ผู้ว่าฯ ขอนแก่น เร่ง!ช่วยเหลือ ปชช. หลั่งน้ำชีไหลทะลักเข้าท่วม
นายไกรสรกองฉลาด ผวจ. ขอนแก่น ติดตามสถานการณ์น้ำชีไหลทะลักท่วมบ้านท่าพระเนาว์ ตำบลท่าพระ เข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนประชาชน หมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ในพื้นที่บ้านท่าพระเนาว์ และโรงงานผลิตขนมปังที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ซึ่งน้ำมีระดับสูงประมาณ 1 เมตร ชาวบ้านต้องขนย้ายสิ่งของมีค่า ออกจากบ้าน สั่งทุกหน่วยช่วยเหลือประชาชนให้ดีที่สุด
วันนี้ (10 ต.ค.65) ที่ บ้านท่าพระเนาว์ ต.ท่าพระ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย นายศุภชัย ลีเขาสูง ปลัดจังหวัดขอนแก่น นายประจวบ รักแพทย์ นายอำเภอเมืองขอนแก่น นายพิสุทธิ์ อนุตรอังกูร นายกเทศมนตรีตำบลท่าพระ และคณะ ร่วมลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่บ้านท่าพระเนาว์ และการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
ซึ่งภายหลังจากที่พนังกั้นน้ำบ้านท่าพระเนาว์ ตำบลท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่น ได้เกิดขาดเมื่อช่วงบ่ายวานนี้ที่ผ่านมา ทำให้น้ำจากแม่น้ำชีไหลทะลักเข้ามาบริเวณถนนสีชมพู โดยมวลน้ำจำนวนมากได้ไหลทะลักและกัดเซาะจนพนังกั้นน้ำแบบดินขาด ทำให้น้ำไหลทะลักเข้า เข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนประชาชน หมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ในพื้นที่บ้านท่าพระเนาว์ และโรงงานผลิตขนมปังที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ซึ่งน้ำมีระดับสูงประมาณ 1 เมตร ชาวบ้านต้องขนย้ายสิ่งของมีค่า ออกจากบ้าน โดยเทศบาลตำบลท่าพระ ได้ระดมกำลังทุกภาคส่วนช่วยเหลือในการสนับสนุนกระสอบทรายกั้น การอพยพประชาชน ขนย้ายทรัพย์สินมีค่าออกจากพื้นที่เป็นการเร่งด่วน
ด้าน นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จากการติดตามข้อมูลทราบว่าต้นน้ำ จากทางจังหวัดชัยภูมิเริ่มน้ำเริ่มแห้งลงแล้ว ส่วนหางน้ำที่อำเภอคอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นอำเภอสุดท้ายที่มีน้ำชีไหลผ่าน น้ำได้ไหลเข้าสู่อำเภอแก้งสนามนาง และไหลย้อนเข้าสู่จังหวัดขอนแก่น คาดว่าหัวน้ำของมวลน้ำจากชัยภูมิ ได้เคลื่อนถึงที่อำเภอมัญจาคีรี และอำเภอชนบท ขณะนี้น้ำเริ่มทรงตัวและฝนเริ่มลดปริมาณลง
นายไกรสร กล่าวเพิ่มเติมว่าในส่วนวิกฤติของอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ที่วันนี้มีการระบายน้ำอยู่ที่ 54 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งหากพ้นวิกฤตจุดสูงสุดไปก็สามารถที่จะประคองสถานการณ์ไม่ให้ส่งผลกระทบกับอำเภอโนนสังข์ จ.หนองบัวลำภู โดยลดระดับการระบายน้ำลงได้และปัจจัยสำคัญอีกส่วนคือน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์ ที่ยังไม่เต็มความจุ ไม่มีการระบายน้ำออกมาเพิ่มในขณะนี้ ซึ่งคาดว่าวิกฤตของเขื่อนอุบลรัตน์ จะคลี่คลายลงในอีกไม่เกิน 10 วัน โดยจุดที่ยังเป็นวิกฤตคือการระบายน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ และมาบรรจบกับน้ำชี ที่จุดรอยต่อ จ.มหาสารคาม จึงทำให้น้ำระบายได้ช้าลง แต่จากการสำรวจพบว่าน้ำยังระบายได้ดี ถือเป็นสัญญานที่ดี
ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่นรายงาน เพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำภายในจังหวัดขอนแก่นว่า เหลืออีก 50 เซนติเมตร มวลน้ำจะล้นข้ามประตูระบายน้ำ D-8 ประตูระบายน้ำห้วยพระคือ(D8) บ้านโคกน้อย ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ไหวหรือไม่ไหว สายตาสมาชิกจะสามารถตอบได้ ขอให้พิจารณาดูจากภาพประกอบ จริงๆ ประตูน้ำนี้ มีมวลน้ำพอง ที่มีน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ปล่อยออกมาดันกันอยู่ และมวลน้ำจากแม่น้ำชี ไหลเข้ามาสมทบซึ่งในวันพฤหัสบดี นี้จะเป็นช่วงชี้ชะตา
พื้นที่ในประตูระบายน้ำ D-8 ดังกล่าว ประกอบด้วย ต.พระลบ ต.บึงเนียม ต.ศิลา และ ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งในฤดูน้ำหลากประสบปัญหาน้ำท่วมจากลำน้ำสาขาแม่น้ำพอง ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ น้ำจากเทศบาลเมืองขอนแก่น และน้ำจากแม่น้ำชีสายหลัก จาก จ.ชัยภูมิ ไหลขึ้นมาบรรจบบริเวณท้ายเขตเมืองขอนแก่น ส่งผลให้น้ำท่วมพื้นที่ดังกล่าวเป็นประจำทุกปีกลายเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ตอนนี้มีเรื่องเร่งด่วนที่จะแจ้งให้ทราบการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนกรณีที่น้ำท่วมที่บ้านดอนช้าง อ.เมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งน้ำได้เข้าเข้าท่วมหมู่บ้านอย่างฉับพลันตั้งหมู่ 1 ถึงหมู่ 5 ประมาณ 200 หลังคาเรือน ทางผู้ใหญ่บ้านขอความช่วยเหลือ
ตอนนี้ทราบว่าชาวบ้านได้รับความเสียหายและเดือดร้อนอพยพออกจากบ้านมานอนแถวริมถนนกันมากมายไม่สามารถอยู่บนบ้านได้เพราะน้ำเข้าท่วมบ้านเสียหายเกือบ70% เพื่อความปลอดภัย ชาวบ้านได้ออกจากพื้นที่ หมู่บ้านดังกล่าวมาอาศัยนอนตามโรงเรียน, วัด และถนนแล้ว ทางเข้าหมู่บ้านดอนช้าง รถทุกชนิด ตอนนี้เข้าไม่ได้ โดยใช้เรือลำเลียงอาหารไปช่วยเท่านั้น
โดยในช่วงบ่ายทางศูนย์บริหารเหตุการณ์จังหวัดขอนแก่นแจ้งว่ามีพนังคลอง 3 L ที่บ้านคุยโพธิ์ ตำบลบึงเนียม อำเภอเมืองขอนแก่นขาดระยะประมาณ 10 – 15 เมตรซึ่งเป็นคลองส่งน้ำที่มีแต่น้ำในคลองเท่านั้นทำให้น้ำไหลเข้านาข้าวของชาวบ้านแต่ปริมาณไม่มากตอนนี้เจ้าหน้าที่กำลังเร่งปิดจุดดังกล่าวแล้วยังไม่กระทบกระพนังด้านฝั่งลำน้ำพองเหมือนปี 2560 ที่มีพนังขาดและน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่นาข้าวเสียหายแม้จดดังกล่าวจะอยู่ใกล้กัน
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 >