รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เยี่ยมชม คลังปิโตรเลียมขอนแก่น บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) PTTOR
เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565 เวลา 11.00 น.ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม คลังปิโตรเลียมขอนแก่น บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) PTTOR นายศรัทธา คชพลายุกต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นเดินทางมาเยี่ยมชมคลังปิโตรเลียมขอนแก่น บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อรับทราบภารกิจงานของคลังฯ ทราบแล้วจะนำมาปรับใช้ในการบริหารราชการต่อไป โดยมีนายนายบัณฑิต เยาวขันธ์ ผู้จัดการส่วนคลังปิโตรเลียมขอนแก่น,นายอนันต์ ศรีกุศลานุกูล ผู้จัดการ ประจำสำนักงานใหญ่และพนักงานคอยให้การต้อนรับ มีนายมนัสณรงค์ นันทวิภานิจกุล พนักงานปฎิบัติการคลัง บรรยายในเรื่องภาระหน้าที่ของการมีคลังก๊าซ ให้รับทราบถึงความสำคัญของคลังเก็บปิโตเลียม คือมีหน้าที่ในการสำรองและจ่าย บรรจุผลิตภัณฑ์ และก๊าซปิโตเลียมเหลว เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างความมั่นคงทางพลังงาน ส่งเสริมการเจริญเติบโตของภาคธุรกิจในภาคอีสาน ในส่วนมาตรฐานด้านความปลอดภัยนั้น มีระบบการทำงานต่างๆแบบรวมศูนย์ส่วนกลาง มีอุปกรณ์หลักในระบบความปลอดภัย จัดให้มีการซ้อม พร้อมรับมือ ตรวจสอบตลอดเวลา พร้อมยังมีการดำเนินงาน เพื่อความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ด้านอาชีวและความปลอดภัย(มอก 18001/ OHSAS 18001:2007) นอกจากนี้ตัวอาคารสำนักงานได้นำระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม(ISO 14001) มาเป็นแนวทางดำเนินงาน โดยคลังปิโตรเลียมขอนแก่น บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) แห่งนี้เคยได้รับรางวัลทั้งในและนอกสถานประกอบการมาแล้วมากมาย เข้ารับรางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระดับประเทศหลายปีต่อเนื่อง เป็นต้น และฟังบรรยางานดำเนินงานด้านกิจการเพื่อสังคม(CSR) ภาพรวมของทางโออาร์
ทางด้าน นายศรัทธา คชพลายุกต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น หลังจากได้รับฟังสรุปได้กล่าวในที่ประชุมว่า “ตนเองรู้สึกดีใจที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมคลังปิโตรเลียมขอนแก่น บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด แห่งนี้ได้รับทราบถึงความสำคัญของภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ใช่เฉพาะในขอนแก่น ทั่วภาคอีสานอีกด้วย อีกทั้งทางโออาร์ฯยังมีการตรวจสอบดูแล สถานที่ประกอบการให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ด้านอาชีวและความปลอดภัย ถือว่าสอดคล้องกับจังหวัดขอนแก่นที่เป็นเมืองสมาร์ทซิตี้ ทั้งนี้ จุดแข็งของจังหวัดขอนแก่นที่จะสามารถดึง big data เข้ามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ ได้วางโครงสร้างระบบโลจิสติกส์ไว้รอบทิศ ไม่ว่าจะเป็นระบบราง มอเตอร์เวย์ สนามบินที่กำลังขยายตัวพร้อมรองรับผู้คน รวมถึงการมีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญในการมีบุคลากรร่วมกว่า 8 หมื่นคนที่มีกำลังซื้อ แต่ระบบทุกอย่างต้องได้รับการดูแล เพื่อกระจายความเจริญให้ออกไปนอกเขตเมืองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สุดท้ายอยากฝากทางโออาร์ที่เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง หากมีโอกาสยืนมื่อเข้าช่วยเหลือกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น กิจกรรมคู่เสี่ยวเกี่ยวก้อยแก้จน หรือ โครงการทูบีนัมเบอร์วัน ถือว่าเป็นการสานต่องานของทางจังหวัดขอนแก่นต่อไป” นายศรัทธา คชพลายุกต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นกล่าวปิดท้าย
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 >