
เข้าเดือนมิถุนายนหันไปทางไหนก็พบธงสีรุ้งและบรรยากาศเฉลิมฉลองไปกับ Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)และในวันที่ 23 มิถุนายนนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่นก็จะถูกแต่งแต้มไปด้วยสีรุ้งจากเหล่าผู้คนนับพันชีวิตกับงาน “ISAAN PRIDE 2023” ซึ่งปีนี้มาในคอนเซปต์ “อีสานเฮาเท่ากันเพศเท่าเทียม”
“ศูนย์เพศภาวะศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีภารกิจสำคัญอีกด้านคืองานบริการสังคมช่วยเหลือและสร้างการตระหนกรู้ให้สังคมตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมหาวิทยาลัยขอนแก่นด้านSDG 5 ความเท่าเทียมทางเพศจึงได้เป็นแม่งานหลักในการจัดISAAN PRIDE 2023 ร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ขอนแก่น และภาคประชาสังคมเพื่อขับเคลื่อนความเท่าเทียมทางเพศ”

อาจารย์ดร. ชีราทองกระจายรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เพศภาวะศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นกล่าวว่าการจัดงาน “ISAAN PRIDE 2023” นับเป็นปีที่ 2 ที่ศูนย์เพศภาวะศึกษาร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมทั้งสโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สภานักศึกษาองค์การนักศึกษาศูนย์ศิลปวัฒนธรรมและกองพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์มหาวิทยาลัยขอนแก่นเครือข่ายภายนอกประกอบด้วยเครือข่ายความหลากหลายทางเพศอีสานและเทศบาลนครขอนแก่น เดินหน้าขับเคลื่อนเพื่อความเท่าเทียมในสังคม

เปิดพื้นที่แต่งกาย ไม่กีดกัน นศ.ออกนอกระบบ
ปีแรกของISAAN PRIDE เมื่อปีที่ผ่านมา มีธีมงานคือ“LGBTQ+Rights in Education”เพื่อเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมทางเพศในสถานศึกษาซึ่งในปีเดียวกันมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงออกประกาศคำสั่งให้นักศึกษาสามารถแต่งกายตามเพศสภาพได้
“หากสถาบันการศึกษายังไม่มีพื้นที่ปลอดภัยให้นักศึกษาได้แสดงออกในสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างการแต่งกายตามเพศสภาพก็เหมือนกับเรากำลังกีดกันเขาออกจากระบบการศึกษาแทนที่จะใส่ใจกับเปลือกจนปิดประตูให้เยาวชนที่มีความสามารถเราเลือกที่จะเปิดพื้นที่เพื่อให้ทุกคนได้รับสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม”
หลังจากรณรงค์ในมหาวิทยาลัยแล้วปีนี้ธีมของงานจึงขยับมาเป็น “อีสานเฮาเท่ากันเพศเท่าเทียม”โดยเป้าหมายหลักอย่างแรกคือการส้รางภาพจำให้พื้นที่ระดับภูมิภาคได้เป็นพื้นที่สร้างความหลากหลายโอบรับทุกคนทุกกลุ่มทุกเพศทุกภาษาทุกศาสนาเพราะทุกที่ควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

ความเชื่อ – วัฒนธรรม “กะเทยอีสาน” ผิดปกติ
ขณะเดียวกันการสร้างภาพจำใหม่ให้อีสานก็เป็นอีกโจทย์สำคัญของงานครั้งนี้จากอดีต“กะเทยอีสาน”ถูกกดทับด้วยวัฒนธรรมความเชื่อท้องถิ่นเช่นเกิดไม่ตรงเพศจะทำให้เกิดอาเพศหรือความเชื่อทางศาสนาที่คล้ายคลึงกันอย่างเกิดมาผิดเพศเพราะชาติก่อนทำกรรมไว้กรอบความคิดเหล่านี้เข้ามาจำกัดความเข้าใจของผู้คนในสังคมทำให้มองว่า“ความหลากหลายทางเพศ”คือเรื่องประหลาดผิดปกติแต่คนรุ่นใหม่เริ่มเข้าใจสิ่งเหล่านี้มากขึ้นจากสื่อต่างๆรวมถึงการขับเคลื่อนของเครือข่ายภาคประชาชนISAAN PRIDE 2023 จึงไม่ใช่เพียงการเฉลิมฉลองแต่เป็นการตอกย้ำว่า“ปัจจุบันอีสานทันสมัยเท่าเทียมและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน”
ไฮไลต์ ISAAN PRIDE 2023
สำหรับไฮไลต์ของงานISAAN PRIDE 2023 จะจัดขึ้นในวันที่ 23 มิถุนายน 2566 เริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 10.00 น. กับนิทรรศการ“Love Talk” จากเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยณบริเวณศาลาก้านของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นต่อด้วยเวทีเสวนา“Gender Next Journey” ในช่วงบ่าย13.00-15.00 น.ที่อาคารHS.03 ห้องHUSO Learning Center คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากนั้นตั้งแต่เวลา 16.30 น. จะเป็นการเดินขบวนPride Paradeสุดยิ่งใหญ่ตั้งแต่อาคารพลศึกษาจนถึงศาลาพระราชทานปริญญาบัตร (เดิม) เพื่อร่วมเดินPridecatwalk บนธงสีรุ้งซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานปีนี้กว่า 2,000คนพร้อมกับโชว์สุดพิเศษในภาคค่ำที่จัดเต็มทั้งDrag Show, Cover Dance, การแสดงพิเศษจากนักศึกษาและการแสดงหมอลำจาก “ศิลปินภูไท”รวมถึงแถลงการณ์Pride Month โดยผู้บริหารมหาวิทยาลัยและตัวแทนเครือข่ายจึงอยากขอเชิญทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 23 มิถุนายนนี้เพื่อร่วมแสดงพลังผลักดัน“อีสานเฮาเท่ากันเพศเท่าเทียม”
ทำไมคณะมนุษยศาสตร์ฯมข. มีแต่กะเทย?
นพฤทธิ์สิทธิจันทร์นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์รองประธานสโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรมระบุว่า 2566 เป็นปีที่ 2 ที่สโมสรฯได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “ISAAN PRIDE 2023″เนื่องจากมองว่าเป็นงานที่สำคัญมากๆอีกงานหนึ่งที่จะช่วยสะท้อนปัญหาและเสริมสร้างความเสมอภาคในทุกมิติในสังคมทั้งด้านเพศภาษาและวัฒนธรรม

