วันเสาร์, 3 พฤษภาคม 2568

กสทช. พิจารณาปรับปรุงแก้ไขแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 

เมื่อวันที่ 30 พ.ย. พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า (30 พ.ย.) กสทช.ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องเข้ามารับฟังผลสรุปการรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอจากผู้เกี่ยวข้องด้านวิทยุกระจายเสียง เพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินการยกระดับกิจการกระจายเสียงไทย เพื่อก้าวสู่มาตรฐานสากลเพื่อสร้างสรรค์สังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนต่อไป

พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ กสทช.ได้จัดประชุมรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้องด้านวิทยุกระจายเสียง เช่น ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ผู้แทนสมาคม สมาพันธ์ องค์กรภาคีเครือข่าย กลุ่มผู้รับใบอนุญาต กลุ่มผู้ทดลองออกอากาศ ผู้ดำเนินรายการ ผู้ผลิตรายการ และกลุ่มผู้ฟังวิทยุ เป็นต้น ทั้งในรูปแบบ Onsite และ Online ในพื้นที่กรุงเทพฯและต่างจังหวัด เป็นจำนวน 5 ครั้ง

สำหรับผลสรุปการรับฟังฯดังกล่าว ผลปรากฏว่าผู้เกี่ยวข้องได้มีข้อเสนอแนะรวม 212 ประเด็น แบ่งได้เป็น 5 หมวด ได้แก่ 1.ประเด็นด้านเนื้อหารายการ 2.ประเด็นด้านการอนุญาต 3.ประเด็นด้านเทคนิค 4.ประเด็นด้านการเงิน และ 5.ประเด็นด้านอื่นๆ เช่น เรตติ้งวิทยุดิจิทัล และการส่งเสริมสนับสนุน เป็นต้น

จากนั้นได้แบ่งปัญหาออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มปัญหาที่ กสทช. สามารถแก้ไขได้ทันที เช่น การปรับปรุงกระบวนรับเรื่องร้องเรียนให้มีการดำเนินการที่รวดเร็วขึ้น และการให้ความรู้และอบรมแนวทางในการออกอากาศ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ กสทช.ได้ดำเนินการแล้วบางส่วน และ2.กลุ่มปัญหาที่ กสทช. จะต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อน จึงจะดำเนินการแก้ไขปัญหาได้

โดยเฉพาะปัญหาในกลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นเรื่องการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย นั้น ที่ผ่านมาได้มีการเสนอให้ที่ประชุม กสทช. พิจารณาปรับปรุงแก้ไขแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังมีเสนอให้แก้ไขปรับปรุงประกาศและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอีก 7 ฉบับ เพื่อทำให้การกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและลดข้อพิพาทต่างๆได้ด้วย ได้แก่

1.ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการกระจายเสียง2.ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียงในระบบเอฟเอ็ม 3.ประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม 4.ประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มกำลังส่งต่ำ 5.ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มกำลังส่งต่ำ

6.ประกาศ กสทช. เรื่อง การทดสอบมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ระบบเอฟเอ็ม กำลังส่งต่ำ และ7.ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ป้องกันการรบกวนการใช้คลื่นความถี่ของสถานีวิทยุกระจายเสียงต่อกิจการวิทยุการบิน

“การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ก็เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและง่ายต่อการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและลดข้อพิพาทต่างๆ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาหลังจากใบอนุญาตทดลองออกอากาศสิ้นสุดลงในปี 2567 รวมทั้งการจะพิจารณาอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ระบบเอฟเอ็มกำลังส่งต่ำให้ถึงในปี 2567 และในปี 2567 กสทช.จะศึกษาแนวทางในการอนุญาตกิจการกระจายเสียงในระบบดิจิทัล เพื่อเป็นทางเลือกไปพร้อมกันด้วย” พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ กล่าว

พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ ย้ำว่า การรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่ผ่านมา เป็นความตั้งใจของตน ในฐานะ กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียง ที่จะรับฟังเสียงจากผู้ประกอบกิจการฯ และผู้เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ต่างๆ ด้วยความโปร่งใส และเป็นธรรมเพื่อที่ กสทช. จะได้นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเหล่านั้นมาใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการยกระดับกิจการกระจายเสียงไทย เพื่อก้าวสู่มาตรฐานสากลเพื่อสร้างสรรค์สังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนตามที่ตนได้ตั้งวิสัยทัศน์ไว้ตั้งแต่แรก

“หากมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมาแอบอ้างว่าสามารถพูดคุยกับ กสทช. หรือเสนอแนะและช่วยเหลือเรื่องใดๆได้เป็นกรณีพิเศษ ขออย่าได้หลงเชื่อเป็นอันขาด” พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ กล่าว

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณา ติดต่อนิตยา สุวรรณสิทธิ์-0628929797 DasKLf.jpg 8JER4J.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมกับ กสทช. พร้อมเปิดใช้ Cell Broadcast Service เตือนภัยบนมือถือ iPhone และ Android ในไทย
ทรู คอร์ปอเรชั่น ผนึกร่วม ปภ. กสทช. ดีอี ซ้อมใหญ่ระบบเตือนภัย Cell Broadcast นำร่องพร้อมใช้จริงเพื่อคนไทย ปลื้มผลทดสอบตามคาดหมาย
ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น ชำระค่าคลื่น 700 MHz งวดที่ 5 มูลค่า 1,881,488,000 บาท
ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่นชำระค่าคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz งวดที่ 7 จำนวน 4,072,848,000 บาท
กสทช. – AIS โชว์ความคืบหน้าระบบเตือนภัยผ่านมือถือ ด้วย Cell Broadcast บน LIVE Networkกลางภูเก็ต พร้อมเชื่อมต่อกับศูนย์บัญชาการกลางของภาครัฐ มอบความอุ่นใจให้แก่คนไทยทั่วประเทศ
ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมกับ กสทช. ดีอี ปภ. จ.ภูเก็ต นำร่องทดสอบระบบเตือนภัยเสมือนจริง “LIVE – Cell Broadcast Service” ที่ภูเก็ตเมืองท่องเที่ยวระดับโลก