ่านการทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน

อาจารย์สุรชัย

อาจารย์สุรชัย สวนทับทิม รองคณบดีและหัวหน้าหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศและสาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการฯ เปิดเผยว่า CIBA ได้เข้าร่วมโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 โดยยังคงยึดกรอบการดำเนินการในแนวทางส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชน โครงการฯดังกล่าว ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารออมสิน ภาค 5 ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี โดยได้จัดส่งนักศึกษาจำนวน 5 กลุ่ม จาก 3 คณะ ได้แก่ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี คณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ลงพื้นที่เพื่อศึกษาและเก็บข้อมูลจาก 5 ชุมชนในจังหวัดนนทบุรีและนครปฐมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ภายหลังจากการลงพื้นที่ นักศึกษาได้ดำเนินการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและนำเสนอแนวทางการแก้ไขต่อธนาคารออมสินและคณะกรรมการในการนำเสนอโครงการย่อย โดยคณะกรรมการได้กำหนดเกณฑ์การพิจารณาที่มุ่งเน้นให้การดำเนินโครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก มีแผนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม และสามารถพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว   โดยนักศึกษาได้นำเสนอโครงการย่อยจาก 5 ชุมชน ประกอบด้วย

1.      ทีมวิจิตรนนทรี นำเสนอผลิตภัณฑ์ผ้าทอลายวิจิตรนนทรี จากศูนย์วิสาหกิจทอผ้าจังหวัดนนทบุรี กลุ่มรวมใจรักษ์มหาสวัสดิ์ วัดโคนอนมหาสวัสดิ์ จ.นนทบุรี

2.      ทีม U Want We Take นำเสนอผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านท่าอิฐสัมพันธ์ บ้านวัดแดง จ.นนทบุรี

3.      ทีม Little Roukies นำเสนอผลิตภัณฑ์อาหาร (ไส้กรอก) จากชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านขวัญเมือง จ.นนทบุรี

4.      ทีม Roots & Routes นำเสนอการพัฒนาธุรกิจและบริการท่องเที่ยว จากกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านยางพัฒนา อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

5.      ทีม Summit Seekers นำเสนอวิสาหกิจชุมชนเสื้อผ้าสำเร็จรูปและมัดย้อม (วงเดือนมัดย้อม: WONGDUENMATYOM) จ.นนทบุรี

LINE ALBUM ออมสินยุวพัฒน์2568 250404 6

อาจารย์สุรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเป้าหมายหลักของโครงการ คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าในชุมชนและสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน โดยในแต่ละปีจะมี 5 ชุมชนเข้าร่วมโครงการ โดยมาจากการสำรวจของมหาวิทยาลัย และธนาคารออมสิน หรือร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด (พช.) ในการคัดเลือกชุมชนที่มีสินค้าที่น่าสนใจ หรือชุมชนที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น เพื่อต่อยอดและพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจได้

นอกจากนี้ โครงการฯ ยังมีเงื่อนไขให้แต่ละมหาวิทยาลัยกลับไปติดตามผลชุมชนเดิมอย่างน้อย 2 ชุมชน เพื่อประเมินความก้าวหน้าและให้การสนับสนุนเพิ่มเติม โดยหนึ่งในปัญหาสำคัญที่พบ คือ เรื่องแรงงานในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย ทำให้การพัฒนาชุมชนขาดความต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ชุมชนที่เข้มแข็งและสานต่อโครงการได้ส่วนใหญ่มีเครือข่ายเข้ามาช่วยเหลือ จึงทำให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น

LINE ALBUM ออมสินยุวพัฒน์2568 250404 10

อาจารย์สุรชัย กล่าวด้วยว่า จุดเด่นของโครงการออมสินยุวพัฒน์ฯ คือ นักศึกษาจากหลากหลายสาขาวิชาได้มาทำงานร่วมกัน เพื่อนำความรู้เฉพาะด้านมาบูรณาการช่วยเหลือชุมชน โดยเฉพาะด้านบัญชีที่มีความต้องการสูงในการช่วยชุมชนจัดทำบัญชีครัวเรือน คำนวณต้นทุน ค่าใช้จ่าย และรายได้ ส่วนด้านการตลาดก็จะช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และช่องทางการจัดจำหน่าย โดยปีนี้หลังผ่านการเสนอโครงการย่อย ลำดับถัดไปจะเป็นการลงพื้นที่ปฏิบัติจริง จากนั้นจะมีการนำเสนอผลสัมฤทธิ์ของโครงการ โดยผลงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะเลิศจะได้เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัย เข้าร่วมการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ เพื่อแข่งขันกับตัวแทนจากสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศ

LINE ALBUM ออมสินยุวพัฒน์2568 250404 15

“สิ่งที่นักศึกษาได้รับจากโครงการนี้ คือ โอกาสในการนำความรู้จากห้องเรียนสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริง พร้อมกับได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพในอนาคต ในขณะเดียวกัน ธนาคารออมสินในฐานะสถาบันการเงินเพื่อสังคม มีบทบาทสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน ผ่านการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างรายได้อย่างมั่นคง ซึ่งไม่เพียงแต่เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน แต่ยังเป็นการวางรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว” อาจารย์สุรชัย กล่าวทิ้งท้าย

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 ปกผู้สับสนุน2 tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg 33333 cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
นิโอ ทาร์เก็ต และอินฟลูเอ็นเชี่ยลแบรนด์ สิงค์โปร์ จัดงานมอบรางวัลสุดยอดแบรนด์ปี 2024
พูดถึงกล้วยหอมทอง ทำไมต้องที่ “โก โฮลเซลล์” ผลผลิตสดใหม่จากเสิงสาง ใหญ่ เนื้อแน่น รสชาติดี มีมาตรฐาน GAP
ญาญ่า อุรัสยา เคียงข้างพรอมิสมาอย่างต่อเนื่อง เปิดตัวแคมเปญใหม่ สมัครกู้เงินได้สะดวกและง่ายขึ้นผ่านแอป
ทราเวลโลก้าเผย กรุงเทพฯ ยังครองแชมป์ ชุมพรติดโผจุดหมายฮิตสงกรานต์ 2568
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จับมือ PMCU ร่วมจัดหลักสูตรพัฒนาผู้จัดการสินทรัพย์และ นักพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ พลิกโฉมพื้นที่สถานีรถไฟ
สสว. เสริมแกร่ง SME ผนึกกำลัง 30 หน่วยงาน จัดงาน “ปลดล็อกความสำเร็จ SME สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน” มุ่งยกระดับศักยภาพแบบพลวัต