วันศุกร์, 16 พฤษภาคม 2568

นศ.มข.ได้เฮ!หลังออกระเบียบฯใหม่ สามารถเรียน 2-3 เท่าแบบเต็มเวลาและแบบไม่เต็มเวลา แถมให้ลาพักฝึกทักษะหาประสบการณ์ ไม่นับอยู่ในระยะเวลา มีผลบังคับใช้ทันที

08 ก.พ. 2022
995

นศ.มข.ได้เฮ!หลังออกระเบียบฯใหม่ สามารถเรียน 2-3 เท่าแบบเต็มเวลาและแบบไม่เต็มเวลา แถมให้ลาพักฝึกทักษะหาประสบการณ์ ไม่นับอยู่ในระยะเวลา มีผลบังคับใช้ทันที
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ออกระเบียบฯว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้ภาคการศึกษานี้ ทุกชั้นปี ระเบียบใหม่จะให้นำเฉพาะรายวิชาครั้งที่ได้คะแนนสูงสุดเท่านั้นมาคิดคะแนนเฉลี่ยสะสม ซึ่งเป็นไปตามกระบวนทัศน์ใหม่ นักศึกษาในแต่ละสูตรสามารถเรียนได้เป็นระยะเวลา 2 เท่าของระยะเวลาเรียนในหลักสูตร ถ้าหากเรียนแบบเต็มเวลา หรือ 3 เท่าหากเรียนเป็นแบบไม่เต็มเวลา หากนักศึกษามีความประสงค์ที่จะไปฝึกทักษะจะไปหาประสบการณ์ชีวิตก็สามารถลาพักโดยไม่นับอยู่ในระยะเวลา 2 เท่า หรือ 3 เท่านี้ มีผลบังคับใช้ทันทีในภาคปลายสำหรับปีการศึกษานี้


เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น บอกเล่าถึงการปรับปรุงระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2565 สู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา (Education Transformation) สู่กระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) โดยเมื่อวันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้ความเห็นชอบในการออกระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรีฉบับใหม่ ซึ่งมีความสำคัญเพราะว่าระเบียบนี้จะเป็นระเบียบที่ออกมาเพื่อที่จะสนับสนุนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยคือยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เราเรียกว่า KKU Transformation ยุทธศาสตร์ นี้จะมีเรื่องของการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษาที่เราเรียกว่า Education Transformation
สำหรับการปรับเปลี่ยนนี้ก็คือการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการศึกษา “จากสอนให้รู้เป็นสอนให้คิด” ที่เราเรียกว่ากระบวนทัศน์ใหม่หรือNew Paradigmในกระบวนทัศน์ใหม่ ก็จะมีหัวข้อที่สำคัญๆที่ระเบียบนี้ได้ออกมาเพื่อเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลซึ่งเป็นหัวใจที่สำคัญ เช่นเมื่อก่อนเวลาเราพูดถึงการ จัดการเรียนการสอน เราก็จะเน้นการบรรยายเป็นหลักแต่ในกระบวนทัศน์ใหม่ การเรียนการสอนจะไม่เน้นการที่อาจารย์เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปสู่นักเรียน แต่จะเน้นที่จะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง


ตัวอย่างรูปแบบการเรียนในกระบวนทัศน์ใหม่นี้ เช่นการเรียนแบบ Flipped classroom ซึ่งเป็นการเรียนที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้สำหรับการวัดและประเมินผลก็เช่นเดียวกัน จะมีการปรับเปลี่ยน โดยในกระบวนทัศน์เก่าเมื่อเราพูดถึงการวัดและประเมินผล จะหมายถึงการสอบแต่ในกระบวนทัศน์ใหม่ในการวัดและประเมินผลจะมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการมอบหมายงานหรือ ที่เราเรียกว่า assignment การทำรายงาน Report ต่างๆหรือการประเมินใน สถานการณ์จริง หรือที่เรียกว่า (Authentic Assesment)
นอกจากนี้แล้ว เรายังเพิ่มการวัดและประเมินผล เพื่อสะท้อนกลับ เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับปรุง การเรียนของตนเองที่เรียกว่า Formative Assesment นอกเหนือจาก Summative Assesment ที่เราทำอยู่แล้ว นอกจากนี้ระเบียบใหม่นี้ยังได้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องระยะเวลาในการศึกษาในกระบวนทัศน์เก่า เราจะจำกัดระยะเวลาศึกษา แต่ในกระบวนทัศน์ใหม่นั้นเราจะเปิดให้นักศึกษาได้เรียนรู้ตามศักยภาพ เพราะฉะนั้นเดิมที่เรามีการกำหนดเวลาศึกษาเช่นถ้าใครไม่สามารถเรียนจบในระยะเวลาตามหลักสูตรได้จะต้องพ้นสภาพ ในระเบียบใหม่ได้กำหนดไว้ว่านักศึกษาในแต่ละสูตรสามารถเรียนได้เป็นระยะเวลา 2 เท่าของระยะเวลาเรียนในหลักสูตรถ้าหากเรียนแบบเต็มเวลา หรือ 3 เท่าหากเรียนเป็นแบบไม่เต็มเวลา


