วันศุกร์, 11 เมษายน 2568

ส.ป.ก. ประชุมคณะอนุกรรมการโครงการและการเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (อกก.คง.) ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔

30 มิ.ย. 2021
480

ส.ป.ก. ประชุมคณะอนุกรรมการโครงการและการเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (อกก.คง.) ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ ส.ป.ก. ใช้เงินกองทุนฯ บรรเทาแล้งเพิ่มประสิทธิภาพความเป็นอยู่ ลดต้นทุนเกษตรกร

    ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นประธานการประชุม คณะอนุกรรมการโครงการและการเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (อกก.คง.) ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ ในวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ณ ห้องประชุมไชยยงค์ ชูชาติ ส.ป.ก. ถนนราชด าเนินนอก กรุงเทพฯ

https://bpicc.cc/i/jZtdgd

    ในการประชุม อกก.คง. ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ มีวาระการประชุมที่สำคัญ คือ (๑) งานพัฒนาแหล่งน้ำ การเห็นชอบอนุมัติเงินกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามโครงการก่อสร้างบ่อบาดาลและระบบสูบน้ำโซล่าร์เซลล์พร้อมหอถังสูงเพื่อการอุปโภคบริโภค ในแปลงที่ดินที่ได้จากการยึดคืนพื้นที่ตามคำสั่ง คสช.ที่ ๓๖/๒๕๕๙ แปลงที่ดิน No. ๘๓ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เป็นจำนวนเงิน ๓,๓๒๒,๕๐๐ บาท (๒) งานก่อสร้าง อนุมัติก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสายซอยในแปลงเกษตรกรรม ภายใต้โครงการพิเศษด้านความมั่นคง บ้านประชารัฐร่วมใจ ๑ (บ้านบาเฆะ) จำนวน ๒๒ ครัวเรือน ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส เป็นจำนวนเงิน ๑,๑๖๘,๐๐๐ บาท (๓) อนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ ภายใต้โครงการพิเศษด้านความมั่นคง บ้านประชารัฐร่วมใจ ๒ (บ้านบือราเปะ) ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส เป็นจำนวนเงิน ๒,๓๑๖,๐๐๐ บาท ทั้งนี้เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมกระจูดได้ใช้อาคารอเนกประสงค์ดังกล่าว เป็นที่ทำผลิตภัณฑ์กระจูด เนื่องจากความต้องการของตลาดเพิ่มมากขึ้นและข้อจำกัดของพื้นที่การผลิตและจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ โครงการนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อรองรับเกษตรกร จำนวนกว่า ๒๘ ครัวเรือน ให้มีอาชีพ มีรายได้ คุณภาพชีวิตที่มั่นคง และสามารถทำประโยชน์เมื่ออยู่ในพื้นที่ได้

https://bpicc.cc/i/jZtkT1

    นอกจากนี้ยังอนุมัติโครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมและขยายพันธุ์พืชในเขตปฏิรูปที่ดิน ภาคกลาง พื้นที่ศูนย์จัดการที่ดินพระราชทานในเขตปฏิรูปที่ดิน (ศจพ.) และศูนย์ศักยภาพข้าวในเขตปฏิรูปที่ดิน (ศภข.) อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นจำนวนเงิน ๓,๙๒๓,๑๕๘ บาท โดยจะมุ่งพัฒนาพื้นที่ให้มีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ วิจัยพัฒนา ขยายพันธุ์และอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสมุนไพรแบบครบวงจร เพื่อให้พื้นที่มีความพร้อมเป็น ศูนย์กลางการส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรในการใช้ประโยชน์สมุนไพรอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม โดยแผนการผลิตตามปีปฏิทินการเพาะปลูกพืชสมุนไพรแต่ะชนิด (๒๗ ชนิด) ในแปลงปลูก ๔ รูปแบบดังนี้

https://bpicc.cc/i/jZtD9w

    ๑. แปลงสมุนไพรเชิงเศรษฐกิจและมีศักยภาพทางการตลาด พื้นที่ ๑๖ ไร่ จำนวน ๗ ชนิด ได้แก่ บัวบก ข่าแดง ข่าเหลือง ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน อัญชัน และหญ้าหวาน
    ๒. แปลงพืชสมุนไพรเพื่อพึ่งพาตนเอง พื้นที่ ๗ ไร่ จำนวน ๗ ชนิด ได้แก่ ย่านาง ตะไคร้บ้าน กระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบเขียว ชะพูล พูลคาว และกระทือ
    ๓. แปลงเรียนรู้/วิจัยพัฒนา พื้นที่ ๑ ไร่ จำนวน ๔ ชนิดได้แก่ งาขาว งาดำ ว่านหางจระเข้ และถั่วฝักยาวลายเสือ
    ๔. แปลงอนุรักษ์และรวบรวมพันธุกรรมพืช พื้นที่ ๖ ไร่ จำนวน ๙ ชนิด ได้ก่ มะนาว มะกรูด มะขามป้อม สมอไทย สมอภิเพก อบเชย ตะไคร้หอม ยอ และไผ่ซางม่น

https://bpicc.cc/i/jZtI44

    ดร.วิณะโรจน์ เผยว่า “เพื่อบรรเทาภัยแล้งและเพิ่มประสิทธิภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน จึงมีมติอนุมัติโครงการก่อสร้างบ่อบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภค มีโครงการสร้างและปรับปรุงถนนทั้งสายหลักและสายซอยในแปลงเกษตรกรรม เพื่อการสัญจรและการขนส่งสินค้าทางการเกษตรออกสู่ตลาดได้อย่างสะดวก โครงการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการผลิตสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ส.ป.ก. ยังได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการขับเคลื่อนงานส่งเสริมและขยายพันธุ์พืชในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยได้กำหนดทิศทางในการดำเนินงานของศูนย์ฯ โดยเน้นการส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้ในในการขยายพันธุ์พืช การผลิต การอนุรักษ์ รวมทั้งส่งเสริมนำองค์ความรู้สมุนไพรไปขยายและใช้ประโยชน์ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ เสริมสร้างอาชีพเกษตรกรให้มั่นคง ลดต้นทุน การซื้อพันธุ์พืช เพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน และมีการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืน”

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าวมวลชนไทยนิวส์ข่าวออนไลน์-0628929797 DNk79R.jpg Phh9Db.jpg DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Aqh3Ka.jpg Dp1Qd0.png