วันจันทร์, 14 เมษายน 2568

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะตรวจเยี่ยม-ติดตามผลการดำเนินงานของสำนักงาน อ.ส.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น

    อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะตรวจเยี่ยม-ติดตามผลการดำเนินงานของสำนักงาน อ.ส.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น

      เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2564ณ ห้องประชุม ภายใน สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต.ท่าพระ ขอนแก่น  นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะตรวจเยี่ยม-ติดตามผลการดำเนินงานของสำนักงาน อ.ส.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วย นายถาพร ณ นคร ผู้ตรวจราชการกรม เขตตรวจราชการที่ 10,11,12 นายวงศ์ชัย ไชยโย สหกรณ์จังหวัดขอนแก่น โดยมีนายวินิจ วงศ์วโรฬาร หัวหน้าสำนักงาน อ.ส.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,นายวีระศักดิ์  ศรีนุกูล หัวหน้ากองการตลาดและการขาย, นายสุชาติ งวดชัย หัวหน้าแผนกการตลาดและการขาย อ.ส.ค . ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และเจ้าหน้าที่ คอยให้การต้อนรับ

     โดยในที่ประชุม อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้รับฟังผลการดำเนินงาน การนำเสนอการปฏิบัติงาน รายงานผลการซื้อน้ำนมดิบ การเกิดโรคระบาดในโคนมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งความเป็นมาของโรงงานผลิตนม กระบวนการผลิต กระบวนการบรรจุนมพาสเจอร์ไรส์ ภารกิจด้านการขาย พร้อมมอบนโยบายและให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาต่างๆ แนะนำให้มีการติดตามปัญหาอุปสรรค เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีขึ้น ทั้งในเรื่องการวางแผนให้ได้วัตถุดิบที่ดี มีการควบคุมดูแล เพิ่มประสิทธิภาพ มีการวางแผนด้านการผลิต ด้านการตลาด เน้นการจำหน่ายช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งนมที่ผลิตต้องมีคุณภาพ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจ เพื่อพัฒนาคุณภาพของชีวิตและสร้างรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป จากนั้น อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะ ได้เยี่ยมชมโรงงานผลิตภัณฑ์นม ห้องบรรจุนมพาสเจอร์ไรส์ ห้องควบคุมน้ำหล่อเย็น แผนกคลังสินค้า และคลังเก็บผลิตภัณฑ์นมยูเอชที

      ทางด้าน นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้เปิดเผยถึงลายละเอียดในการมาตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินการในครั้งนี้ว่า “สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่นี้ถือว่าเป็นต้นทางของขบวนการผลิตนมพร้อมดื่ม ทั้งส่งเสริมการเลี้ยงโคนมที่ให้ได้คุณภาพดี รับซื้อนมจากเกษตรกรโคนมทั้งจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดอุดร ในส่วนของภาคการผลิตที่นี้มีกำลังการผลิตประมาณ 200 ตัน/วัน ถ้าเป็นนมพาสเจอไรส์ 14 ตัน/วัน ถือว่ามีกำลังการผลิตเพียงพอต่อการบริโภคของพี่น้องประชาชน และสามารถส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้อีกด้วย  สำหรับเรื่องโรคลำปีสกินในโคนมนับว่าที่ผ่านมาสร้างปัญหาให้เกษตรกรโคนมมากพอสมควร แต่ช่วงนี้เรามีวัคซีนสามารถควบคุมการระบาดได้แล้ว ฉะนั้นจึงของให้ประชาชนมั่นใจในคุณภาพการฆ่าเชื้อสามารถทานนมได้อย่างปลอดภัย สุดท้ายขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกอายุช่วงวัยได้หันดื่มนมกันวันละ 1-2 กล่องเพื่อเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย” นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์กล่าวปิดท้าย


        สำหรับ สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มผลิตผลิตภัณฑ์นมยูเอชที วันแรก วันที่ 7 พฤษภาคม 2540 มีภารกิจและแผนพัฒนาเศรษฐกิจในการส่งเสริมกิจการโคนม ธุรกิจอุตสาหกรรมนม รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ 254 ล้านบาท ให้ อ.ส.ค. เพื่อก่อสร้างโรงงานแปรรูปนม ยู.เอช.ที. 1 แห่ง เป้าหมายผลิต 60 ตัน/วัน และศูนย์รวบรวม น้ำนมดิบอีก 5 ศูนย์ ในเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยโรงงานผลิตนมผลิตภัณฑ์นม ขอนแก่น มีกำลังผลิตนมยูเอชที 200 ตัน/วัน นมพาสเจอไรส์ 14 ตัน/วัน ประเภทผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นมยูเอชที ผลิตภัณฑ์นมพาสเจอไรส์ ชนิดของผลิตภัณฑ์มีทั้ง นมตราไทย – เดนมาร์ค (วัวแดง) นมโรงเรียน (ตรากลาง/ฟลูออไรด์) ขนาด 200 cc. และ 250 cc. และกระบวนการผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ การบรรจุผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์ 2 ตัน/ชั่วโมง/ 4 เครื่อง กำลังการผลิต 2,000 ถุง/ชั่วโมง จำนวน 2 เครื่อง กำลังการผลิต 3,000 ถุง/ชั่วโมง จำนวน 2 เครื่อง

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DNk79R.jpg Phh9Db.jpg sAyptI.jpg DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Aqh3Ka.jpg Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ททท. ชวนเที่ยวสงกรานต์ขอนแก่น สนุกสนานกับ “สงกรานต์ 2 วิถี” รับมงคลชีวิต ฉลอง Grand Moment (Grand Occasional Moment) ปีใหม่ไทย
นิโอ ทาร์เก็ต และอินฟลูเอ็นเชี่ยลแบรนด์ สิงค์โปร์ จัดงานมอบรางวัลสุดยอดแบรนด์ปี 2024
พูดถึงกล้วยหอมทอง ทำไมต้องที่ “โก โฮลเซลล์” ผลผลิตสดใหม่จากเสิงสาง ใหญ่ เนื้อแน่น รสชาติดี มีมาตรฐาน GAP
ญาญ่า อุรัสยา เคียงข้างพรอมิสมาอย่างต่อเนื่อง เปิดตัวแคมเปญใหม่ สมัครกู้เงินได้สะดวกและง่ายขึ้นผ่านแอป
ทราเวลโลก้าเผย กรุงเทพฯ ยังครองแชมป์ ชุมพรติดโผจุดหมายฮิตสงกรานต์ 2568
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จับมือ PMCU ร่วมจัดหลักสูตรพัฒนาผู้จัดการสินทรัพย์และ นักพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ พลิกโฉมพื้นที่สถานีรถไฟ