วันเสาร์, 3 พฤษภาคม 2568

ธ.ก.ส. จัดสินเชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจ

ธ.ก.ส. หนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมฟื้นเศรษฐกิจ จัดสินเชื่อวงเงิน 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MLR – 2.25% ต่อปี ให้ อบจ. อบต. เทศบาล เมืองพัทยาและกทม. ไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและโครงการพัฒนาต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดเงินทุนหมุนเวียน สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และหนุนแรงงานคืนถิ่นให้มีอาชีพเลี้ยงตนเองได้ สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศนายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง ประกอบกับการคาดการณ์แนวโน้มอัตราการเติบโตของ GDP ภายในประเทศที่ลดต่ำลง อันเนื่องจากการลงทุนในภาคเอกชนชะลอตัว ดังนั้น เพื่อให้องค์กรภาครัฐทั่วประเทศ ซึ่งมีบทบาทในการดูแลประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมถึงลดปัญหาการว่างงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานคืนถิ่น ให้มีอาชีพเลี้ยงตนเองได้และยังเป็นการป้องกันปัญหาทางสังคม ธ.ก.ส. จึงได้จัดทำโครงการสนับสนุนสินเชื่อแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท เพื่อนำไปลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการพัฒนาต่าง ๆ อัตราดอกเบี้ย MLR – ไม่เกิน 2.25% ต่อปี (ปัจจุบัน MLR เท่ากับ ร้อยละ 4.875 ต่อปี) ทั้งนี้ เงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่ธนาคารกำหนดสำหรับคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร โดยนำสินเชื่อดังกล่าวไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนหรือค่าลงทุน อาทิ การสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยหรืออาหารสัตว์ โรงสีข้าวชุมชน ตลาดจำหน่ายสินค้า การส่งเสริมพัฒนากลุ่มอาชีพต่าง ๆ ปรับปรุงพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวของชุมชน การศึกษา อบรม สัมมนา ดูงานหรือฝึกงานในด้านการส่งเสริมอาชีพ หรือเพื่อการศึกษาของบุคคลในครอบครัวของประชาชนในพื้นที่ การสร้างสนามกีฬา สวนสาธารณะ ศูนย์การแพทย์ชุมชน การเสริมสร้างการเข้าถึงระบบสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน รวมไปถึงความต้องการทางด้านการแพทย์ การจัดหาเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เป็นต้นทั้งนี้ อปท. จะต้องดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งโครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุนสินเชื่อต้องได้รับความเห็นชอบจากสภา อปท. และมีการตั้งงบประมาณเพื่อชำระหนี้คืนแก่ธนาคาร วงเงินกู้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้เงินกู้ โดยวิเคราะห์จากแผนการดำเนินงาน งบการเงิน ระดับขีดความสามารถในการก่อหนี้ของ อปท. แต่ละแห่ง ซึ่งกำหนดจากความสามารถในการจัดเก็บรายได้ และรายได้จากงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากส่วนกลาง ในส่วนของการชำระคืน กรณีเป็นทุนหมุนเวียนหรือเป็นค่าใช้จ่าย ชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน กรณีพิเศษ ไม่เกิน 18 เดือน กรณีเป็นค่าลงทุน ชำระคืนรายงวด ไม่เกิน 10 ปี (ตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดทำงบประมาณรายจ่ายผูกพันของ อปท.) ทั้งนี้ อปท. ที่มีความสนใจและต้องการขอรับการสนับสนุนสินเชื่อตามโครงการดังกล่าว สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DNk79R.jpg Phh9Db.jpg sAyptI.jpg DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Aqh3Ka.jpg Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) ปลุกพลัง Soft Power ปั้นแบรนด์ไทย “Born to Brand” สู่ Hero Brand ระดับโลก
อีซี่มันนี่ ยกระดับธรรมาภิบาลและมาตรฐานองค์กร แต่งตั้ง พล.ต.อ.สุรพล อยู่นุช เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการบริษัท
“ไวน์ คอนเนคชั่น” ได้รับการยกย่องในความมุ่งมั่นตั้งเป้าหมายใช้ไข่ไก่จากฟาร์มเลี้ยงแบบไม่ใช้กรง หรือ Cage-Free 100% ครอบคลุมร้านทั่วไทย ภายในปี 2028
เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง ผนึกมูลนิธิเมเจอร์แคร์ ขับเคลื่อน “โครงการปลูกผัก สร้างสุข สร้างรายได้” ที่นครปฐม
แพลตฟอร์มขายฝากอัจฉริยะ Dcash พลิกโฉมการกู้-การลงทุนด้วยระบบ Reverse Auction และ AI
บันยันกรุ๊ป คว้ารางวัลเกียรตินิยมสูงสุดจากงาน ‘International Property Awards 2024/5’