วันศุกร์, 11 เมษายน 2568

SME D Bank จัด 15,000 ลบ. คลอดแพคเกจสินเชื่อ ‘เติมทุน SMEs มีสุข ยิ้มได้’กู้ได้สูงถึง 15 ลบ. ช่วยเอสเอ็มอีทุกธุรกิจ เสริมสภาพคล่อง ลดต้นทุนการเงิน

SME D Bank เคียงข้างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 เปิดตัวแพคเกจสินเชื่อใหม่ วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 3 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ได้แก่ “SMEs D เติมทุน” “SMEs มีสุข” และ “SMEs ยิ้มได้” วงเงินกู้สูงถึง 15 ล้านบาทต่อราย เปิดกว้างทุกธุรกิจ ช่วยเอสเอ็มอีเสริมสภาพคล่อง ลดต้นทุนทางการเงินนางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ภายในประเทศที่ยังขยายตัวในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอีเป็นจำนวนมาก ทั้งปัญหายอดขายและรายได้ลดลง SME D Bank ในฐานะสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อเอสเอ็มอีไทย จึงออกมาตรการทางการเงินเสริม ด้วยแพคเกจสินเชื่อ “เติมทุน SMEs มีสุข ยิ้มได้” วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท ภายใต้ 3 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ ได้แก่ “SMEs D เติมทุน” “SMEs มีสุข” และ “SMEs ยิ้มได้” ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้มีวงเงินเพิ่มขึ้น นำไปใช้เสริมสภาพคล่อง และลดต้นทุนทางการเงินสำหรับจุดเด่นของ 3 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ เปิดกว้างเอสเอ็มอีทุกกลุ่มธุรกิจ คุณสมบัติกู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ วงเงินกู้สูงขึ้นถึง 15 ล้านบาทต่อราย ได้แก่ “สินเชื่อ SMEs D เติมทุน” วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4% ต่อปี เปิดโอกาสรับรีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินเดิม ช่วยลดต้นทุนทางการเงิน ผ่อนนานถึง 10 ปี “สินเชื่อ SMEs มีสุข” วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 5% ต่อปี สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเงินลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ หรือปรับเปลี่ยนธุรกิจ รองรับการเติบโตในอนาคต ผ่อนนานถึง 10 ปี และ “สินเชื่อ SMEs ยิ้มได้” วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 5.5% ต่อปี ทบทวนวงเงินได้ทุกปี ช่วยเติมทุนหมุนเวียนให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สามารถบริหารจัดการธุรกิจไม่มีสะดุด โดยเปิดรับคำขอกู้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ​“SME D Bank ตระหนักดีถึงพันธกิจสำคัญในการเป็นกลไกของรัฐพาเอสเอ็มอีไทยให้เข้าถึงแหล่งทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอีอย่างรุนแรง ธนาคารจึงดำเนินนโยบายให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม ด้วยการออกแพคเกจสินเชื่อใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีเงินทุนเพิ่มขึ้น ต้นทุนทางการเงินลดลง สามารถนำไปใช้เสริมสภาพคล่องเพียงพอสูงถึงรายละ 15 ล้านบาท​ ช่วยบริหารจัดการธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้” นางสาวนารถนารี กล่าว​ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สนใจใช้บริการแจ้งความประสงค์ได้ผ่านทางออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ SME D Bank (https://www.smebank.co.th/) , แอปพลิเคชัน “SME D Bank” ดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android และ LINE Official Account: SME Development Bank เป็นต้น รวมถึง สาขาของ SME D Bank ทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DNk79R.jpg sAyptI.jpg DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Aqh3Ka.jpg Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สสว. เสริมแกร่ง SME ผนึกกำลัง 30 หน่วยงาน จัดงาน “ปลดล็อกความสำเร็จ SME สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน” มุ่งยกระดับศักยภาพแบบพลวัต
สสว. จับมือ สอวช. จัดงาน Green SME Forum 2024 เดินหน้าผลักดันผู้ประกอบการ SME สู่เศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน
บสย. เร่งฟื้น SMEs ม.ค. – มิ.ย. 67 ค้ำแล้ว แตะ 19,000 ล้านบาท ได้สินเชื่อใหม่ 45,440 ราย จ้างงาน 168,762 ตำแหน่ง มั่นใจ “บสย. SMEs ยั่งยืน” 5 หมื่นล้าน หนุนแบงก์ปล่อยสินเชื่อ
ซีพี แอ็กซ์ตร้าฯ สานต่อแพลตฟอร์มแห่งโอกาสเพื่อ SME เสริมแกร่งให้ผู้ประกอบการรายย่อยและเกษตรกรเติบโต สร้างรายได้ยั่งยืน ตลอดปี 2566
สสว. พร้อมส่งเสริม SME ในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ในปี 2566 อย่างไร
“อนุทิน” ยอมรับกินข้าวบ้าน “ลุงป้อม”คุยเรื่องการเมืองจริง พร้อมระบุทำงานด้วยกันไม่มีอะไรขัดแย้งและหวังทำงานร่วมกันต่ออีกสมัย