“ทำไมคณะมนุษยศาสตร์ฯมีแต่กะเทยโชว์นี้ก็กะเทยมนุษยฯขบวนแห่นั้นก็กะเทยคณะมนุษยศาสตร์ฯเราไม่อยากให้ใครตัดสินหรือตีตราเพียงเพราะคณะเรามีความหลากหลายบางคนอาจจะเป็นLGBTQ+ หรือบางคนอาจจะไม่ได้อยากจำกัดคำนิยามเพศของตัวเองก็ได้”
เมื่อพูดถึง“กะเทยอีสาน”ไม่เฉพาะเพียงในมหาวิทยาลัยขอนแก่นเท่านั้นแต่คำเรียกขานเช่นนี้ถูกตีตราขึ้นมาพร้อมกับ“ความตลก”จากการสร้างภาพจำในสื่อต่างๆทั้งละครหรือภาพยนตร์กลายเป็นแรงกดดันให้LGBTQ+ บางคนต้องเดินตามกระแสสังคมจากความคาดหวังของคนอื่นว่าต้องตลกทั้งที่ความเป็นจริงแล้วอาจไม่ใช่ตัวตนของตัวเอง
Soft Power สร้างความเข้าใจเพศเท่าเทียม
อย่างไรก็ตามเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปกระแสซีรีส์วายก็เริ่มเข้ามามีบทบาทและได้รับความนิยมในยุคดิจิทัลLGBTQ+ จึงเริ่มซึมซับเข้าไปในสังคมและเริ่มมีภาพจำใหม่ที่สร้างความเข้าใจกับความหลากหลายทางเพศมากขึ้นไม่เฉพาะกับคนรุ่นใหม่เท่านั้นแต่ผู้ใหญ่บางคนที่เปิดใจก็รับรู้ถึงความหลากหลายและเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้”ISAAN PRIDE 2023″ ก็ถือเป็นอีกSoft Power สำคัญที่เครือข่ายภาคประชาสังคมโดยเฉพาะเยาวชนสามารถขับเคลื่อนเพื่อสิทธิและความเท่าเทียมได้แต่ขณะเดียวกันการเดินหน้าให้ความเท่าเทียมทางเพศเป็นรูปธรรมก็ยังขึ้นอยู่กับผู้กำหนดนโยบายและผู้ออกกฎหมายอย่างรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นรูปธรรมได้อย่างแท้จริงเมื่อทุกคนมาแสดงพลังแล้วก็หวังว่ารัฐบาลใหม่จะเข้ามาดำเนินการตามนโยบายที่หาเสียงไว้ให้เห็นผลต่อไป
“ISAAN PRIDE 2023จะเป็นพื้นที่การแสดงของทุกคนไม่ว่าจะมีเพศภาษาวัฒนธรรมแบบใดเป็นพื้นที่ที่คนเท่ากันและเข้าใจคนด้วยกันโดยเฉพาะคนในภูมิภาคเป็นการแสดงพลังทั้งคนที่ต่อสู้เพื่อสิทธิตัวเองรวมถึงผู้ที่อยากให้กำลังใจและสนับสนุนให้อีสานเฮาเท่ากันเพศเท่าเทียม”






