“มข.” ร่วมกับ”ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์” ยกระดับคุณภาพการศึกษา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตอบสนองสังคม
การลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและเอกชนในฐานะผู้ประกอบการ การพัฒนา การฝึกอบรม โครงการ และกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน และร่วมกันฝึกอบรมให้กับนักศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้สนใจ รวมถึงการร่วมมือวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและการฝึกอบรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการต่อไป
เมื่อเวลา 08.30 น.วันที่ 14 ธันวาคม 2564 ที่ ห้องประชุม 101 สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)ท่านฑูตสุรพล เพชรวรา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน และอดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันดิเอโก ประเทศชิลิ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน และ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ โดยมีรศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสําหรับอาเซียน ปฏิบัติการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ลงนามฝ่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่นกล่าวรายงาน พร้อมทั้งนายวิชิตพล ผลโภค ผู้บริหารและผู้ก่อตั้งมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ผู้ลงนามฝ่ายมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์กล่าวถึงความมุ่งหวังและเป้าหมายในความร่วมมือครั้งนี้ พร้อมทั้ง ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ที่ปรึกษาพิเศษ มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และกรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ,ผศ.นพ.เสริมศักดิ์ สุมานนท์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น, ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น,ผศ. ดร.นฤมล ช่างศรี ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนายรณรงค์ ขันแข็ง หัวหน้าฝ่ายอบรมและสนับสนุน มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารสถาบันฯ และบุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมในพิธีลงนามดังกล่าว
ซึ่งการลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสครั้งสำคัญของมหาวิทยาลัยในการร่วมมือกับองค์กรเอกชนชั้นนำของไทย ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและเอกชนในฐานะผู้ประกอบการ ร่วมกันจัดฝึกอบรม และสนับสนุนให้เกิดโครงการวิจัยขนาดใหญ่ อีกทั้งยังสนับสนุนนโยบายมหาวิทยาลัยและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง การสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (SDG4)
ท่านทูตสุรพล เพชรวรา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน และอดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันดิเอโก ประเทศชิลิ กล่าวว่าจาการที่ มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ จัดหาคนมาเพื่อจะส่งเสริมภาครัฐในการสอนหนังสือให้กับเด็กๆในตามโรงเรียนต่างๆที่ขาดแคลนครู แต่ว่าทักษะในการสอน หรือศิลปะในการสอน อาจจะขาด แต่เด็กเหล่านั้นมาด้วยใจมีความรู้เต็มเปี่ยม เช่นจบวิศวะมาหรือสาขาอื่นมาก็อยากจะมาเป็นครูทำงานร่วมกับเด็กๆเพราะบางคนที่รู้จัก จบดอกเตอร์จากประเทศอังกฤษมา แทนที่จะหางานทำในบริษัทใหญ่ๆแต่เขาอยากเป็นครูอยู่บนดอย ประเด็นคือขาดทักษะในการสอน ขาดเทคนิคในการสอน และขาดศิลปะในการสอนที่เจอในปัญหาเดียวกันเด็กๆเหล่านี้ที่ไปสอน ประเทศไทย เรียกว่าจะไปสอนได้ต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู เหมือนกับพยาบาลจะเป็นพยาบาลได้ก็ต้องมีใบประกอบวิชาชีพพยาบาล ฉะนั้นไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูไปสอนไม่ได้ ทีช ฟอร์ไทยแลนด์ ได้ส่งเด็กๆเหล่านั้นไปสอนก็จะเจอปัญหาเดียวกัน ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู
