วันเสาร์, 3 พฤษภาคม 2568

นักศึกษา มทร.อีสาน สุดเจ๋ง ชนะเลิศออกแบบบรรจุภัณฑ์ไทย ระดับประเทศ ThaiStar Packaging Awards 2021

24 ส.ค. 2021
886

จากแรงบันดาลใจในการศึกษาตำราพฤกษศาสตร์ของทางฝั่งยุโรป จึงเกิดเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ชื่อว่า “Seed garden packaging” และได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์ไทย ครั้งที่ 44 ประจำปี 2564 ThaiStar Packaging Awards 2021 ภายใต้หัวข้อ “Sustainability for next normal วิถีใหม่ ที่ยั่งยืน”  ประเภทต้นแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับสินค้าทั่วไป (Student Packaging: ST)

นายจักรกฤษณ์ ยนจอหอ หรือ โชกุน นักศึกษาสาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เปิดเผยว่า ตนรู้สึกดีใจมาก ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดจากผลงาน “Seed garden packaging”ซึ่งจัดโดย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Thailand Industrial Design Center: Thai-IDC) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ PROPAK ASIA 2021 และหน่วยงานภาคีเครือข่าย โดยการประกวดมีทั้งหมด 3 ประเภท  ได้แก่ 1) ประเภทนักเรียน นักศึกษา หัวข้อ ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ สําหรับสินค้าทั่วไป : ST Student – Package (Prototype) เป็นบรรรจุภัณฑ์ประเภทใดก็ได้ที่ออกแบบและ ผลิตต้นแบบขึ้นใหม่  2) ประเภทบริษัท ผู้ประกอบการ หน่วยงาน (บรรจุภัณฑ์ที่มีวางจําหน่ายในท้องตลาดแล้ว) และ 3) ประเภทนักออกแบบอิสระ ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ ยังไม่มีวางจําหน่ายในท้องตลาด สําหรับสินค้าทั่วไป : ND New Design – Package (Prototype) คือ เป็นบรรรจุภัณฑ์ประเภทใดก็ได้ ที่ออกแบบและ ผลิตต้นแบบขึ้นใหม่

นายจักรกฤษณ์ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในครั้งนี้จัดอยู่ในประเภทที่ 1 เป็นประเภทนักเรียน นักศึกษา โดยส่งชื่อผลงานว่า Seed garden packaging” ซึ่งได้รับเเรงบันดาลใจมาจากตำราพฤกษศาสตร์ของทางฝั่งยุโรป ซึ่งภายหลังจากได้ศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างครบถ้วนแล้ว จึงได้สังเคราะห์ชุดข้อมูลดังกล่าวเพื่อสกัดออกมาเป็นวิธีที่จะนำเสนอบรรจุภัณฑ์ใส่เมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวที่ออกแบบมาเพื่อขายสินค้าประเภทเมล็ดพันธุ์พืชผักต่าง ๆ โดยจะมีการใส่ข้อมูลวิธีการปลูกเเละสรรพคุณของเมล็ดพันธุ์นั้นอย่างครบถ้วน ทั้งยังออกแบบให้เห็นภาพของผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์นั้นได้อย่างชัดเจน พร้อมกับเพิ่มมูลค่าสินค้าและส่งเสริมการขายด้วยการจัดทำรูปทรงให้สามารถตั้งโชว์อย่างสวยงามอีกด้วย ซึ่งผมเชื่อว่าเป็น Package ที่โดดเด่นน่าสนใจแน่นอน เพราะเป็นเสมือนคู่มือวิธีการปลูก วิธีการดูแลให้ความรู้ทางคุณประโยชน์ และเป็นตัวซองบรรจุเมล็ดได้ด้วย เปรียบเสมือนการได้อ่านตำราพฤกษศาสตร์ของเมล็ดพันธุ์นั้น ๆ โดยวัสดุที่นำมาใช้ออกแบบเป็นกระดาษอาร์ตการ์ด 210 แกรม ขนาดไม่บางจนเกินไป และออกแบบให้มีรูปแบบทันสมัย สีสันสดใส และจัดพิมพ์แบบ 4 สี และมีขนาดตัวบรรจุภัณฑ์โดยรวม 11.5 x 10 เซนติเมตร / ชิ้น นับเป็นการออกแบบที่เพิ่มคุณค่าของเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเหมาะแก่การนำไปปลูกในช่วงเวลาว่างและในปัจจุบันที่คนหันมาสนใจสุขภาพและมีเวลาอยู่บ้านมากขึ้นครับ

อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณคณะกรรมการทุกท่าน ขอบคุณอาจารย์สุวพัชร  โสวภาค และคณาจารย์สาขาการแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรมทุกท่าน ที่ได้ถ่ายทอดความรู้และเทคนิควิธีคิดในการสร้างสรรค์งานด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ตลอดการศึกษา ขอบคุณเหล่ามิตรสหายเพื่อนพ้องร่วมห้องที่เป็นกำลังใจในการส่งผลงานเข้าประกวด และ ขอขอบคุณ รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร รักษาราชการแทนอธิการบดี มทร.อีสาน ที่สนับสนุนให้นักศึกษาได้ผลิตชิ้นงานจนชนะระดับประเทศในครั้งนี้ สอดคล้องกับคำว่า “บัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ” และขอเป็นกำลังใจให้กับทุกทีมในการสร้างสรรค์ผลงานด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ต่อไปแล้วมีความชื่นชมทุกผลงานที่ได้เข้าร่วมประกวดด้วยกันครับ  นายจักรกฤษณ์ กล่าวตอนท้าย

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DNk79R.jpg sAyptI.jpg DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Aqh3Ka.jpg Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg 2QOy3y.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ททท. ชวนเที่ยวสงกรานต์ขอนแก่น สนุกสนานกับ “สงกรานต์ 2 วิถี” รับมงคลชีวิต ฉลอง Grand Moment (Grand Occasional Moment) ปีใหม่ไทย
“สนุกปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์ ”งานประเพณี สุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูนเสียงแคนและถนนข้าวเหนียวประจำปี 2568″
ขอนแก่นพร้อมจัด ISAN Wellness Summit 2025 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพระดับโลกพบผู้นําธุรกิจเวลเนส แสดงนวัตกรรมมูลค่าสูง กว่า 10 ประเทศ
จังหวัดขอนแก่น หนุนหอการค้า จัดงาน ” SMART Business Expo 2025 ” รุกขยายตลาดดิจิทัลสู่ภูมิภาค กระตุ้นเศรษฐกิจ ดันเงินสะพัดกว่า 500 ล้านบาท
มข.เปิดเวทีสร้างสรรค์ให้เยาวชนได้แสดงออก กับ 4 การประกวด ร้อง เต้น เล่นดนตรี ในงานวันเกษตรภาคอีสาน 10 วันเต็มอิ่ม
กรมวิชาการเกษตร จัดเต็ม จัดยิ่งใหญ่ วันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชภาคอีสานตอนบน