สมาคมฯ กับ ฟีฟ่า กับทุกโครงการพัฒนาร่วมกันเพื่อฟุตบอลไทย
สรุปประเด็นสำคัญ
- ประเทศไทย ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการดำเนินโครงการพัฒนาร่วมกับ ฟีฟ่า ในปี 2022-23 โดยมีโครงการพัฒนาหลากหลายส่วน โดยมุ่งเน้นความความเติบโตของวงการฟุตบอลในประเทศ ซึ่งตัวอย่างโครงการที่โดดเด่นคือ
- การส่งเสริมฟุตบอลหญิง โครงการ Women’s Development
- การสร้างระบบนิเวศน์ให้กับฟุตบอลเยาวชน Talent Development Scheme
- โครงการช่วยครูพลศึกษาสำหรับฟุตบอลระดับโรงเรียน Football 4 Schools
- การพัฒนาวิทยากรผู้สอนฟุตบอลและผู้ฝึกสอนเฉพาะด้าน Coach Educator Pathway
- การวิเคราะห์ฟุตบอลสมัครเล่น Amateur Football Analysis
- การเป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาผู้อำนวยการเทคนิคแห่งเอเชีย FIFA Technical Director Workshop
- ในช่วงปี 2565-66 ประเทศไทยถือเป็นสมาคมฟุตบอลประเทศสมาชิกของฟีฟ่า ที่เป็นผู้นำในการร่วมโครงการกับ FIFA โดยมี คาร์เลส โรมาโกซ่า เป็นผู้อำนวยการเทคนิคของสมาคม โดยการพัฒนาฟุตบอลในหลายๆ ด้าน เพื่อแสดงความมุ่งมั่นที่จะเติบโตและพัฒนากีฬาฟุตบอล และในบทความนี้ เราจะมาข้อโครงการที่ทำให้ประเทศไทยเป็นจุดอ้างอิงสำหรับสมาพันธ์อื่นๆ
- โครงการพัฒนาฟุตบอลหญิง: การส่งเสริมการเล่นฟุตบอลของผู้หญิง ซึ่งในสมาคมฯได้รับการยกย่อง ว่าเริ่มมีการจัดการแข่งขันสำหรับรุ่นเด็กหญิง การนำระบบออกใบอนุญาตสโมสรมาทดลองและบังคับใช้ การเปิดคอร์สอบรมผู้ฝึกสอนพิเศษเฉพาะสำหรับผู้หญิง การเปิดอบรมสนับสนุนผู้บริหารสโมสรฟุตบอลหญิง และบุคลากรด้านการจัดการฟุตบอล
- Talent Development Scheme: สมาคมฯเป็นสมาคมประเทศสมาชิกแรกในโลกที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ของฟีฟ่า ที่เกิดขึ้นโดย อาเซน เวนเกอร์ ประธานเทคนิคของฟีฟ่า พร้อมได้รับความร่วมมือและสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนากีฬาแห่งประเทศไทย เริ่มเป็นโครงการนำร่องให้กับฟีฟ่าเพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับสมาคมอื่นๆ โดยเป็นการกำหนดรูปแบบหลักสูตรฟุตบอลตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน การอบรมผู้ฝึกสอน การวางโครงสร้างการแข่งขันให้เหมาะกับช่วงวัยของผู้เล่น การอบรม Scout ให้มีเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อเสาะหาผู้เล่นนำข้อมูลเข้าระบบบันทึกสถิติ เพื่อคัดเข้าสู่ทีมชาติ การนำวิทยาศาสตร์กีฬา และเทคโนโลยีมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล
- 3. Football for Schools: ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการฟุตบอลสำหรับโรงเรียนของ FIFA เพื่อเพิ่มศักยภาพการสอนฟุตบอลในระดับโรงเรียน ผ่านครูพลศึกษาของโรงเรียนนำร่อง 60 โรงเรียน มีเป้าหมายในการเข้าถึงโรงเรียนประมาณ 400 โรงเรียนภายในปี พ.ศ.2569 ให้ใส่กิจกรรมสอนฟุตบอลในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนได้รับความสนุกสนาน พร้อมได้ทักษะที่จำเป็นในการประสบความสำเร็จในชีวิตผ่านการเล่นฟุตบอล
- 4. Coach Educator Pathway: สมาคมฯร่วมกับอีก 5 ประเทศสมาชิก นำร่องโปรแกรมการวางเส้นทางการเป็นวิทยากรคอรสอบรม เพื่อสามารถให้สมาคมฯ มีจำนวนบุคลากรที่เพิ่มขึ้น สามารถรองรับการเปิดคอร์สฝึกอบรมผู้ฝึกสอนในต่างๆ ที่จำเป็นต้องรักษามาตรฐาน
- 5. Special Courses for Coaches: ประเทศไทยได้พัฒนาหลักสูตรพิเศษสำหรับโค้ชผู้ฝึกผู้รักษาประตูและโค้ชฟิตเนส โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพการสอนและพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการเป็นผู้รักษาประตู
- 6. Amateur Football Analysis: ประเทศไทยกำลังดำเนินการวิจัยและวิเคราะห์ฟุตบอลระดับพื้นฐานและฟุตบอลสมัครเล่นใยนประเทศ ซึ่งผลการวิเคราะห์นี้จะช่วยให้สมาคมฯ สร้างและปรับโปรแกรมเพื่อพัฒนากิจกรรมสำหรับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน
- 7. Technical Leaders: โครงการสนับสนุนจาก FIFA เพื่อพัฒนาผู้ให้เกิดสภาวะผู้นำสำหรับบุคลากรฝ่ายเทคนิคภายในสมาคมฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้อำนวยการด้านเทคนิค (คาร์เลส โรมาโกซ่า) การส่งเสริมให้มีเจ้าหน้าที่เฉพาะด้านการคุ้มครองเด็ก และหัวหน้าส่วนฝึกอบรมผู้ฝฝึกสอน
- 8. Program for New technical Directors in Asia: ฟีฟ่าได้เลือกประเทศไทยเป็นเจ้าภาพงานสัมมนาอบรมผู้อำนวยการเทคนิครุ่นใหม่ จากสมาคมประเทศสมาชิกในทวีปเอเชีย ที่กำลังจะเติบโตและต้องการเข้าถึงองค์ความรู้ระดับนานาชาติ
ทั้งนี้ ทุกโครงการด้านเทคนิคที่กล่าวถึงนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจของสมาคมฯในการยกระดับพัฒนาวงการฟุตบอลอยู่เสมอ โดยเฉพาะในการทำงานร่วมกับ FIFA ที่คอยสนับสนุนและให้คำแนะนำกับประเทศสมาชิกตามที่มีการร้องขอ
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 >