วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

สลากดิจิทัลขายเพิ่มเป็น 7.1 ล้านใบ ปรับรูปแบบสลากงวด 1 ส.ค. ป้องกัน “สลากทิพย์”

 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการดำเนินการตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ให้ทุกหน่วยงานร่วมกันบูรณาการในการแก้ไขปัญหาการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา ซึ่งในส่วนของการดำเนินการจำหน่ายสลากดิจิทัลราคา 80 บาท ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยในงวดประจำวันที่ 1 ส.ค. 65 นี้ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจะจำหน่ายสลากเพิ่มเป็น7,167,500 ใบ เพิ่มจากเดิมที่มี 5.1 ล้านใบ เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องของผู้ซื้อ จะเปิดจำหน่ายสลากผ่านแอพพลิเคชันเป๋าตัง ตั้งแต่ 6 โมงเช้า ของวันที่ 17 ก.ค.65 เป็นต้นไป ทั้งนี้ งวดที่ผ่านมามีการจำหน่ายสลากหมดในเวลาไม่ถึง 2 วัน และพบว่า สลากจำนวน 5 ล้านกว่าใบนั้น มาจากผู้ซื้อประมาณ 9 แสนคน เฉลี่ยคนหนึ่งซื้อ 5-6 ใบและไม่ปรากฏการซื้อแบบกระจุกตัวจนผิดสังเกต อีกทั้งไม่พบผู้ค้ารายใหญ่ขายสลากดิจิทัล มีเพียงรายย่อยที่โพสต์ขายเกินราคา 80 บาท ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้จับกุมดำเนินคดีแล้ว  อนึ่ง ในเดือนส.ค.นี้ กองสลากฯ ได้เพิ่มจุดจำหน่าย “โครงการสลาก 80” จากที่มีอยู่ขณะนี้ 754 จุดทั่วประเทศ เป็น 1,077 จุด 

นางสาวรัชดา กล่าวเพิ่มเติมว่า กองสลากฯ ฝากเตือนประชาชน อย่าซื้อสิทธิสลากดิจิทัลต่อจากผู้อื่น เพราะในระบบการจำหน่ายสลากดิจิทัลจะบันทึกชื่อผู้ซื้อไว้อย่างชัดเจน สลากจึงเป็นกรรมสิทธิของผู้ซื้อที่เป็นเจ้าของบัญชีแอปเป๋าตังเท่านั้น ดังนั้นเมื่อถูกรางวัล เงินรางวัลจะโอนเข้าบัญชีผู้ซื้อ ไม่สามารถโอนสิทธิเปลี่ยนมือการขึ้นรางวัลไปให้บุคคลอื่นได้ หรือกรณีมารับสลากฯ ที่สำนักงานฯ ก็จะต้องใช้ชื่อผู้ซื้อยืนยันตัวตนในการมารับสลากฯ  ดังนั้น ถ้าใครหลงเชื่อซื้อสลากดิจิทัลที่มีการนำมาประกาศขายต่อ หากถูกรางวัลอาจเกิดปัญหาตามได้

นอกจากนี้ สำนักงานสลากฯ แจ้ง งวด 1 สิงหาคมนี้ ปรับรูปแบบป้องกันการปลอมแปลงบนใบสลาก โดยพิมพ์เลขชุดทับงวดวันที่ หวังแก้ปัญหาสลากทิพย์ และป้องกันการปลอมแปลงสลากพันโท หนุน ศันสนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวต่อผู้สื่อข่าวถึงกรณีที่มีการนำรูปภาพสลากฯ ไปโพสต์จำหน่าย โดยปกปิดสาระสำคัญบนใบสลาก ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นสลากที่ถูกนำไปวนขายหลายทอด โดยไม่มีสลากจริงหรือที่เรียกกันว่าสลากทิพย์ตามที่ปรากฎเป็นข่าว อีกทั้งยังมีกรณีการนำสลากที่ไม่ถูกรางวัลไปปลอมแปลงแก้ไขตัวเลขแล้วนำไปหลอกขายให้กับประชาชนที่หลงเชื่อต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง อีกทั้งหากนำสลากปลอมแปลงแก้ไขมาขึ้นเงินรางวัล ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอีกด้วย ซึ่งประเด็นเหล่านี้ ทำให้ประชาชนผู้ซื้อได้รับความเดือดร้อน นอกจากการต้องซื้อสลากราคาเกินกว่าที่กำหนดแล้ว ยังอาจจะถูกหลอกลวงจากการที่ไม่มีสลากฉบับจริง หากถูกรางวัลจะไม่สามารถขึ้นเงินรางวัลได้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สำนักงานสลากฯ จึงได้ปรับรูปแบบของข้อมูลบนใบสลากจากเดิม “ชุดที่” จะอยู่ใต้ “งวดวันที่” ปรับเปลี่ยนเป็น พิมพ์หมายเลข “ชุดที่” เพิ่มโดยพิมพ์ทับลงบน “งวดวันที่” ซึ่งจะทำให้ เห็นเลขชุดได้อย่างชัดเจน ในตำแหน่งเดียวกับงวดวันที่ ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้โพสต์ขายจะต้องเปิดเผยให้ผู้ซื้อเห็นได้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว นอกเหนือจากหมายเลขบนใบสลาก เมื่อผู้ซื้อสลากทราบหมายเลขชุดก็จะสามารถตรวจสอบได้ว่า สลากฉบับนั้นๆ ได้ถูกนำไปขายที่อื่นด้วยหรือไม่ นอกจากนี้ ยังเป็นการป้องกันการปลอมแปลงบนใบสลากแล้วนำไปหลอกขายให้กับประชาชนอีกด้วย ทั้งนี้ รูปแบบดังกล่าวจะเริ่มพิมพ์ออกจำหน่ายตั้งแต่งวดวันที่ 1 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DasKLf.jpg 8JER4J.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เตรียมพบสาขาลำดับที่ 10 ของ โก โฮลเซลล์ บนถนนเจริญราษฎร์  4 ธ.ค. นี้
เอเว็กซ์ พิกเจอร์ส เตรียมถ่ายทอดสดคอนเสิร์ต “SEVENTEEN ‘RIGHT HERE’ WORLD TOUR IN JAPAN: LIVE VIEWING” ส่งตรงจากโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น สู่โรงภาพยนตร์ทั่วโลก 14 ธ.ค.นี้ พร้อมเปิดจำหน่ายบัตรแล้ว
งานประชุม Vaccine World Asia Congress 2024 – South East Asia Focused
ขอนแก่นกับงานยักษ์ใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2567 งานแถลงข่าว “Plara Morlam Isan to the World’24”
ที่สุดของบทสรุป/บัญญาย่าคว้าชัยสนามสุดท้าย มาร์ตินคว้าแชมป์โลก MotoGP ปี 2024
ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมกับ กสทช. ดีอี ปภ. จ.ภูเก็ต นำร่องทดสอบระบบเตือนภัยเสมือนจริง “LIVE – Cell Broadcast Service” ที่ภูเก็ตเมืองท่องเที่ยวระดับโลก