ท่านทูตสุรพล กล่าวอีกว่าถึงแม้นว่าจะมีความรู้ภาษาอังกฤษดี มีความรู้คณิตศาสตร์ดีอย่างไร เช่นการที่อาจารย์ไมตรี พูด แต่ไปสอนไม่ได้ เพราะขาดใบประกอบวิชาชีพครู ด้วยเหตุนี้การลงนามในวันนี้ จึงนิมิตรหมายที่ดีของสถาบันวิจัยที่จะร่วมมือกับ ทีช ไทยแลนด์ ทำงานวิจัยว่าจะทำอย่างไรที่จะซัพพอร์ตคนเหล่านี้ให้ไปสอนได้อย่างมีคุณภาพ โดยที่ไม่ต้องมีปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ อาศัยความรู้อาศัยใจที่เขามีแต่ได้ จะวิธีการสอน ได้ศิลปะการสอนจากสถาบันวิจัยและจากสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ของคณะศึกษาศาสตร์ เพื่อจะเพิ่มเติมให้เขาเหล่านั้นได้คือการลงนามในวันนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนนายวิชิตพล ผลโภค ผู้บริหารและผู้ก่อตั้ง มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ กล่าวว่าในส่วนของบริษัทฯเป็นหน่วยงานภาคเอกชน มีความยินดีที่จะร่วมงานกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเพื่อที่จะสร้างเปิดเครือข่าย ให้กับมูลนิธิฯเหมือนกับที่ท่านทูตได้กล่าวมาแล้ว ใบขับขี่หรือใบประกอบวิชาชีพ ที่จะมีความสามารถจะทำให้เราเป็นครูได้ นานกว่า 2 ปี เพราะ ได้ให้คนได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ หลังจาก 2 ปีนี้เราก็อย่าขับเคลื่อนให้บุคคลเหล่านั้น ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลง
นายวิชิตพล กล่าวด้วยว่ากับความเชื่อที่ว่าถ้าอยากเปลี่ยนแปลง ถ้าเราอยากจะขับเคลื่อนประเทศ เราต้องรู้ว่าปัญหาคืออะไรก่อน จากการที่เราไปสอนที่โรงเรียนนั้นก็ต้องมองภาพสะท้อนปัญหาต่างๆในสังคม ถ้าอยากจะขับเคลื่อนให้เด็กๆทุกคนมีการศึกษาที่ดีมีคุณภาพเท่าเทียมกัน เราต้องมีผู้นำอยู่ในทุกภาคส่วน ดังนั้นจึงมองว่าการลงนามกับอาจารย์ไมตรี เป็นการขับเคลื่อนในรูปแบบอีกแบบหนึ่ง ในการสร้างระบบใน ทีช ไทยแลนด์ และเหมือนมีติดอาวุธให้กับคุณครูของเราด้วย ก่อนหน้านี้ ก่อนจะมาเจอสถาบันวิจัยฯพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคอยู่แล้วในการทำงานแต่มองว่าถือเป็นการเรียนรู้ในการทำงาน เราได้เรียนรู้ต่างๆพอประมาณแล้ว เพราะฉะนั้นเราได้เรียนรู้ปัญหาต่างๆเหล่านั้นในการทำงานกับระบบในการทำงานในภาครัฐและภาคเอกชน ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และเป็นบทเรียนที่เรานำมาปรับและพัฒนาขับเคลื่อนให้ดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
ด้าน รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสําหรับอาเซียน ปฏิบัติการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า การที่เราได้รู้กันว่าคณะศึกษาศาสตร์ มีหน้าที่ผลิตครู และรับคนที่จบปริญญาตรีครูมาเพื่อทำงาน ปริญญาตรีก็เข้าสู่ระบบ ซึ่งเราไม่เคยคิดเลยว่าคนอื่นจะมาช่วยเราผลิตครู งั้นถ้าเอกชนโดย ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ได้เข้ามาทำงานพัฒนาครูในอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะไม่ใช่แค่สอนหนังสือเพียงอย่างเดียว
รศ.ดร.ไมตรี กล่าวอีกว่าอย่างท่านทูตฯได้กล่าวไป ในพิธีเปิดว่าสิ่งที่เป็นปัญหา ที่สุดสำหรับคนที่เป็นครู ไม่ใช่เรื่องความรู้ แต่เป็นเรื่องของจิตวิญญาณของการเป็นครู ซึ่งทีช ไทยแลนด์ นั้นได้บ่มเพาะความรู้ ของตัวเองมา 2 ปี แต่พอจะเข้าระบบมันก็ไปต่อไม่ได้ อย่างท่านทูตบอกเมื่อสักครู่ในพิธีเปิดฉะนั้นเราในฐานะร่วมมือกับคณะศึกษาศาสตร์สถาบันพัฒนาวิชาชีพครูอาเซียน ก็จะสามารถทำหลักสูตร non degree แนะนำหน่วยงานเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาซึ่งจะทำให้ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ที่มาทำงานร่วมกับเราสามารถไปต่อได้ ให้สามารถมีคุณสมบัติไปต่อได้ ในการสอบใบอนุญาตใบประกอบวิชาชีพครู เพื่อเข้าสู่ระบบได้ นั้นเรียกว่าเป็นส่วนสำคัญในการร่วมมือในครั้งนี้
รศ.ดร.ไมตรี กล่าวด้วยว่านอกจากนั้นเราก็จะวิจัยและพัฒนาแนวทางใหม่ๆเพื่อผลิตครูป้อนเข้าในระบบ เพราะเราก็ไม่เคยทำแบบนี้ การที่เราทำงานกับภาคเอกชนซึ่งเขาก็มีความเชี่ยวชาญในการ ที่จะเปลี่ยนแปลง เราอาจจะไม่ชิน เหมือนกับทำงานกับภาครัฐ เพราะเราทำงานติดอยู่ในระบบ ทุกวันนี้ถ้าไม่มีสิ่งใหม่ๆเราก็จะไม่รู้ว่าจะไปเปลี่ยนแปลงการศึกษาเป็นอย่างไร ในส่วนนั้น นอกจากเรียนต่อในระบบออโตแล้ว จะมีโครงการฝึกอบรมต่างๆที่จะทำร่วมกันต่อไป การลงนามในครั้งนี้ก็คือว่าเป็นการออกจากจุดสตาร์ทที่สำคัญทั้งสองฝ่ายทาง ทีช ไทยแลนด์ นั้นได้ศึกษาประวัติเรามาโดยพอสมควรว่าสถาบันวิจัยพัฒนาวิชาชีพครูอาเซียน นั้นจะทำวิจัยในเชิงวิจัยพัฒนานวัตกรรมมานาน ดังนั้นคิดว่าการร่วมแรงร่วมใจเป็นพันธมิตรกัน จะสร้างความแตกต่างด้านการศึกษาให้กับประเทศไทยได้.