วันอังคาร, 22 เมษายน 2568

มข. ดัน Soft Power ทางวัฒนธรรม มอบนวัตกรรมเครื่องเหลาตอกไผ่ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มไผ่ตะวัน ยกระดับงานหัตถกรรมคุณภาพสู่ระดับสากล

24 ก.ย. 2023
213

สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ เทศบาลตำบลยางคำ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น และ วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น จัดกิจกรรมการส่งมอบเครื่องเหลาตอกด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ โครงการการพัฒนาและยกระดับสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลยางคำ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ให้กับ กลุ่มจักสาน “ไผ่ตะวัน” เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566  ณ บ้านยางคำ ตำบลยางคำ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับเกียรติจาก       รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.สุวิทย์ อุปสัย รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ประธานในพิธีเป็นผู้ส่งมอบ และผู้รับมอบโดย นายวราวุฒิ หล้าทุม นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลยางคำ  และนายกองมี หมื่นแก้ว ประธานกลุ่มจักสาน “ไผ่ตะวัน” เป็นตัวแทนรับมอบ

ผลิตภัณฑ์จักสานของกลุ่มจักสานไผ่ตะวัน ขึ้นชื่อในเรื่องความประณีตสวยงาม มีน้ำหนักเบา แข็งแรงทนทาน  ย้อมจากธรรมชาติ มีเอกลักษณ์เฉพาะ ทำให้เป็นที่นิยมในท้องตลาด โดยมียอดสั่งซื้อเป็นจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และล่าสุดคือประเทศสวีเดน ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันตามความต้องการของตลาด เนื่องจากขั้นตอนในการเตรียมตอกนั้นมีความประณีต ต้องอาศัยช่างฝีมือที่จะทำการจักตอกให้มีขนาดที่บางเหมาะสมกับงานสานประณีต และปัจจุบันมีสมาชิกไม่เพียงพอต่อกำลังการผลิต   

รศ.น.สพ.ดร.สุวิทย์ อุปสัย รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงการจัดโครงการการพัฒนาและยกระดับสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน พร้อมการส่งมอบเครื่องเหลาตอกด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานให้กับ กลุ่มจักสาน “ไผ่ตะวัน” ในวันนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและยกระดับงานหัตถกรรมคุณภาพสู่ระดับสากล ซึ่งกิจกรรมในช่วงแรก เป็นการแนะนำทักษะเทคนิคและวิธีการใช้เครื่องเหลาตอกด้วยระบบอัตโนมัติ การดูแลรักษา หลังจากนั้นเป็นการสาธิตการใช้เครื่องมือเหลาตอก โดย อาจารย์นรินทร์  สารภักดี อาจารย์ประจำแผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น ผู้ปรับปรุงเครื่องต้นแบบร่วมกับนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 และในช่วงที่สอง เป็นการทดสอบประสิทธิภาพและคุณภาพการการผลิตตอกเชิงเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มฝีมือหัตถกรรมจักสานไผ่ตะวัน และ กลุ่มที่ใช้เครื่องมือทุนแรงด้วยเครื่องเหลาตอกอิเล็กทรอนิกส์ร่วมด้วย จากการทดสอบปรากฏว่า การใช้เครื่องเหลาตอกสามารถลดระยะเวลา ลดจำนวนคน และเพิ่มศักยภาพในการผลิตตอกประณีตได้มากกว่า 4 เท่า 

          การบริการวิชาการในครั้งนี้ เป็นการจับมือกันบูรณาการองค์ความรู้และแก้ปัญหาด้านการเพิ่มกำลังการผลิตเส้นตอกประณีตและเป็นต้นแบบให้กับกลุ่มจักสานไผ่ตะวัน ด้วยเครื่องรีดตอกอัตโนมัติ ซึ่งมีคุณสมบัติด้านการลดระยะเวลาการผลิตตอกให้สามารถตอบสนองความต้องการในตลาดโลก และการผนึกกำลังแนวทางการยกระดับงานบริการวิชาการ แบบ CSR สู่ CSV: การสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างธุรกิจและสังคม และแก้ไขปัญหาสังคมยกระดับเศรษฐกิจฐานราก  ให้เติบโตไปพร้อมๆกัน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพ-ข่าว/เบญจมาภรณ์ มามุข

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 dWgJ6WZ.jpeg MAaG61.jpeg MB9x2v.jpeg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ MEnXPR.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
มข.ร่วมกับ ธนาคารออมสิน จัดกิจกรรม นำเสนอนำเสนอแนวทางการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชน ภายใต้โครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ประจำปี 2568
ผู้เชี่ยวชาญ มข. ร่วมเสนอแนวทางป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ ในเวทีวุฒิสภา
สำนักบริการวิชาการ มข. เปิดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการ เตรียมความพร้อมให้บุคลากรท้องถิ่นเข้าใจกฎหมายเลือกตั้งและอำนาจหน้าที่เชิงลึก
“สนุกปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์ ”งานประเพณี สุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูนเสียงแคนและถนนข้าวเหนียวประจำปี 2568″
สำนักบริการวิชาการ มข. เสริมศักยภาพการประชุมสภาท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับการเลือกตั้ง 2568
มข. ร่วมปิดฉากโครงการ HigherEd for PWD เฟสแรกอย่างยิ่งใหญ่