การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) โดยโครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน จัด”โครงการสัมมนาเชิงประจักษ์” โดยมีคุณสุภาวิณี นาควิเชตร หัวหน้าหมวด ประชาสัมพันธ์โครงการปรังปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน(กฟผ.) ได้นำสื่อมวลชนจากภาคอีสานและภาคตะวันออกเดินทางมาศึกษาดูงานใน “โครงการสัมมนาเชิงประจักษ์” ระหว่างวันที่ 21-24 เมษายน 2566 ณ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ และจังหวัดตรัง วัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนได้ร่วมตระหนักถึงชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม สร้างความเข้าใจในงานก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. อีกทั้งได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านไฟฟ้า การพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตและกระแสไฟฟ้า โดยในวันที่ 21 เมษายน 2566 ทางคณะได้เข้าเยี่ยมชมสถานีพลังงานทดแทนแหลมพรมเทพ พร้อมรับฟังการบรรยายถึงภารกิจของการมีสถานีพลังงานทดแทนแหลมพรมเทพ จากนายวิชาญ เพ็ชรกลม ช่างระดับ 8 สถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพ พร้อมรับฟังเรื่องพลังงานหมุนเวียนจาก นายชวิศ จงวิลัยวรรณ หัวหน้าแผนกสำรวจและประเมินศักยภาพพลังงานหมุนเวียน กฟผ.
ด้านนายวิชาญ เพ็ชรกลม ช่างระดับ 8 สถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพ ได้กล่าวว่า “สำหรับที่นี่คือสถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพ เป็นสถานีทดลองผลิตไฟฟ้าจากลมแต่ก่อนมีหลายตัว แต่ปัจจุบันนี้เหลือแค่ตัวเดียว สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามปกติร่วมกับแผงโซล่าเซลล์สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ตามปกติ ที่นี้ถือว่าเป็นสถานีฯแห่งแรกของประเทศไทยของ กฟผ. และของอาเซียด้วย เป็นสถานีผลิตพลังงานทดแทนแห่งแรก อีกทั้งที่นี่ยังเป็นจุดชมวิว ตั้งอยู่ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงคือ แหลมพรหมเทพ หาดยะหนุย แหลมกระทิง ซึ่งทั้งสามจุดนี้สามารถมาชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามมากๆ จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ นายวิชาญ เพ็ชรกลม กล่าว
ด้านนายชวิศ จงวิลัยวรรณ หัวหน้าแผนกสำรวจและประเมินศักยภาพพลังงานหมุนเวียน กฟผ.ได้กล่าวถึงภาพรวมของพลังงานหมุนเวียงว่า “สำหรับผมมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบสำรวจและประเมินศักยภาพพลังงานหมุนเวียนต่างๆไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล ชีวภาพ พลังงานใต้พิภพ ออกสำรวจทั่วประเทศไทย พลังงานหมุนเวียนคือพลังงานที่จะมาทดแทนพลังงานในอนาคต เป็นพลังงานสะอาด ลดการปล่อยคาร์บอน ก๊าซเรืองกระจกต่างๆ สามารถลดต้นทุนให้ถูกลง ประโยชน์มีมากมายโดยสามารถใช้ผสมผสานกับแหล่งพลังงานหลักได้ เช่นโครงการผลิตไฟฟ้าทุ่นลอยน้ำพลังแสงอาทิตย์ ที่เขื่อนสิรินธร ขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ สามารถจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นมาแล้ว สามารถไปเที่ยวชมได้ มีบริการล่องแพ ชมเขื่อนอีกด้วย อีกไม่นานนี้โครงการผลิตไฟฟ้าทุ่นลอยน้ำพลังแสงอาทิตย์จะเกิดขึ้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง คาดการว่าไม่เกินปลายปี 2566 นี้ คงแล้วเสร็จแน่นอน ถือว่าเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดขอนแก่น เกิดการสร้างงาน เสริมสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ นายชวิศ จงวิลัยวรรณ กล่าวปิดท้าย
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณา ติดต่อนิตยา สุวรรณสิทธิ์-0628929797