วันอังคาร, 22 เมษายน 2568

“CMDF ร่วมกับ สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จัดสัมมนานำเสนอแนวโน้มและโอกาสการลงทุน พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองการเลือกลงทุนในกองทุน”

กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ร่วมกับ สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (AOP) จัดงานสัมมนา เรื่อง “Future of Investing: Themes and Opportunities” นำเสนอแนวโน้มและโอกาสการลงทุน ในสภาวะที่ตลาดทุนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น รวมถึงการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการตัดสินใจที่จะเลือกลงทุนในกองทุนต่าง ๆ และกระบวนการ Due Diligence จากผู้ลงทุนสถาบัน และ ตัวแทนจากหลักทรัพย์จัดการกองทุนชั้นนำ โดย มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟัง

งานสัมมนา เรื่อง “Future of Investing: Themes and Opportunities จัดขึ้น โดยมี ผศ.ดร.รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่นกรรมการและเลขาธิการ สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กล่าวต้อนรับและเปิดงานโดยให้ความเห็นว่า การจัดงานสัมมนาในวันนี้จะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจถึงโอกาสการลงทุนใหม่ในยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่ข้อมูลมีการถ่ายโอนอย่างอิสระจนทำให้ราคาหลักทรัพย์ในตลาดทุนมีแนวโน้มผันผวนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับทราบถึงแนวทางในการเลือกผู้จัดการกองทุน และลักษณะของกองทุนรวมอย่างเหมาะสมให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนของเจ้าของเงินมากที่สุด

ดร. ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า ในการหาโอกาสการลงทุนที่จะชนะตลาด (Alpha) โดยทั่วไปนั้น นักลงทุนจะมีกรอบการลงทุน เครื่องมือ การวิเคราะห์การลงทุนในลักษณะที่เหมือนกัน แต่การจะหา Alpha คือการเสี่ยง ต้องกล้าที่จะตัดสินใจภายใต้สถานการณ์การลงทุนที่ซับซ้อนและไม่แน่นอนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์เหล่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการและการตัดสินใจแบบซับซ้อนเท่านั้น แต่ต้องกล้าที่จะเลือกเพียงหนึ่งปัจจัยที่สำคัญแล้วตัดสินใจลงทุน สิ่งสำคัญคือ การมองเป้าหมายที่ถูกต้องให้นิ่ง และวิ่งตามเป้าหมายให้ไว

Simon Coxeter, Head of Manager Research, Asia Pacific, Mercer เปิดเผยว่าในปี 2022 ที่ผ่านมา ผู้ลงทุนเผชิญกับความท้าทาย ทั้งในเรื่องความผันผวนของสินทรัพย์ต่าง ๆ ภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ อย่างไรก็ตาม ความท้าทายดังกล่าวถือเป็นโอกาสให้ผู้ลงทุนได้ทบทวนบริบทของการจัดการการลงทุน การกระจายความเสี่ยง และการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก และการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานและความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ Simon ระบุว่าการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของพอร์ตโฟลิโอ และการสร้างความยั่งยืนเป็นประเด็นที่ผู้ลงทุนจำนวนมากให้ความสนใจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอีกด้วย

จากการแลกเปลี่ยนมุมมองภายในงาน จะเห็นว่าเจ้าของสินทรัพย์ (Asset Owner) มองว่า การบริหารจัดการเงินภายใต้การดูแล รวมไปถึงการเลือกลงทุนในกองทุนรวมนั้นมีความท้าทาย นอกจากต้องมีการจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) ที่จะลงทุนในระยะยาวแล้ว อีกหนึ่งความท้าทายคือการคัดเลือกผู้จัดการกองทุนที่มีความสามารถและความเชี่ยวชาญเพื่อมาบริหารเงินกองทุน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การลงทุนตามที่ตั้งไว้ ดังนั้น กระบวนการการคัดเลือกผู้จัดการกองทุนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากการพิจารณาผลการดำเนินงานที่เป็นการพิจารณาในเชิงปริมาณแล้ว ยังจำเป็นต้องพิจารณาเชิงคุณภาพด้วย อีกทั้ง ควรมีกรอบการเลือกพิจารณา เช่น การบริหารจัดการองค์กร กระบวนการและขั้นตอนการตัดสินใจลงทุน รวมถึงการจัดการเรื่องความเสี่ยง เป็นต้น

