วันศุกร์, 11 เมษายน 2568

รัฐบาลช่วยลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์-จักรยานยนต์ เตรียมออกมาตรการกำกับธุรกิจเช่าซื้อ ทบทวนระเบียบป้องกันลูกหนี้ถูกเอาเปรียบ

รัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ค่างวดต่ำกว่าพันห้ามเก็บค่าทวงหนี้ ทบทวนระเบียบเพื่อป้องกันการคิดดอกเบี้ยเกินความเสี่ยงที่แท้จริง เงื่อนไขยึดรถต้องเป็นธรรม เล็งตั้งหน่วยงานกำกับธุรกิจเช่าซื้อเป็นการเฉพาะนางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี โดยปัจจุบันพบว่า ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะในการกำกับดูแลธุรกิจเช่าซื้อ และไม่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกรรมเช่าซื้อเป็นการเฉพาะ ทำให้เกิดการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม รัฐบาลโดยคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ จึงได้เข้าไปแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในเบื้องต้นได้มีการออกประกาศกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงหนี้ เพื่อคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้ถูกเก็บเงินในการทวงถามหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เกินความจำเป็น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา สาระสำคัญ คือ 1) อัตราค่าทวงถามหนี้กรณีทั่วไปรวมจำนำทะเบียนให้คิดไม่เกิน 50 บาทต่อรอบการทวงถามกรณีค้างชำระ 1 งวดและคิดไม่เกิน 100 บาทต่อรอบการทวงถามกรณีค้างชำระมากกว่า 1 งวด 2) อัตราค่าทวงถามหนี้สำหรับปฏิบัติการลงพื้นที่ติดตามถามหนี้ฯ คิดไม่เกิน 400 บาทต่อรอบการทวงถาม และเก็บต่อเมื่อลูกหนี้ค้างชำระมากกว่า 1 งวด 3) กำหนดให้ไม่มีการเก็บค่าทวงถามหนี้ กรณีค่างวดที่ถึงกำหนดชำระต่ำกว่า 1,000 บาท เพื่อคุ้มครองประชาชนรายย่อยที่จ่ายค่างวดจำนวนน้อยๆ

ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) อยู่ระหว่างการทบทวนและปรับปรุงประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเพื่อแก้ไขหนี้เช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ เพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไม่ให้สูงกว่าความเสี่ยงที่แท้จริง พร้อมทั้งปรับปรุงเงื่อนไขการยึดและคืนรถให้เป็นธรรมมากขึ้น รวมทั้งกำหนดแนวทางการคิดยอดหนี้เช่าซื้อคงเหลือกรณีที่มีการคืนรถและกรณีที่เจ้าหนี้ยึดคืนให้ชัดเจนและเป็นธรรม คาดว่าจะสามารถประการใช้ในอีกไม่นานนี้ และทุกขั้นตอนต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ส่วนเรื่องที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมจากนี้ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน นางสาวรัชดา กล่าวว่า จะประกอบด้วย สามเรื่องด้วยกันคือ
1. การกำหนดหน่วยงานเพื่อเข้ามากำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อหรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายสินเชื่อเพื่อให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีหน่วยงานกำกับดูแลเป็นการเฉพาะ
2. พิจารณามาตรการดูแลประชาชนที่เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ปัจจุบันไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของสคบ. เช่น คนขับรถแท็กซี่ คนขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างที่เช่าซื้อรถมอเตอร์ไซต์ เกษตรกรที่เช่าซื้อรถไถมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำมาหากิน ซึ่งปัจจุบันคนกลุ่มนี้กำลังประสบปัญหาและไม่ได้รับความเป็นธรรม
3. จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาจากกรณีเช่าซื้อรถและการทวงถามหนี้ที่ไม่เป็นธรรมเพื่อให้มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน 

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DNk79R.jpg DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Aqh3Ka.jpg Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
นิโอ ทาร์เก็ต และอินฟลูเอ็นเชี่ยลแบรนด์ สิงค์โปร์ จัดงานมอบรางวัลสุดยอดแบรนด์ปี 2024
พูดถึงกล้วยหอมทอง ทำไมต้องที่ “โก โฮลเซลล์” ผลผลิตสดใหม่จากเสิงสาง ใหญ่ เนื้อแน่น รสชาติดี มีมาตรฐาน GAP
ญาญ่า อุรัสยา เคียงข้างพรอมิสมาอย่างต่อเนื่อง เปิดตัวแคมเปญใหม่ สมัครกู้เงินได้สะดวกและง่ายขึ้นผ่านแอป
ทราเวลโลก้าเผย กรุงเทพฯ ยังครองแชมป์ ชุมพรติดโผจุดหมายฮิตสงกรานต์ 2568
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จับมือ PMCU ร่วมจัดหลักสูตรพัฒนาผู้จัดการสินทรัพย์และ นักพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ พลิกโฉมพื้นที่สถานีรถไฟ
สสว. เสริมแกร่ง SME ผนึกกำลัง 30 หน่วยงาน จัดงาน “ปลดล็อกความสำเร็จ SME สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน” มุ่งยกระดับศักยภาพแบบพลวัต