วันเสาร์, 12 เมษายน 2568

แพทย์ รพ.ศรีฯ รักษา นร.วัย 18 ปี ป่วยผิวหนังตึง ยืดเหยียดของร่างกายไม่ได้ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ

22 ก.พ. 2024
274

เมื่อเวลา 15.30น. วันที่ 22 ก.พ. 2567 ที่ห้องประชุมหนองแวง อาคารเรียนรวม รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มข. พร้อมทีมแพทย์ร่วมกันแถลงข่าว ความสำเร็จในการรักษาโรคหนังแข็ง ด้วยวิธีปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด รายแรกของภาคอีสาน ที่นับว่าเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน ท่ามกลางความสนใจจากผู้ที่ตามข้อมูลข่าวสารมาร่วมรับฟังและร่วมแสดงความยินดี จำนวนมาก

นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มข. กล่าวว่า เป็นเรื่องน่ายินดี ที่ ทีมแพทย์ รพ.ศรีนครินทร์ ที่ได้รับตัว น.ส.ธนวรรณ โตภูเขียว อายุ 18 ปี บ้านเลขที่ 237 ม.6 ต.ภูผาม่าน อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น เข้ารักษา ด้วยอาการผิวหนังตึงและการยืดเหยียดของร่างกายทำไม่ได้เต็มที่ โดยผิวหนังแข็งตึงทั้งตัว ยกแขน ขาลำบาก ช่วงหน้าหนาวจะเกิดแผลตามข้อนิ้ว ข้อศอก รู้สึกเจ็บมาก ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันยากลำบากทำกิจกรรมกับเพื่อนเวลาไปเรียนได้ไม่เต็มที่ทีมแพทย์ของรพ.ศรีนครินทร์ นำทีมโดย ศ.พญ.ชิงชิง ฟูเจริญ แพทย์ผู้เชียวชาญโรคข้อและรูมาติสซั่ม ตรวจสอบสาเหตุของการเกิดโรคนั้นยังไม่มีแน่ชัดว่าเกิดจากอะไรหรือเกิดจากปัจจัยใด ส่วนจำนวนผู้ป่วยโรคหนังแข็งอยู่ที่ 2-3 คน ต่อประชากร 100,000 คนทุกปี แต่ในภาคอีสานจะเจอ 4 คนต่อประชากร 100,000 คนทุกปี

“น้องเป็นคนไข้รายแรกของภาคอีสานและเป็นคนไข้ที่อายุน้อยที่สุดที่รักษาด้วยวิธีการปลูกถ่านเซลล์กำเนิดเม็ดเลือด ไม่อยากให้ต้องทุกทรมานกับโรค เพราะต้องโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตมีครอบครัวไปทำงานอยู่ในสังคมทีมแพทย์ จึงลงความเห็นว่าต้องเร่งรักษาให้เร็วและรักษาด้วยวิธีที่ดีที่สุด แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะรักษาด้วยวิธีเดียวกันได้ทุกคน ต้องมีการคัดเลือกคนไข้ที่เหมาะสม ไม่อายุมากเกินไปเพราะว่าการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือด มีความเสี่ยงเพราะว่ามีการรักษาจะได้ยาที่มีผลกับร่างกายอย่างมาก ถ้าอายุเยอะอาจจะรับผลข้างเคียงไม่ไหว และโรคต้องไม่รุนแรงลงปอดลงหัวใจมากเกินไป แต่ของน้องอยู่ในระยะที่เหมาะสม น้องมีผิวหนังตึงรุนแรงแต่ภายในยังไม่รุนแรง อายุน้อยถือว่าเหมาะสมที่จะรักษาและได้ผลดี”

ศ.พญ.ชิงชิง ฟูเจริญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อและรูมาติสซั่ม กล่าวว่า การรักษาจริงๆอาจจะไม่สูงมาก แต่ด้วยเวลารักษาแล้วจะมีโรคแทรกซ้อน ทำให้ต้องรักษาโรคอย่างอื่นร่วมด้วย เพราะทางแพทย์ต้องล้างเซลล์เดิมที่ผิดปกติออกไปให้หมดจากร่างกาย ต้องทำลายออกให้หมด เพราะถ้าไม่หมดจะมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย เป็นเหตุต้องใช้ค่ารักษาเกี่ยวกับการติดเชื้อด้วยค่ารักษาประมาณ 1.5 ล้านบาท

“ในปัจจุบันการรักษาแบบปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดเป็นการรักษาที่ทำให้โรคหายขาดแต่เคสนี้อาจจะต้องใช้ระยะเวลาการรักษาและติดตามผลอีกประมาณ 1-2 ปี คาดว่าจะหายกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ววันและมีแนวโน้มจะดีขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ ถ้ามีแผลทำให้ไปเรียนไม่ไหว”

ขณะมี่ น.ส.ธนวรรณ โตภูเขียว อายุ 18 ปี กล่าวว่า ช่วงหน้าหนาวจะทรมานที่สุดจะขาดเรียนบ่อย หลังจากที่ทำการรักษาไปแล้ว 7 เดือน ร่างกายเริ่มกลับมาใช้งานได้ปกติ สามารถไปออกกำลังกายและไปทำกิจกรรมกับเพื่อนได้เยอะขึ้นรู้สึกดีขึ้นมากมีความสุขกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ตลอดระยะเวลาการรักษาจะมีแพทย์ พยาบาลคอยดูแลอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอดตั้งแต่ช่วงก่อนรักษา ระหว่างรักษาและหลังการรักษา ขอบคุณทีมแพทย์พยาบาลที่ช่วยให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง”

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg < tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg banner1-08.gif Dp1Qd0.png green-white-background06.jpeg 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ผู้เชี่ยวชาญ มข. ร่วมเสนอแนวทางป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ ในเวทีวุฒิสภา
สำนักบริการวิชาการ มข. เปิดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการ เตรียมความพร้อมให้บุคลากรท้องถิ่นเข้าใจกฎหมายเลือกตั้งและอำนาจหน้าที่เชิงลึก
สำนักบริการวิชาการ มข. เสริมศักยภาพการประชุมสภาท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับการเลือกตั้ง 2568
มข. ร่วมปิดฉากโครงการ HigherEd for PWD เฟสแรกอย่างยิ่งใหญ่
กรมวิชาการเกษตร จัดเต็ม จัดยิ่งใหญ่ วันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชภาคอีสานตอนบน
ททท.สำนักงานขอนแก่นเชิญชวนนักท่องเที่ยวๆงานวันเกษตรภาคอีสาน ปี 2568  เตรียมช้อปสินค้า-ชมเทคโนโลยีทางการเกษตรเกษตร งานจัด 10 วัน  “24 ม.ค. –  2 ก.พ 68 นี้.” คาดมีนักท่องเที่ยวทะลุล้านคน