วันศุกร์, 11 เมษายน 2568

สภาอุตสาหกรรมขอนแก่น ระบุผู้ประกอบการขอนแก่นพร้อมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 340 บาท เริ่ม 1 ต.ค.นี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานในภาวะค่าครองชีพแพง

สภาอุตสาหกรรมขอนแก่น ระบุผู้ประกอบการขอนแก่นพร้อมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 340 บาท เริ่ม 1 ต.ค.นี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานในภาวะค่าครองชีพแพง วอนรัฐทบทวนมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง โดยเฉพาะค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้า และสิทธิด้านภาษี เพื่อลดต้นทุนหลังต้องปรับขึ้นค่าแรงพร้อมกันทั้งประเทศ


เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 3 ก.ย.2565 ที่สำนักงานสภาอุตสาหกรรม จ.ขอนแก่น นายทวีสันต์ วิชัยวงษ์ ประธานสภาอุตสาหกรม จ.ขอนแก่น เปิดเผยว่า การประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.เป็นต้นไป ซึ่งขอนแก่น ปรับขึ้นจากเดิมวันละ 325 บาท เป็น 340 บาท คิดเป็นการปรับขึ้นในอัตราร้อยละ 4.6 ซึ่งยังคงจัดอยู่ในเกณฑ์การประเมินที่ต่ำกว่าที่รัฐบาลกำหนดคือการปรับขึ้นที่ร้อยละ 5-8 และในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำดังกล่าวนี้นั้นกลุ่มผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ ละแรงงานรับจ้างรายวัน จะได้รับเงินค่าจ้างเพิ่มขึ้นอีกวันละ15 บาทหรือได้รับเงินเดือนที่ปรับขึ้นอีกเดือนละ 450 บาท ซึ่งในฐานะนายจ้างแม้จะต้อรับภาวะค่าต้นทุนด้านแรงงานที่เพิ่มขึ้นแต่ถ้ามองถึงสัดส่วนเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นถือว่าเหมาะสมและสามารถทีจะช่วยเหลือใช้แรงงานได้อย่างมาก
“ ขอนแก่น มีโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งหมดกว่า 4,000 แห่ง มีผู้ใช้แรงงานรวมกว่า 100,000 คน ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ในจำนวนนี้เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั้งสิ้นรวมกว่า 900 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทุนในประเทศและกลุ่มทุนท้องถิ่น รวมไปถึงโรงงานจากต่างประเทศที่มาตั้งฐานการผลิตในพื้นที่แต่สัดส่วนทุนท้องที่ยังคงมีมากกวากลุ่มทุนรายใหญ่จากต่างชาติ ดังนั้นถามว่ากระทบมั้ยในการปรับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น เราก็ต้องมองใน 2 มุม คือลูกจ้างที่ต้องรับภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น น้ำมันแพง,ไข่แพง,หมูแพง,สินค้าในการอุปโภคและบริโภคต่างๆแพงขึ้น การได้รับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นก็จะช่วยบรรเทาได้บ้าง ขณะที่นายจ้างเองก็ต้องเห็นใจที่ต้องมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่กลไกในการขับเคลื่อนภาพรวมทางเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐที่กำหนดออกมา ทุกฝ่ายก็ต้องเดินหน้าไปด้วยกัน”


ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.ขอนแก่น กล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้แรงงานทักษะและแรงงานฝีมือ ต่างได้รับค่าแรงมากว่าค่าแรงขั้นต่ำที่กำหนด ขณะที่กลุ่มงานรับเหมาก่อสร้างก็มีการคิดค่าใช้จ่ายเป็นตารางเมตร ด้านแรงงานในระบบก็ได้รับเงินเดือนที่มากว่าค่าแรงขึ้นต่ำ ส่วนกลุ่มราชการหรือลูกจ้างของรัฐก็มีค่าจ้างที่มากอยู่แล้ว ดังนั้นผู้ประกอบการหรือนายจ้างก็ต้องหาวิธีในการลดต้นทุนการผลิตหรือประหยัดค่าใช้จ่าย หรือการนำแรงงานต่างชาติตามข้อตกลงเข้ามาทำงานทดแทนแรงงานไทย ในกลุ่มผู้ประกอบการบางประเภท โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าส่งออก,แหอวน,รองเท้า,เครื่องหนัง หรือสินค้าแปรรูป รวมไปถึงการพูดคุยกันในการนำนวัตกรรมหรือระบบเทคโนโลยีต่างๆหรือเอไอ เข้ามาทดแทนในการผลิตหรือทดแทนในส่วนที่สำคัญ อย่างไรก็ตามรัฐบาลต้องมองถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการในระดับพื้นที่ด้วยการพิจารณาทบทวนเรื่องต้นทุนที่แพงขึ้นและมีการผันผวนตลอดเวลา โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า,ค่าน้ำมัน หรือสิทธิทางด้านภาษีเพื่อช่วยผู้ประกอบการด้วย

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DasKLf.jpg 8JER4J.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
นิโอ ทาร์เก็ต และอินฟลูเอ็นเชี่ยลแบรนด์ สิงค์โปร์ จัดงานมอบรางวัลสุดยอดแบรนด์ปี 2024
พูดถึงกล้วยหอมทอง ทำไมต้องที่ “โก โฮลเซลล์” ผลผลิตสดใหม่จากเสิงสาง ใหญ่ เนื้อแน่น รสชาติดี มีมาตรฐาน GAP
ญาญ่า อุรัสยา เคียงข้างพรอมิสมาอย่างต่อเนื่อง เปิดตัวแคมเปญใหม่ สมัครกู้เงินได้สะดวกและง่ายขึ้นผ่านแอป
ทราเวลโลก้าเผย กรุงเทพฯ ยังครองแชมป์ ชุมพรติดโผจุดหมายฮิตสงกรานต์ 2568
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จับมือ PMCU ร่วมจัดหลักสูตรพัฒนาผู้จัดการสินทรัพย์และ นักพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ พลิกโฉมพื้นที่สถานีรถไฟ
สสว. เสริมแกร่ง SME ผนึกกำลัง 30 หน่วยงาน จัดงาน “ปลดล็อกความสำเร็จ SME สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน” มุ่งยกระดับศักยภาพแบบพลวัต