วันอาทิตย์, 4 พฤษภาคม 2568

ร้องเรียนวันละ 100 ราย! ผู้บริโภคยังพบปัญหา SMS ก่อกวน-จี้‘กสทช.’ลงแส้ค่ายมือถือ

 ผู้สื่อข่าวได้รายงานข่ามาว่าทางแฟนเพจ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.)ได้เผยว่า จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกคำสั่งให้ค่ายมือถือทุกแห่งบล็อก SMS ที่มีเนื้อหาหลอกลวง เว็บพนัน และอนาจาร ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 ก.ย.2564 ที่ผ่านมา แต่ปรากฎว่าหลังเวลาผ่านมาแล้ว 1 เดือน ยังคงมีผู้บริโภคร้องเรียนมายัง มพบ. ว่า ได้รับ SMS ที่มีเนื้อหาหลอกลวงและก่อกวนอยู่

นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะนี้ผู้บริโภคยังคงพบปัญหาเรื่อง SMS ก่อกวน และได้ร้องเรียนมาที่มูลนิธิฯเฉลี่ยวันละ 100 ราย ทั้งนี้ นับตั้งแต่ตัวแทนมูลนิธิฯเข้าพบว่ารองเลขาธิการ กสทช. เพื่อชี้แจงปัญหาของผู้บริโภคที่ยังได้รับ SMS ก่อกวน ตั้งแต่วันที่ 4 ต.ค.2564 จนถึงปัจจุบันพบว่ามีผู้ร้องเรียนปัญหาดังกล่าวเข้ามาที่มูลนิธิฯแล้ว 2,039 ราย

นางนฤมล ระบุว่า มูลนิธิฯยังได้รับร้องเรียนจากผู้บริโภคว่า เมื่อผู้บริโภคพบปัญหา SMS ก่อกวน และ SMS กู้เงินออนไลน์ จึงติดต่อไปยัง Call Center ของแต่ละค่ายมือถือ โดยใช้หมายเลข Call Center ที่เป็นโทรศัพท์พื้นฐาน ซึ่งจะไม่เสียค่าบริการ แต่เจ้าหน้าที่รับสายกลับให้ผู้บริโภคโทรไปที่หมายเลข 4 หลัก ซึ่งเป็นเบอร์ที่เสียค่าบริการ ในขณะที่เบอร์โทรฟรีของค่ายมือถือไม่สามารถช่วยเหลือรับเรื่องร้องเรียนของประชาชนได้ดีเท่าที่ควร ซึ่งถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค

นางนฤมล ย้ำว่า ปัญหา SMS ก่อกวนที่มีมาอย่างต่อเนื่องนั้น เกิดจากการที่ กสทช. ไม่บังคับใช้กฎหมายกับค่ายมือถือที่ปล่อยปละละเลยให้มี SMS หรือโทรศัพท์ ส่งเข้าในระบบมือถือของผู้บริโภคโดยไม่ได้รับอนุญาต และยังไม่มีคำสั่งลงโทษจึงทำให้ผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ทั้งๆที่ตามกฎหมาย กสทช. สามารถระงับการเอาเปรียบผู้บริโภคของผู้ประกอบการได้โดยทันที และเมื่อไม่ปฏิบัติตาม ให้ลงโทษปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท และวันละไม่เกิน 100,000 บาทจนกว่าจะแก้ไขเสร็จ แต่ขณะนี้ประชาชนยังไม่เห็นคำสั่งดังกล่าว

“ตอนนี้ผ่านมา 30 วันแล้วนับตั้งแต่ออกคำสั่งให้บล็อก SMS แต่ก็ยังไม่เห็นข้อสรุปของบทบาทหน่วยงานรัฐว่าจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร จึงขอให้ กสทช.ออกมาชี้แจงต่อประชาชนถึงสาเหตุที่ยังไม่สามารถระงับการส่ง SMS หรือโทรศัพท์รบกวนได้ และยังไม่ดำเนินการลงโทษกับค่ายมือถือด้วย ขณะที่ค่ายมือถือเองต้องออกมาชี้แจงสังคมด้วยว่าทำไม SMS เหล่านี้ถึงส่งมาได้ทั้งที่ไม่ได้รับอนุญาต และผู้ผลิตเนื้อหาเอาข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ผู้บริโภคมาจากไหน” นางนฤมลระบุ

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DNk79R.jpg Phh9Db.jpg sAyptI.jpg DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Aqh3Ka.jpg Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมกับ กสทช. พร้อมเปิดใช้ Cell Broadcast Service เตือนภัยบนมือถือ iPhone และ Android ในไทย
ทรู คอร์ปอเรชั่น ผนึกร่วม ปภ. กสทช. ดีอี ซ้อมใหญ่ระบบเตือนภัย Cell Broadcast นำร่องพร้อมใช้จริงเพื่อคนไทย ปลื้มผลทดสอบตามคาดหมาย
ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น ชำระค่าคลื่น 700 MHz งวดที่ 5 มูลค่า 1,881,488,000 บาท
ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่นชำระค่าคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz งวดที่ 7 จำนวน 4,072,848,000 บาท
กสทช. – AIS โชว์ความคืบหน้าระบบเตือนภัยผ่านมือถือ ด้วย Cell Broadcast บน LIVE Networkกลางภูเก็ต พร้อมเชื่อมต่อกับศูนย์บัญชาการกลางของภาครัฐ มอบความอุ่นใจให้แก่คนไทยทั่วประเทศ
ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมกับ กสทช. ดีอี ปภ. จ.ภูเก็ต นำร่องทดสอบระบบเตือนภัยเสมือนจริง “LIVE – Cell Broadcast Service” ที่ภูเก็ตเมืองท่องเที่ยวระดับโลก