ททท.สำนักงานขอนแก่นพาชมงานพิธีสรงกู่บูชาเทพเทวาลัยกลุ่มปราสาทกู่กาสิงห์ กู่โพนวิจ กู่โพนระฆัง ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น โดยนางสาวธนวัน กาสี ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่นได้เชิญทีมข่าวมวลชนไทยนิวส์เดินทางไปร่วมพิธีสรงกู่บูชาเทพเทวาลัยกลุ่มปราสาทกู่กาสิงห์ กู่โพนวิจ กู่โพนระฆัง ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ดที่ชาวบ้านที่ร่วมกันจัดเทศกาลท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์ ในระหว่างวันที่ 15-16 เมษายน 2565 ที่ผ่านมาโดยมีนายอภิชาต อารีย์พัฒนไพบูลย์ นายอำเภอเกษตวิสัย เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดพร้อมด้วยนายสมคิด วาสนาม นายกเทศมนตรีตำบลกู่การสิงห์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พร้อมพี่น้องประชาชนเดินทางมาร่วมในงานพิธีกว่า 400 คน ถือว่าเพื่อรักษาฮีตประเพณีสรงกู่อันเป็นภูมิบ้านภูมิเมืองอันเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณ เพื่อทำพิธีเลี้ยงสักการบูชาขอพรให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขปลอดภัยจากโควิด 19 และเพื่อเปิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนกู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ให้ประชาชนได้รู้จักมากขึ้น
โดยมีการเริ่มพิธีตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 16 เมษายน 2565 โดยที่ชุมชนร่วมไม้ร่วมมือกันเตรียมความพร้อม ปั้นเตา ปั้นจระเข้ ช่วยกันตั้งอาสน์สงฆ์ โต๊ะหมู่บูชา ดอกไม้ธูปเทียน จัดสถานที่ให้เรียบร้อย มีการถวายเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร มีเวทีเล่า”ก้าวต่อไปของการพัฒนางานประเพณีบุญสรงกู่บูชาเทพเทวาลัยกลุ่มปราสาทกู่กาสิงห์,มีการรำบูชาเทพเทวาลัยกลุ่มปราสาทกู่กาสิงห์ โดยกลุ่มแม่บ้าน มีพิธีบวชเต่า บวชจระเข้,พ่อผู้ใหญ่ถนอม พลอาสา ภูมิปัญญาด้านประเพณี ดำเนินพิธีกรรมทางศาสนา นำชาวบ้านไหว้พระขอศีล พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ และกล่าวคำถวายน้ำ พร้อมทั้งมีการจุดบั้งไฟถวายสักการะบูชาเทพเทวาลัยกลุ่มปราสาทกู่กาสิงห์ ต่อจากนั้นพระภิกษุ นายอำเภอเกษตรวิสัย ผู้นำชุมชน นายกเทศมนตรี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นำชาวบ้านเดินเวียนขวาสรงน้ำญาพ่อฟ้าลั่นเทพศักดิ์สิทธิ์ ณ ปราสาทกู่กาสิงห์ ชาวบ้านจัดแถวเป็นขบวนแห่ ฟ้อนรำเดินทางไปสรงน้ำญาพ่อฟ้าลั่นเทพศักดิ์สิทธิ์ ณ ปราสาทกู่โพนวิจและปราสาทกู่โพนระฆังตามลำดับ
ด้าน ดร.อำคา แสงงาม ประธานสภาวัฒนธรรม ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ดได้กล่าวให้รายละเอียดเพิ่มเติ่มว่า “ชุมชนที่นี้มีกู่ถึง 3 แห่ง คือ ปราสาทกู่กาสิงห์ กู่โพนวิจ กู่โพนระฆัง วันนี้ถือว่าเป็นวันดีที่ชาวชุมชนกู่กาสิงห์ร่วมกันจัดงานบุญสรงกู่มาจาก บุญสรงน้ำพระของชาวอีสานโบราณ เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 5 (เอาพระลง)จะสร้างหอขึ้นไว้ประดิษฐาน พระพุทธรูป ของค้ำคูณของบ้านของเมือง ประมาณ 5 โมงแลง ทางวัดจะตีกลองแลงเป็นสัญญาณ บอกเวลาให้ชาวบ้านทำน้ำหอมด้วยขมิ้นหาบไปสรงน้ำพระเป็นประจำทุกวัน จนถึงวันเพ็ญเดือน 6 (เอาพระขึ้น)จึงน้ำพระขึ้นเก็บรักษา ตอนเย็นจัดให้มีพิธีเจริญพุทธมนต์ที่วัด ตอนเช้าวันต่อมาจึงทำพิธีทำบุญตักบาตร เป็นเสร็จพิธี ส่วนชุมชนใดมีปราสาทก็จะนำน้ำไปสรงด้วย จึงกลายเป็นประเพณีสรงกู่สืบต่อกันมา
