พพ.นำสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก(นำร่อง)ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น พร้อมสร้างความรู้ความใจให้กับวิสาหกิจชุมชนด้านพืชพลังงานสร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาอย่างยั่งยืน
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน(พพ.)สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานลงพื้นที่อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น เยี่ยมชมพื้นที่นำร่องโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ณโรงไฟฟ้าชุมชนภูผาม่านภายใต้บริษัท ยูเอซี แอนด์ ทีพีที เอ็นเนอร์ยี่ จำกัดโดยมีพื้นที่ประมาณ2,000 ไร่ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนภูผ่าม่านปลูกหญ้าเนเปียร์ใช้หญ้าเนเปียร์ 300ตันต่อวันในการผลิตไฟฟ้าแก๊สชีวภาพ ขนาด 3 MW เกิดความร่วมมือของชุมชนชาวบ้านภายในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า สร้างโอกาส เพิ่มรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า เราได้จัดทำโครงการสื่อสารสร้างการรับรู้ตามนโยบายส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนโครงการฯ ให้บรรลุเป้าหมายตามแผนส่งเสริมพลังงานทดแทน โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นชุมชน วิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ และผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับจากโรงไฟฟ้าชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการขับเคลื่อนโรงไฟฟ้าชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับจากชุมชน จึงได้จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร และกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับวิสาหกิจชุมชน พื้นที่รอบโรงไฟฟ้าในแต่ละภูมิภาค สำหรับครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 จัดที่ภาคอีสานจังหวัดขอนแก่นโดยนำสื่อมวลชนพร้อมเข้าเยี่ยมชมพื้นที่นำร่องโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยมีคุณชัชพล ประสพโชค
ผู้บริหารบริษัท ยูเอซี แอนด์ ทีพีที เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด และคุณคมวิทย์ สานติตะ ประธานวิสาหกิจชุมชนพืชพลังงานภูผาม่านให้การต้อนรับซึ่งการผลิตจะใช้หญ้าเนเปียร์ผสมกับน้ำเสียในการหมักเพื่อให้เกิดแก๊สชีวภาพผลิตไฟฟ้าวันละ 3 MW.ใช้หญ้าต่อวัน 300ตัน/วัน
นอกจากนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้จัดกิจกรรมเสวนา และนิทรรศการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับวิสาหกิจชุมชนพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ณ โรงแรมพูลแมน ราชาออร์คิด เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับพืชพลังงานถือเป็นหนึ่งในนโยบายพลังงานเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ที่ช่วยให้ชุมชนมีรายได้จากการเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าและลดภาระค่าใช้จ่าย มีรายได้จากการจำหน่ายวัสดุทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ลดการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน เกิดการจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในชุมชน
กิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจ โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (นำร่อง) ครั้งที่ 4 จังหวัดขอนแก่นดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้ “โครงการสื่อสารสร้างการรับรู้ตามนโยบายส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าชุมชน ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่น
เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565กิจกรรมเสวนา และนิทรรศการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับวิสาหกิจชุมชนพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับพืชพลังงาน ถือเป็นหนึ่งในนโยบายพลังงานเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ที่ช่วยให้ชุมชนมีรายได้จากการเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าและลดภาระค่าใช้จ่าย มีรายได้จากการจำหน่ายวัสดุทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ลดการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน เกิดการจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในชุมชน ซึ่งภายในงานมีการเสวนาสร้างความรู้ความเข้าใจ “โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานราก” โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย ผู้แทนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (คุณอดิศักดิ์ ชูสุข ผู้อำนวยการกองวิจัย ค้นคว้าพลังงาน) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (คุณนพพร ทรัพย์เห็นสว่าง ผู้ช่วยเลขาธิการสายบริหารกองทุนพัฒนาไฟฟ้าและภูมิภาค) ผู้แทนโรงไฟฟ้าชุมชน บริษัท ยูเอซี แอนด์ ทีพีที เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (คุณสันติ เล้งรักษา และคุณประสิทธิ์ ทองแท่งไทย) โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน ทั้งนี้ โครงการนำร่อง โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก มีเป้าหมายในการรับซื้อไฟฟ้ารวม 150 เมกะวัตต์ โดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวลที่ได้จากการปลูกไม้โตเร็ว และก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงาน ซึ่งปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ประกาศผลการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 43 โครงการ แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวล 16 โครงการ และโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ 27 โครงการ ปริมาณเสนอขายไฟฟ้ารวม 149.50 เมกะวัตต์ กระจายทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมีค่าไฟฟ้าเสนอขายเฉลี่ย 3.1831 บาทต่อหน่วย
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 >