วันที่ 28 มีนาคม 2567 สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ธนาคารออมสิน จัดเวทีการนำเสนอโครงการย่อย (Proposal) โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567 โดยพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ เป็นประธานเปิดโครงการ นายศราวุธ สุขเลิศตระกูล ผู้อำนวยการเขตขอนแก่น1(กล่าวพบปะ) และนายศราวุธ วัดเวียงคำ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน (กล่าวชี้แจงโครงการฯ) พร้อมด้วยนายสมเกียรติ โคตรศรี ผู้อำนวยการเขตขอนแก่น 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมษ์ธาวิน พลโยธี และ ดร.จินณพัษ โดมินิค อาจารย์จากคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปรึกษาโครงการ
โดยมีคณะกรรมการพิจารณาโครงการย่อยและให้คำแนะนำแนวทางการพัฒนากลุ่มชุมชน แบ่งเป็น 2 ภาคส่วนคือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสิทธิ์ คนใหญ่ รองผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ และจากธนาคารออมสิน จำนวน 4 ท่าน ประกอบด้วย นายชัยวัฒน์ อุทัยนูญ ผู้จัดการธนาคารออมสินสาขามะลิวัลย์ นายวิษณุ ชนไฮ ผู้ช่วยผู้อำนวยการภาค11 หน่วยพัฒนาสังคมและชุมชน นางสายฝน วงค์ยะมะ ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาสีชมพู และนางสาวนิตยา ชาญดำรงธรรม ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาภูเวียง ในรูปแบบ Onsite และออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมีทีมนักศึกษาเข้าร่วมนำเสนอโครงการย่อย จำนวน 5 ทีม ดังนี้
- ทีม : ชมพูทวีป
กลุ่มองค์กรชุมชน : กลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านโคกไม้งาม จ.ขอนแก่น
ผลิตภัณฑ์และบริการ : บริการท่องเที่ยวชุมชน
2.ทีม : ดาวบ้านดง
กลุ่มองค์กรชุมชน : กลุ่มวิสาหกิจ Dong Design ผ้าพิมพ์ลายธรรมชาติ จ.ขอนแก่น
ผลิตภัณฑ์และบริการ : ผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์ลายใบไม้
3.ทีม : ปลาน้อยโพธิ์ตาก
กลุ่มองค์กรชุมชน : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปบ้านโพธิ์ตาก จ.ขอนแก่น
ผลิตภัณฑ์และบริการ : แปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลา
4.ทีม : ผมนี่ของแทร่
กลุ่มองค์กรชุมชน : กลุ่มผลิตภัณฑ์จากบ่อเกลือสินเธาว์ จ.ขอนแก่น
ผลิตภัณฑ์และบริการ : แปรรูปผลิตภัณฑ์จากเกลือ
5.ทีม : โนนอุดม เฮ้
กลุ่มองค์กรชุมชน : กลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านโนนอุดม จ.ขอนแก่น
ผลิตภัณฑ์และบริการ : ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจักรสานจากไม้ไผ่ และกระเป๋าจากพลาสติก Recycle
พี่แก้วตา ตัวแทนจากกลุ่มผลิตภัณฑ์จากบ่อเกลือสินเธาว์ กล่าวว่า “ดีใจที่เด็กๆได้เข้ามาช่วยในชุมชน ได้เข้ามาเรียนรู้ และเห็นช่องทางในการพัฒนาของกลุ่ม เห็นช่องทางที่จะนำเอาสินค้าชุมชนออกสู่ตลาด ซึ่งแม่ๆในกลุ่มก็พร้อมจะเรียนรู้ไปด้วยกันกับน้องๆด้วยเช่นกัน ซึ่งบ่อเกลือสินเธาร์ ก็อยู่ในพื้นที่อุทยาน ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ GEO site ของ GeoPark (โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ “อุทยานธรณีขอนแก่น”) โดยในขณะนี้ทางกลุ่มเองก็กำลังดำเนินการขอยื่นให้เป็นแหล่งธรณีวิทยา (GeoPark )ของ จ.ขอนแก่น แต่ในส่วนของผลิตภัณฑ์จากบ่อเกลือสินเธาว์ นั้นยังไม่มีหน่วยงานมาช่วยส่งเสริม พอดีกับที่น้อง ๆ เข้ามา ทำให้เรารู้ว่ามันสามารถเพิ่มมูลค่าจากที่เป็นอยู่ เด็กๆมาลงพื้นที่ มาทำการบ้าน ทำให้มองเห็นปัญหา มันตรงจุดจริง และมันจะช่วยให้กลุ่มสามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนเป็นอาชีพเสริม และทางกลุ่มเองก็วางแผนต่อยอดหลังจากจบโครงการ ทำเป็นบ้านเกลือ ซึ่งถ้าเรา
โดยหลังจากการนำเสนอในครั้งนี้ น้อง ๆแต่ละกลุ่มก็จะนำเอาแนวทางที่ได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการไปปรับปรุงแต่ยอดเพื่อนำเสนออีกครั้งในรอบไฟนอลเพื่อค้นหาตัวแทนไปแข่งขันในระดับประเทศต่อไป
ภาพ-ข่าว : ชาลี พรหมอินทร์ สำนักบริการวิชาการ มข.
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