วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ แบตเตอรี่พลังน้ำช่วยเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าและเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

27 เม.ย. 2022
780
กังหันลมลำตะคอง

พลังงานไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ดังนั้นการจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้มีความเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และการมีระบบไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จำเป็นต้องมีเสถียรภาพ เพื่อให้ไฟฟ้ามีความมั่นคง ต้องอาศัยระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS) เป็นระบบที่สามารถกักเก็บพลังงาน ณ เวลาหนึ่ง และสามารถปลดปล่อยพลังงานออกมาได้เมื่อต้องการใช้งาน จึงเป็นส่วนเติมเต็มให้กับโครงข่ายระบบไฟฟ้าให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น

โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ เป็นระบบกักเก็บพลังงานชนิดหนึ่งที่ถูกคิดค้นบนพื้นฐานความคิดในการจัดการกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน เพราะโดยปกติการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางคืนที่ค่อนดึกไปแล้วนั้นจะมีการใช้ไฟฟ้าลดลง ทำให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเหลือในระบบ ดังนั้น การทำงานของโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเป็นโรงไฟฟ้าที่มีอ่างเก็บน้ำสองส่วนคือ อ่างเก็บน้ำส่วนบน และอ่างเก็บน้ำส่วนล่าง น้ำจะถูกปล่อยจากอ่างเก็บน้ำลงมาเพื่อหมุนกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยสามารถตอบสนองผลิตไฟฟ้าได้ทันที เมื่อต้องการผลิตไฟฟ้าเสริมเข้าระบบในกรณีเร่งด่วน ขณะที่โรงไฟฟ้าทั่วไปต้องใช้เวลาเริ่มเดินเครื่องกว่า 2-4 ชั่วโมง และในช่วงที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำหรือน้อยลง จะใช้ไฟฟ้าที่เหลือในระบบจ่ายให้กับปั๊มน้ำขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่ในอ่างเก็บน้ำส่วนล่าง เพื่อสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำส่วนล่างนี้กลับขึ้นไปเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำส่วนบนเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าต่อไป


ปัจจุบันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ 3 แห่ง ได้แก่ 1) เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี มีกำลังผลิต 360 เมกะวัตต์ 2) เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก มีกำลังผลิต 171 เมกะวัตต์ และ 3) โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา มีกำลังผลิต 1,000 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ กฟผ. กำลังอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำสูบกลับอีกหลายพื้นที่ทั่วประเทศ รวมถึงเตรียมการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA ) โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำจุฬาภรณ์แบบสูบกลับ ณ จังหวัดชัยภูมิ ที่มีขนาดกำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ เพื่อเป็นแหล่งสะสมพลังงานไฟฟ้า ช่วยบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และเพิ่มความมั่นคงด้านระบบไฟฟ้าให้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอนาคต

โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับถือเป็นระบบเก็บกับพลังงานที่มีต้นทุนต่ำ สำหรับระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับวิธีการอื่น ๆ นับเป็นการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า และสามารถตอบสนองต่อความต้องการไฟฟ้าช่วงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า อีกทั้งพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่แหล่งเรียนรู้ด้านพลังงาน ช่วยเพิ่มรายได้ของชุมชนอีกทางหนึ่ง

สนใจลงโฆษณาติดต่อนิตยา-0628929797 ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว DasKLf.jpg 8JER4J.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ขอนแก่นชวนชมทะเลธุงและเฮือนโบราณสุดชิค ในงานเทศกาลไหมนานาชาติ 67 ขณะที่นางรำนับหมื่นพร้อมใจรำบวงสรวง 10 สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองขอนแก่นและเฉลิมฉลองมหานครขอนแก่น ครบ 227 ปี
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. จัดโครงการสัมมนาบทบาทภารกิจและผลดำเนินงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อยกระดับการกำกับกิจการพลังงาน การมีส่วนร่วม พร้อมรับมือยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ที่ จ.ขอนแก่น
ขอนแก่นกับงานยักษ์ใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2567 งานแถลงข่าว “Plara Morlam Isan to the World’24”
มข.ต่อยอด Soft Power ดันลูกทุ่ง “เสียงสนแว่วหวานสีฐานเฟสติวัล” ปีที่ 3 ยกระดับเวที ผู้ชนะเลิศสามารถเดินเข้าสู่วงการบันเทิงในระดับประเทศต่อไป
นักวิ่งห้ามพลาด! “ขอนแก่นมาราธอน” ฉลอง 20 ปี พร้อมกิจกรรมพิเศษเพียบ!
นักท่องเที่ยวไทย-เทศ แห่ชมความสวยงามของโคมไฟเพนท์มือนับหมื่นดวง ในงานสีฐานเฟสติเวลคึกคัก