วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

กฟผ. คว้ารางวัลธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ประจำปี 2565 ระดับยอดเยี่ยม

กฟผ. คว้ารางวัลธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ประจำปี 2565 ระดับยอดเยี่ยม
เมื่อ 20 ก.ย.2565 ที่โรงแรมพูลแมนคิงเพาเวอร์ กทม. กฟผ. รับรางวัลธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ระดับยอดเยี่ยม จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สะท้อนการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ การลดก๊าซเรือนกระจก และความยั่งยืนในทุกมิติ
นางศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงานโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้แทน กฟผ. รับมอบรางวัลธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ประจำปี 2565 ระดับยอดเยี่ยม จากนายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในพิธีปิดโครงการแถลงผลสำเร็จโครงการประเมินและจัดระดับธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืนประจำปี 2565


นางศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล แสดงเจตนารมณ์ว่า กฟผ. มุ่งมั่นผลิตและส่งไฟฟ้าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อส่งมอบพลังงานสะอาด ภายใต้การรักษาความสมดุลระหว่างความมั่นคงทางพลังงาน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดี พร้อมสนับสนุนกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กฟผ. ตั้งเป้าหมาย EGAT Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 โดยใช้กลยุทธ์ “Triple S” คือ Sources Transformation ปรับการผลิตและส่งไฟฟ้า โดยเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน ปรับปรุงโรงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีใหม่ ที่ช่วยเสริมให้มีความยืดหยุ่นรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รวมถึงใช้ระบบกักเก็บพลังงาน Sink Co-creation เพิ่มแหล่งกักเก็บดูดซับคาร์บอน โดย กฟผ. ผนึกกำลังพันธมิตรตั้งธงปลูกป่าหนึ่งล้านไร่ ภายในปี ค.ศ. 2031 และอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อนำเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน หรือ CCUS มาใช้กับโรงไฟฟ้าของ กฟผ. และ Support Measures Mechanism กลไกการสนับสนุนโครงการชดเชย และหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กฟผ. เชื่อมั่นว่ากลยุทธ์ดังกล่าว จะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 ได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจกันภายใต้แนวคิด “EGAT for ALL กฟผ. เป็นของคนไทยทุกคน และทำเพื่อทุกคน”
นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ กล่าวว่า การประเมินครั้งนี้ เป็นไปด้วยความยุติธรรมและมีมาตรฐาน ขอแสดงความยินดีกับ 21 หน่วยงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ นับเป็นแบบอย่างที่ดีและมีส่วนร่วมปรับตัวในการดำเนินธุรกิจ สอดรับกับแนวทางของโลกที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อบรรลุเป้าหมายของประเทศ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรควรนำไปใช้ในการลงทุนและสร้างการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไป.
ภัสสะ บุญธรรม. ขอนแก่น /รายงาน.

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DasKLf.jpg 8JER4J.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สำเร็จ! วิศวะ มข.จับมือ กฟผ.เปิดตัวนวัตกรรม “ระบบอัตโนมัติสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำเขื่ออุบลรัตน์”ตัวช่วยแก้ภัยแล้ง-ลดผลกระทบน้ำท่วม
กฟผ. ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มข.และสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ จัดงาน EGAT OpenHose: Smart Energy Solutions 2567 นำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานล้ำสมัย
พพ. – กฟผ. ร่วมสร้างมาตรฐานฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานของอาคารและโรงงานเบอร์ 5
ปตท. ผนึก กฟผ. ร่วมทุนโครงการ LNG Map Ta Phut Terminal 2 (LMPT2) เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน
กฟผ. ขอเชิญร่วมแชร์ไอเดียประหยัดพลังงานช่วงฤดูร้อน
พิธีการลงนามสัญญาจ้างผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 16