สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น จัดโครงการสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 8 อำเภอ ของจังหวัดขอนแก่นตามเจตนารมณ์ ของกองทุนฟื้นฟูฯที่จะสร้างกระบวนการติดตามแบบมีส่วนร่วม การพื้นฟู และพัฒนาเกษตรกร และการจัดการหนี้ของเกษตรกร
เมื่อเวลา 09.30 นวันที่ 17 สิงหาคม 2565 ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น นางสุภาวดี ศรีสุขพัฒน์ นายอำเภอชุมแพ เป็นประธานเปิดโครงการสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยมี ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร, นายสานิต เชิดโคกศรี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขา จังหวัดขอนแก่น และ นายประดิษฐ์ สิงสง,นายชูไทย วงศ์บุญมี ,นายรังสิต ชูลิขิต คณะอนุกรรมการฯ และสมาชิกกลุ่มเกษตรกรของกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ร่วมงาน
นายสานิต เชิดโคกศรี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า การประชุม “โครงการสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น” ในวันนี้ด้วยกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งเป็นหน่วยงานองค์กรของรัฐ ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2594 และ 2563 ตามเจตนารมณ์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนากษตรกร ที่จะการสร้างกระบวนการติดตามแบบมีส่วนร่วม การพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และการจัดการหนี้ของเกษตรกร
บทบาทการสนับสนุนงานพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของคณะอนุกรรมการกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด จึงได้เชิญประชุมประธานหรือผู้แทนองค์กรเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในพื้นที่จัหวัดขอนแก่น ในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
เพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอน วิธีการการจัดการหนี้ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนา
เกษตรกร2. เพื่อสร้างกระบวนการติดตามแบบมีส่วนร่วม สำนักงานสาขาจังหวัด องค์กรเกษตรกร
อนุกรรมการจังหวัด ภาคีความร่วมมือ ในการรวบรวมข้อมูล และตรวจสอบความมืออยู่จริงขององค์กรเกษตรกรและสมาชิกองค์กรที่เคยได้รับงบสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาฯและองค์กรเกษตรกรที่ขอรับการสนับสนุน และ ตรวจสอบความมีอยู่จริงรายชื่อ เกษตรกรสมาชิกที่ที่ขึ้นทะเบียนหนี้ของเกษตรกร 3. เพื่อสะสางข้อมูลทะเบียนองค์กรเกษตรกรและสมาชิก ทะเบียนเกษตรกรสมาชิกที่ได้ขึ้นทะเบียนหนี้ของเกษตรกร
สำนักงานกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น มีองค์กรเกษตรกร จำนวน 928 องค์กร สมาชิกองค์กร 263,740 ราย มีเกษตรกร
ทะเบียนหนี้ จำนวน 20 849 ราย 30,326 สัญญา มูลหนี้ 2,563,760,322.03 บาท
ผลการดำเนินงานฯ ได้สนับสนุนเงินอุดหนุนให้กับองค์กรเกษตรกร 292 โครงการ เป็นเงิน
14.898.269 บาท ได้สนับสนุนเงินกู้ยืมโครงการฯ 58 องค์กร รวมเป็นเงิน 26,791,900.00 บาท ชำระหนี้แทนเกษตรกรจำนวน 491 ราย เป็นเงิน 78,214,947.30 บาท ชำระหนี้แทนเกษตรกรตามสถาบันเจ้าหนี้ ดังนี้1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 19 ราย เป็นเงิน5,329,035.30 บาท2. ธนาคาพาณิชย์ จำนวน 27 ราย เป็นเงิน 2,281,066.49 บาท 3.สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์)จำนวน 432 ราย เป็นเงิน 66,203,407.27 บาท4.นิติบุคคล จำนวน 10 ราย เป็นเงิน 4,007,945.24 บาทและ5. บุคคลภายนอก (NPA) จำนวน 3 ราย เป็นเงิน 393,493.00 บาท รวมจำนวน 491 ราย เป็นเงิน 78.214,947.30 บาท
