วันจันทร์, 14 เมษายน 2568

ข่าวปลอม อย่าแชร์!❌ กัญชาคั้นสดไม่ออกฤทธิ์ต่อประสาท ป้องกันและรักษาโรคได้ดีกว่าสารสกัดกัญชา

03 พ.ค. 2022
853

ตามที่ข้อความแนะนำประเด็นเรื่องกัญชาคั้นสดไม่ออกฤทธิ์ต่อประสาท ป้องกันและรักษาโรคได้ดีกว่าสารสกัดกัญชา ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ.จากกรณีคำแนะนำที่ระบุถึงงานวิจัยคั้นจากใบสดกัญชาช่วยป้องกันโรคและรักษาโรคได้ดีที่สุดเพราะการ ดื่มน้ำคั้นกัญชาสดไม่ทำให้ไม่เมา และเวลาป่วยสามารถดื่มในปริมาณที่มากพอเพื่อรักษาโรคได้ ทางสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ ได้ชี้แจงว่าสารสำคัญในกัญชา THC ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท การรับประทานในรูปแบบใด ไม่ว่าจะเป็นทานสด ต้ม คั้นสด ก็ออกฤทธิ์ได้เช่นเดียวกับการเสพโดยผ่านความร้อน แต่ช้ากว่า หากได้รับในปริมาณมากเกินขนาดก็จะก่อให้เกิดอันตราย.ซึ่งการบริโภคกัญชาโดยการกินไม่ว่าจะเป็นการทานสด การต้ม การคั้นจะทำให้ได้รับสารจากจากกัญชาให้ปริมาณไม่แน่นอนในแต่ละครั้ง ทั้งสายพันธุ์กัญชาที่ใช้ แหล่งปลูกที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้ไม่สามารถคาดคะเนระดับสารสำคัญในกัญชา THC หรือ CBD ที่ร่างกายได้รับ นอกจากนี้ในกัญชายังมีสารประกอบอื่น ๆ ที่มีอยู่ในกัญชารวมอยู่ด้วย และร่างกายยังมีการแปลงสภาพสาร (Metabolite) ผ่านทางตับเป็นสารอีกหลายชนิด ในการทำวิจัยจำเป็นต้องรู้ว่ากำลังศึกษาสารเคมีใดปริมาณเท่าไร ดังนั้นการทำวิจัยย่อมทำให้ไม่สามารถสรุปผลได้ ซึ่งต่างจากสารสกัดกัญชาที่มีการควบคุมปริมาณสารสำคัญและแยกนำสารประกอบอื่น ๆ ออกก่อนทำการวิจัยทำให้มีผลการศึกษาที่สามารถมีความน่าเชื่อถือกัญชา​การออกฤทธิ์จะขึ้นกับชนิด ปริมาณของสารสำคัญ และการตอบสนองที่แตกต่างกันในแต่ละคน ควรใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ให้ปริมาณที่เหมาะสมตามข้อบ่งชี้.ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://www.pmnidat.go.th/ หรือโทร. 02-531-0080.บทสรุปของเรื่องนี้คือ : สารสำคัญในกัญชา THC ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ไม่ว่าจะการรับประทานในรูปแบบใดก็ตาม และการคั้นทำให้ได้รับสารจากกัญชาให้ปริมาณไม่แน่นอนในแต่ละครั้ง ไม่อาจทำการวิจัยที่แน่ชัดได้ เหมือนกับสารสกัดกัญชา.

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์

สนใจลงโฆษณาติดต่อนิตยา-0628929797 ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว DasKLf.jpg 8JER4J.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาล ย้ำเตือนผู้ใช้แรงงานอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม กรณี ก.แรงงานเปิดรับสมัครแรงงานภาคเกษตร ไปทำงานเกาหลีใต้ช่วงเดือน เม.ย นี้
เตือนอย่าหลงเชื่อและไม่แชร์ข่าวปลอม เรื่องประกาศงดจัดเทศกาลปีใหม่ เพราะพบการระบาดโควิดพันธุ์ใหม่ เดลตาครอล XBC
ค้างจ่ายค่าปรับจะไม่ได้รับป้ายภาษี เริ่มใช้ 1 เม.ย. 66 จริงหรือ?
ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า มีความผิดฐาน ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย โทษหนักคุก 5 ปี ปรับเงิน 4 เท่า ของราคาสินค้า จริงหรือ?
เตือนภัย!!! 10 แก๊งร้าย แฝงกายช่วงปีใหม่
ข่าวปลอม อย่าแชร์!ออมสินปล่อยสินเชื่อ Mymo Mycredit ผ่านแอปฯ Mymo