หัวหน้าผู้ตรวจราชการ ส.ป.ก. ประชุมตรวจติดตามงานตามแผนการ ตรวจราชการ ประจำปี งบประมาณ 2564 รอบที่ 2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ (Application Zoom Meeting)
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 เวลา 09.30 น. นายเอกพงศ์ น้อยสร้าง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม ส.ป.ก. (เขตตรวจราชการที่ 1,2,8) และคณะ ได้ประชุมตรวจติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน ตามแผนการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 รอบที่ 2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ (Application Zoom Meeting) พร้อมด้วย นางสาวนุชจรี วัชรวงศ์ไพบูลย์ ปฏิรูปที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมาย ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และการปฏิรูปที่ดิน ผู้อำนวยการกลุ่มการเงินบัญชีและจัดเก็บผลประโยชน์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานช่างและแผนที่ หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องทำงานหัวหน้าผู้ตรวจราชการ 213 ส.ป.ก. ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพฯ
โดยมีสาระสำคัญการติดตามการตรวจราชการตามแผนงาน/โครงการและภารกิจตามนโยบายยุทธศาสตร์ของส.ป.ก./นโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์/นโยบายรัฐบาล ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวร้สโคโรนา 2019 (COVID-19) และสอดคล้องกับนโยบาย มาตรการ ข้อกำหนด และประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1.ความห่วงใยของท่านเลขาธิการ ส.ป.ก.ที่มีต่อบุคลากรของส.ป
ก.ทุกระดับ ขอให้ดูแลตนเองและครอบครัวอย่างระมัดระวัง
2.การติดตามงานตามแผนการตรวจราชการปกติ และภารกิจงานสนองนโยบาย
2.การติดตามกิจกรรมส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 31 ราย 33 แปลง เนื้อที่ 557 ไร่ 53 ตารางวา
3.การติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ประจำปีพ.ศ.2564 ส.ป.ก.พระนครศรีอยุธยาได้ดำเนินการในส่วนงบดำเนินงาน ได้ 75 % งบลงทุน ดำเนินการได้ 100 %
4.การจัดเก็บหนี้สิน ในปีงบประมาณพ.ศ.2564 ขอให้เร่งรัดการจัดเก็บหนี้อย่างรอบคอบ และตรวจสอบเอกสารสำคัญให้ถูกต้อง ครบถ้วน
5.การติดตามงานนโยบายสำคัญของท่านเลขาธิการ ส.ป.ก อาทิ
- โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 9 ราย
- โครงการโคกหนองนา โมเดล ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชน เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 19 ราย
- โครงการส่งเสริมและขยายพันธุ์พืชสมุนไพร เนื้อที่ดำเนินการ 30 ไร่ ขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด โดย ส.ป.ก.มีแผนขับเคลื่อนสมุนไพรฟ้าทะลายโจรต้านภัยโควิด-19 ในเขตปฏิรูปที่ดิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 5,000 กล้า เกษตรกร 500 ราย โดยดำเนินการมอบพันธุ์กล้าแกเกษตรกร ในพื้นที่ 8 อำเภอ คือ อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอบางปะอิน อำเภออุทัย อำเภอวังน้อย อำเภอบางไทร และอำเภอพระนครศรีอยุธยา
และมีแผนอีก 6,000 กล้า ที่ขอรับการสนับสนุนจากศูนย์พัฒนาและส่งเสริมศิลปาชีพ โดยประสานงานกับศูนย์การเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปที่ดิน อำเภอบางไทร ในการขอรับต้นกล้าต่อไป