โดยรักษาที่ดินให้เกษตรกรเป็นจำนวน 341 แปลง เนื้อที่ 2,391 ไร่ 1 งาน 48.2 ตารางวา ในจำนวนนี้เกษตรกรได้ชำระหนี้คืนกองทุนฟื้นฟูฯ ปิดบัญชีแล้ว 97 ราย และได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนเกษตรกรแล้ว 136 แปลง เนื้อที่ 1.125 ไร่ 0 งาน 40.1 ตารางวา ในการจัดประชุมฯ จึงได้เชิญประชุมประธานหรือผู้แทนองค์กรเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็น สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ อำเภอชุมแพ อำเภอภูผาม่าน อำเภอสีชมพู อำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอหนองเรือ และอำเภอบ้านฝาง จำนวน 168องค์กร เจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น เข้าร่วมการประชุมฯด้วยรวมทั้งสิ้น 180 คน
ด้าน นางสุภาวดี ศรีสุขพัฒน์ นายอำเภอชุมแพ กล่าวว่าจากการรับฟังคำกล่าวรายงาน นับว่าเป็นสิ่งน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง สำหรับทุกคนที่มีโอกาสได้เข้าประชุมฯในครั้งนี้ เป็นโครงการที่ดีของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดชอนแก่น การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร เป็นภารกิจงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่จะต้องหาแนวทางช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ และรักษาที่ดินของเกษตรกร เป็นไป นางสุภาวดี กล่าวด้วยว่าตามเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร แต่การดำเนินการต่าง ๆ ทุกส่วนงานต้องมีความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างเกษตรกร เจ้าหนี้ และกองทุนฟื้นฟูฯ จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาร่วมกันได้การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร ให้เกษตรกรมีอาชีพ มีรายได้ ดำรงชีพอยู่ใด้ เพื่อสร้างกระบวนการติดตามแบบมีส่วนร่วม สำนักงานสาขาจังหวัด องค์กรเกษตรกร อนุกรรมการจังหวัด ภาคีความร่วมมือ รวมทั้งการตรวจสอบความมีอยู่จริงขององค์กรเกษตรกร และตรวจสอบความมีอยู่จริงรายชื่อเกษตรกรสมาชิกที่ที่ขึ้นทะเบียนหนี้ของเกษตรกร เพื่อสนับสนุนงบประมาณการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรให้กับองค์กรเกษตรกร และการแก้ไขช่วยเหลือหนี้สินของเกษตรกร ต่อไป
ส่วน นายพัลลภ กลางนอก อายุ 54 ปี อาชีพเกษตรกร 163 ต.บ้านใหม่ อ.สีชมพู กล่าวว่าในการเข้าอบรมโครงการสนับสนุนติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในครั้งนี้ เพื่อมาติดตามความคืบหน้า ในด้านการช่วยเหลือเกษตรกร เพราะตนเองเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาเกษตรกรมาร่วม 20 ปีแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาหลายปี ทำไมไม่มีความคืบหน้า เพราะไหนว่าจะเข้ามาช่วยเกษตรกร ในด้านการให้กู้ยืมเพื่อการลงทุน ซื้อหนี้สินของเกษตรกร โดยไม่มีดอกเบี้ย สามารถผ่อนในระยะยาว ส่วนตนเป็นหนี้ ธกส.อยู่จำนวน 500,000 บาทและ ของสหกรณ์เพื่อการเกษตร จังหวัดสีชมพู 50,000 ในส่วนตัวอยากได้เงินลงทุนเพื่อที่จะไปประกอบอาชีพในการ เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เพราะว่าไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว หลายปีที่ผ่านมาจนประธานกลุ่ม ได้เสียชีวิตไปหลายท่านแล้ว ทำให้เกษตรกรในกลุ่มเลี้ยงวัว ไม่อยากจะเข้าร่วมกิจกรรมนี้ เพราะสมาชิกในกลุ่มเข้าใจว่ามีอนาคตไหม และทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ยังมีอยู่ไหม
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 >