ทั้งนี้ชาวบ้านเชื่อว่า กู่หรือปราสาทเป็นภูมิบ้านภูมิเมืองอันศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณ มีเจ้ามีจอมหรือมีเทพรักษา เมื่อสรงกู่เสร็จแล้ว เชื่อว่าฝนฟ้าจะตกต้องตามฤเดูกาล ชาวบ้านจะอยู่เย็นเป็นสุข จึงถือเป็นจารีตประเพณีกันต่อมา ชุมชนใดมีพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ถนนโบราณ หนองน้ำ หาดทราย ซากฐานเจดีย์ ก็จะไปตบปั้นทาย สรงน้ำ หรือนิมนต์พระไปฉันภัตตาหารเพลด้วย เป็นต้น”ดร.อำคา แสงงาม ประธานสภาวัฒนธรรม ตำบลกู่กาสิงห์กล่าว
ทางด้านนายอภิชาต อารีย์พัฒนไพบูลย์ นายอำเภอเกษตวิสัย จ.ร้อยเอ็ดได้กล่าวเสริมว่า “อำเภอเกษตวิสัยเป็น เป็น1 ใน 20 อำเภอของจังหวัดร้อยเอ็ด มีประชากรกว่า 9 หมื่นกว่าคน ประชาชนที่นี้ส่วนมาเป็นเกษตรกร ปลูกข้าวหอมมะลิในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นข้าวหอมมะลิที่ทุกคนรู้จักดีขายทั้งในและนอกประเทศ ในส่วนสถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอเกษตวิสัย จ.ร้อยเอ็ด จะขอแนะนำดังนี้
1.ที่ บ้านโพนฮาด ที่นี้ชาวบ้านร่วมตัวกันปลูกผักปลอดสารพิษ ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก จำหน่ายผลผลิตไปหลายโรงพยาบาล ส่งร้านสะดวกซื้อเจ้าใหญ่กระจายไปอีกหลายสาขาอีกด้วย
2 .บึงจระเข้ ฟิชชิ่งพาร์ค เป็นบ่อใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน มีอาหารบริการ เป็นสถานที่พักผ่อนพร้อมรองรับนักท่องเที่ยว ที่นี้มีหลายโซน มีสวนสัวต์เล็กๆอีกหน่อยจะมีทะเลน้ำเทียมไว้ให้บริการพี่น้องชาวอีกสานอีกด้วย
3.สวนอินทผาลัมทุ่งทองคำ บ้านหนองอ่าง ต.กำแพง อ.เกษตวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ที่นี้ปลูกอินทผาลัมพันธ์บาร์ฮีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กว่า 200 ไร่ ผลผลิตจะออกมาในช่วงเดือนกรกฎาคมในห้วงเวลาดังกล่าวขอเชิญนักท่องเที่ยวทุกท่านได้มาชิมอินทผาลัมสดพันธ์บาร์ฮีรสชาตดีมากๆ
4.ปราสาทกู่กาสิงห์ กู่โพนวิจ กู่โพนระฆัง ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด กู่กาสิงห์ พิจารณาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นปราสาทหรือเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์ ตามแบบอิทธิพลวัฒนธรรมเขมร ชาวบ้านเรียกชื่อกู่กาสิงห์ตามประติมากรรมสิงห์ 2 ตัว ที่ตั้งอยู่บริเวณประตูทางเข้าซึ่งสูญหายแล้ว ปัจจุบันกู่กาสิงห์ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดบูรพากู่กาสิงห์น้อยเพราะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน”นายอภิชาต อารีย์พัฒนไพบูลย์ นายอำเภอเกษตวิสัย จ.ร้อยเอ็ด กล่าวเชิญชวนนักท่องเที่ยว
สุดท้ายนางสาวธนวัน กาสี ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น ได้กล่าวว่า “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่นขอบเขตการดูแลในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสิน (ขอนแก่น,ร้อยเอ็ด,สารคาม,กาฬสินธุ์)ซึ่งรวมถึงกู่กาสิงห์จังหวัดร้อยเอ็ดแห่งนี้ด้วย ใคร่ขอเชิญนักท่องเที่ยวทุกท่านได้มาเที่ยวชมปราสาทกู่กาสิงห์ กู่โพนวิจ กู่โพนระฆัง ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ดแห่งนี้ได้นะค่ะ สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้านที่นี้ หากนักท่องเที่ยวสนใจอยากทราบข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสิน สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติ่มได้ที่ Face book ททท.สำนักงานขอนแก่น TAT Khonkaen Fanpage/ 043-277714”นางสาวธนวัน กาสี ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น กล่าวปิดท้าย
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 >