คุณชนันต์ ชาญชัยณรงค์ ผู้จัดการ กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) เปิดเผยว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา CMDF ได้ให้ทุนสนับสนุน บริษัท เมอร์เซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (Mercer) เป็นผู้ดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินความสามารถของกองทุนรวมจากปัจจัยเชิงคุณภาพ หรือ Fund Rating Report โดยปัจจุบัน รายงานทั้งหมดที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยินยอมให้มีการเปิดเผยนั้น ได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ www.settrade.com และยังคงเปิดให้กองทุนที่สนใจเข้าร่วมโครงการจนสิ้นสุดโครงการ ปี 2567 โดย CMDF หวังว่ารายงานดังกล่าวช่วยให้ตลาดทุนไทยมีรายงานที่มีข้อมูลครบถ้วนมากขึ้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนและช่วยยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมการลงทุนไทยสู่มาตรฐานสากลยิ่งขึ้น

คุณจินตนา เมฆินทรางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอไอเอ (ประเทศไทย) จำกัด (AIAIMT) กล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการ Fund Rating Report และผ่านกระบวนการสัมภาษณ์ผู้จัดการกองทุนในเชิงลึก (Due Diligence) โดย Mercer ว่า เอไอเอและกลุ่มการลงทุนของเอไอเอให้ความสำคัญกับกระบวนการ และการติดตามการลงทุนของทีมการลงทุนเป็นประจำและสม่ำเสมอ จึงถือเป็นประสบการณ์ที่ดี ที่ได้นำข้อมูลและวิธีการของบริษัท มาทบทวนตัวเองอีกครั้งผ่านหลักเกณฑ์และกระบวนการของ Mercer ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญภายนอก ซึ่ง เอไอเอ เป็นองค์กรที่พร้อมจะปรับตัวและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ดังนั้น จึงได้รับมุมมองที่ดีที่ทำให้กลับมาทบทวนเพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาต่อไป

คุณสุราช เซที ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายจัดการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเกียรตินาคินภัทร (KKPAM) จำกัด กล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการ Fund Rating Report ว่า เป็นการเปิดโอกาสการเรียนรู้และเข้าใจถึงมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการลงทุนจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลก (Global Expertise) สามารถนำไปต่อยอดพัฒนากระบวนการลงทุนของเราให้ดียิ่งขึ้นเหมาะสมในบริบทของตลาดไทย Fund Rating Report เป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับผู้ลงทุนให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในด้านกระบวนการลงทุนและบุคคลากรที่เกี่ยวกับการบริหารกองทุนนั้น ๆ อย่างครบถ้วน นอกเหนือจากข้อมูลเบื้องต้นใน Fund Fact Sheet ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนในการนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนอย่างมาก อีกทั้งการเผยแพร่ Fund Rating Report ของทาง Mercer จะทำให้กองทุนที่ได้รับการประเมินเป็นที่รู้จักแก่ผู้ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สนใจจะลงทุนในกองทุนไทยมากยิ่งขึ้น

งานสัมมนาเรื่อง Future of Investing: Themes and Opportunities จัดขึ้น วันพุธที่ 22 มีนาคม 2566 ณ โรงแรม Conrad Bangkok ผู้สนใจสามารถอ่าน Fund Rating Report ได้ที่เว็บไซต์ www.settrade.com หรือผ่านทาง QR Code ด้านล่างนี้

ติดตาม Fund Rating Report ผ่าน QR Code

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 DasKLf.jpg 8JER4J.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
แพลตฟอร์มขายฝากอัจฉริยะ Dcash พลิกโฉมการกู้-การลงทุนด้วยระบบ Reverse Auction และ AI
บันยันกรุ๊ป คว้ารางวัลเกียรตินิยมสูงสุดจากงาน ‘International Property Awards 2024/5’
ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว คว้ารางวัล 2025 Thailand’s Most Admired Brand ตอกย้ำแบรนด์สตรีทฟู้ดมหาชนของทุกคน
 โก โฮลเซลล์ ลุยเคาะรั้วมหาวิทยาลัย ชี้ช่องตำแหน่งงาน นำร่อง ม.มหาสารคาม เจาะนิสิตเฉพาะทาง เพิ่มผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจ ตอกย้ำ Brand Core Value
นิโอ ทาร์เก็ต และอินฟลูเอ็นเชี่ยลแบรนด์ สิงค์โปร์ จัดงานมอบรางวัลสุดยอดแบรนด์ปี 2024
พูดถึงกล้วยหอมทอง ทำไมต้องที่ “โก โฮลเซลล์” ผลผลิตสดใหม่จากเสิงสาง ใหญ่ เนื้อแน่น รสชาติดี มีมาตรฐาน GAP