หากนักศึกษามีความประสงค์ที่จะไปฝึกทักษะจะไปหาประสบการณ์ชีวิตก็สามารถลาพักโดยไม่นับอยู่ในระยะเวลา 2 เท่า หรือ 3 เท่านี้ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สามารถที่จะเลือกทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาตนเองให้เป็นบัณฑิตที่มีความสมบูรณ์เตรียมพร้อมที่จะทำงานในอนาคตได้มากยิ่งขึ้น เรื่องที่ 3 ก็คือการที่ระเบียบใหม่นี้จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถถอนรายวิชาได้จนกระทั่งถึง 1 สัปดาห์สุดท้ายก่อนการปิดภาคการศึกษา ซึ่งแต่เดิม เราจะเปิดโอกาสให้เพียงครึ่งระยะทางของภาคการศึกษา หากเลยจากนั้นแล้วจะให้เกรด F
ในการที่เราขยายเวลาให้จะทำให้นักศึกษาที่คิดว่าตัวเองยังไม่มีความพร้อมที่จะเข้ารับการวัดและประเมินผลก็สามารถที่จะถอนรายวิชาได้ สำหรับการคิดคะแนนเฉลี่ยสะสมก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน เดิมรายวิชาที่นักศึกษา ที่ต้องลงทะเบียนเรียนซ้ำหลายครั้ง จะต้องนำคะแนนทุกครั้งไม่ว่าจะได้เกรดอะไรมาคิดคะแนนเฉลี่ยสะสมด้วยเสมอ แต่ใน ระเบียบใหม่จะให้นำเฉพาะรายวิชาครั้งที่ได้คะแนนสูงสุดเท่านั้นมาคิดคะแนนเฉลี่ยสะสม ซึ่งเป็นไปตามกระบวนทัศน์ใหม่ ตรงที่จะเป็นการสะท้อนผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้ดีกว่าแบบเดิม ซึ่งผมคิดว่าระเบียบนี้ จะช่วยทำให้นักศึกษาซึ่งในปัจจุบันต้องลงทะเบียนซ้ำเพื่อที่จะทำให้คะแนนสะสมถึงเกณฑ์ที่จะสำเร็จการศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้ง่ายขึ้น โดยเขาก็ จะได้ผลสัมฤทธิ์อันที่ดีที่สุด ไป


สำหรับประเด็นสุดท้ายก็คือเรื่องของการบังคับใช้ระเบียบนี้ เป็นครั้งแรกที่ให้มีผลบังคับใช้ทันทีในภาคปลายสำหรับปีการศึกษานี้ และให้มีผลสำหรับนักศึกษาทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาเก่าหรือนักศึกษาใหม่ซึ่งจะแตกต่างจากระเบียบปริญญาตรีฉบับก่อนๆ ที่จะให้มีผลบังคับใช้เฉพาะนักศึกษาที่เข้าใหม่ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้ระเบียบนี้มีผลกับนักศึกษาทุกคน ทั้งนักศึกษาใหม่ และนักศึกษาเก่า เพื่อที่นักศึกษาจะได้สามารถใช้ประโยชน์และเข้าสู่การศึกษาตามกระบวนทัศน์ใหม่พร้อมกันทั่วทั้ง มหาวิทยาลัย ผมหวังว่าระเบียบปริญญาตรีฉบับใหม่นี้ จะทำให้นักศึกษาได้เรียนอย่างมีความสุขและได้พัฒนาตนเองทั้งความรู้ทักษะ และเจตคติ สามารถเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ เป็นบัณฑิตที่ออกไปเป็นผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ เป็นที่พึงพอใจของผู้ประกอบการ และทำให้ บัณฑิตประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานได้มากยิ่งขึ้น

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
“ยิ่งใหญ่! ทันตฯ มข. ฉลอง 46 ปี รับมอบรถทันตกรรมเคลื่อนที่ล้ำสมัย พร้อมให้บริการผู้ป่วยถึงบ้าน”
มข. ผนึกกำลังผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ จัดเวทีถกทางรอด “ภัยพิบัติในสภาวะโลกเดือด”
สำนักบริการวิชาการ มข. จับมือนักศึกษาศิลปกรรมฯ ทีม “ชีเสริฟผ้าขาวม้า”
สำนักบริการวิชาการ มข. จัดอบรมกฎหมายปกครอง เสริมศักยภาพเจ้าหน้าที่รัฐและเอกชน
สำนักบริการวิชาการ มข. ร่วมเวทีสะท้อนข้อมูลความโปร่งใส มุ่งยกระดับธรรมาภิบาลองค์กร
สำนักบริการวิชาการ มข.จับมือ ธ.ออมสิน Upskill “การบริหารจัดการทางการเงิน” ปลูกฝังวินัยการออม ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น