วันพฤหัสบดี, 4 กรกฎาคม 2567

สถาปัตย์ฯ มข. ชูภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านชุดผ้าอีสานทรงคุณค่า

01 ก.ค. 2024
132

จากงาน THACCA SPLASH – Soft Power Forum 2024 งานที่รวมซอฟต์พาวเวอร์ 11 สาขาณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 28 – 30 มิถุนายน 2567 ที่ให้โอกาสนักออกแบบรุ่นใหม่ได้สืบสานคุณค่าผ้าทอพื้นถิ่นวัฒนธรรม นักออกแบบและทีมงานจาก สาขาวิชาการออกแบบ (สิ่งทอและแฟชั่น) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานออกแบบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาผ้าทอพื้นถิ่นอีสาน พร้อมเชิญชวนคนไทยให้ช่วยกันอนุรักษ์สืบสานต่อยอดผ้าไทย โดยนำมาใช้สวมใส่ หรือประยุกต์ใช้ในรูปแบบอื่น ๆ ในการต่อยอดภูมิปัญญาเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ

image

รศ.ดร.กฤตภัทร ถาปาลบุตร  คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า  หนึ่งในภารกิจหลักของคณะ คือ การส่งเสริมและยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)  ผ่านการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและประเพณีของภูมิภาคอีสาน โดยมีเป้าหมายในการรักษาและต่อยอดความรู้และทักษะที่ถูกสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น พร้อมทั้งมุ่งมั่นในการจัดการเรียน  การสอนที่ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบ เพื่อให้ศิษย์ได้เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าและสะท้อนถึงวัฒนธรรมของภูมิภาค ซึ่งบ่มเพาะปลูกฝังแนวคิดทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน

Sabai-Pride

คุณธรากร คำทอน ผู้ออกแบบและตัดเย็บชุด Sabai: Pride of Isan fashion เผยว่า “โจทย์คือ                        การเอาผ้าเอกลักษณ์ของชาวอีสาน มาผสมผสานกันให้เป็น 1 ชุด ภายใต้ความเป็นภาคอีสานทั้งหมด  ซึ่งผ้าแต่ละชนิดมีความเป็นตัวเองสูง ชัดเจนทางด้านลวดลาย เทคนิค และการใช้งาน โดยการนำผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าแพรวา และผ้าคราม มารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้ได้ จึงเป็นสิ่งที่ยากพอสมควร สิ่งที่นึกถึงคือ ผ้าเบี่ยง ผ้าสไบพาดหน้าอกของผู้หญิงในภาคอีสาน ที่แต่ละชนเผ่าจะมีการใช้ผ้าเบี่ยงเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงเผ่าพันธุ์ แสดงถึงภูมิปัญญาที่งดงามและผ่านการเวลา เรื่องราวและสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น สัมผัสถึงความสง่างาม  และทรงพลังของผ้าผืนเล็ก ๆ ที่มากมายไปด้วยเรื่องราว วิถีชีวิตและภูมิปัญญาของคนที่ราบสูงที่เราเรียกกันว่า คนอีสาน ผสมผสานความเป็นสากลด้วยโครงสร้างเสื้อสูท และใช้สีสันที่ทันสมัยเพื่อปรับภาพลักษณ์ของผ้าไทยให้ได้มากที่สุดเท่าที่ความสามารถเราจะทำได้

449339145-3309580299351605-8128235652000013965-n-683x1024-0

ทั้งนี้ได้รับคำปรึกษาและให้โอกาสในการได้ออกแบบและตัดเย็บ จากคณาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นสาขาวิชาการออกแบบ (การออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น) ในฐานะของศิษย์เก่า ขอขอบพระคุณเหล่าคณาจารย์ทุกท่านที่ยังสนับสนุนและผลักดันศิษย์ไปในทางที่ดีเสมอมา”

image

ผศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบ ได้กล่าวว่า “งานชิ้นนี้เป็นงานที่ดี ที่สามารถนำองค์ความรู้ภูมิปัญญาจากผ้าไทยมาพัฒนา ผสานทักษะฝีมือ มุมมองความคิดของทีมออกแบบ”  ทั้งนี้ คุณธรากร คำทอน ศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นนักออกแบบหนึ่งเดียวจากนอกเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ที่ได้ถูกคัดเลือกให้แสดงงานในโครงการประกวดศิลปนิพนธ์ Concept Wear the Humanity เมื่อปี 2562 นอกจากนี้ ยังเป็น 1 ใน 4 ตัวแทนจากประเทศไทยไปแข่งขันประกวดออกแบบ  บรรจุภัณฑ์ที่ญี่ปุ่น และคว้ารางวัล Bronze Price มาครอง ทั้งยังมีผลงานการออกแบบร่วมจัดแสดงในเวที ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการประสบความสำเร็จจากการเรียนรู้และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในงานออกแบบ

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สำนักบริการวิชาการ มข. จัดอบรมทบทวนการประชุมสภาท้องถิ่น เตรียมความพร้อมผู้บริหารและสมาชิกสภาในการเลือกตั้งท้องถิ่น
สำนักบริการวิชาการ มข. “อบรมเชิงปฏิบัติการ ‘เจาะเกราะแบบ บส.1-5’ รุ่นที่ 4 เสริมทักษะบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในสำหรับ อปท.”
สำนักบริการวิชาการ มข. พัฒนาทักษะจัดซื้อจัดจ้างยุคดิจิทัล! อบรม e-bidding การเขียน TOR ตรวจรับงานก่อสร้าง และงานตรวจสอบพัสดุ ให้บุคลากรท้องถิ่น รุ่นที่ 3
สำนักบริการวิชาการ มข. ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ ก้าวสู่ ‘University of Forest’ ฟื้นฟูป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียวในมหาวิทยาลัย”
สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ติวเข้มเทคนิคและแนวทางการนำเอาเกณฑ์ EdPEx สู่การปฏิบัติ เป็นรุ่นที่ 4
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ด้วยนวัตกรรมฝายดินซีเมนต์ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง ลดความเหลื่อมล้ำในชุมชน