วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

ทราบผลการยื่นประมูลสิทธิ์ การเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จ.นครราชสีมา พ.ศ. 2572

ครม.รับทราบผลการยื่นประมูลสิทธิ์ การเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จ.นครราชสีมา พ.ศ. 2572 เห็นชอบให้ กษ. เป็นหน่วยงานหลัก ดำเนินการเตรียมการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จ.นครราชสีมา พ.ศ. 2572

วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า  คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ อนุมัติ และเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
                   1. รับทราบผลการประมูลสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572
                   2. เห็นชอบให้ กษ. เป็นหน่วยงานหลักในการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 โดยเตรียมการแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องและจัดทำแผนงานและงบประมาณต่อไป
                   3. อนุมัติองค์ประกอบของคณะกรรมการอำนวยการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 (คณะกรรมการอำนวยการฯ)
                   4. เห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายละเอียดเอกสารสัญญาให้มีความรอบคอบ รัดกุม และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย
 เรื่องเดิม
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเกี่ยวกับการดำเนินโครงการประมูลสิทธิ์งานมหกรรมพืชสวนโลก ดังนี้

มติคณะรัฐมนตรีรายละเอียด
16 พฤศจิกายน 2564อนุมัติหลักการให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการยื่นประมูลสิทธิ์การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 (ระดับ B1) และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 (ระดับ A1) ต่อ AIPH
4 มกราคม 2565อนุมัติกรอบงบประมาณการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 วงเงินงบประมาณ 2,500 ล้านบาท และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 วงเงินงบประมาณ 4,281 ล้านบาท

 สาระสำคัญของเรื่อง
                   กษ. รายงานว่า
                   โครงการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 มีรายละเอียด ดังนี้
                   1. การประมูลสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพ :
                             1.1 โครงการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 มี Theme: Nature & Greenery: Envisioning the Green Future ระดับการจัดงานประเภท A1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความก้าวหน้าด้านพันธุ์พืช เทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตพืชสวน การแปรรูป และผลิตภัณฑ์แบบครบวงจร ในการเป็นฐานเกษตรและอาหารที่เข้มแข็ง บนพื้นฐานของการพัฒนา รวมทั้งการสร้างสมดุลทางธรรมชาติ ด้านการวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศไทยเพื่อจัดให้เกิดการยกระดับและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสารทางด้านพืชสวนและการเกษตรกับนานาประเทศที่มาร่วมงานและส่งเสริมให้เกิดการขยายตลาดสินค้าการเกษตรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่ง กษ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการยื่นประมูลสิทธิ์การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 (ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ) เพื่อพิจารณาจัดเตรียมข้อมูลการยื่นประมูลสิทธิ์การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572
                             1.2 ผลการประมูลสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 ในการประชุม AIPH Spring Meeting 2024 ระหว่าง วันที่ 3 – 7 มีนาคม 2567 ในช่วงการประชุม AIPH International Horticultural Expo Conference เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ประเทศไทย โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตรและผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้เสนอความพร้อมการเป็นเจ้าภาพจัดงาน Korat Expo 2029 ซึ่งเป็นการจัดงานระดับ World Horticultural Expo (A1) และเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 AIPH ได้ประกาศผลประเทศเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก พ.ศ. 2572 ในช่วงการประชุม AIPH General Meeting ว่าประเทศไทยได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพในการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ทั้งนี้ คณะกรรมการ AIPH ได้มีข้อแนะนำให้ควรเริ่มดำเนินการเตรียมการให้เร็วที่สุดจะทำให้งานมีประสิทธิภาพ
                   2 แผนการดำเนินงานต่อไป
                             2.1 แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการฯ (เสนอในครั้งนี้) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

องค์ประกอบ
(1) รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแล กษ.                     ประธานกรรมการ
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์           รองประธานกรรมการ
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย                      รองประธานกรรมการ      
(4) อธิบดีกรมวิชาการเกษตร                                 กรรมการและเลขานุการ
(5) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา                         กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
(6) รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรที่ได้รับมอบหมาย       กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
กรรมการ
(7) ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(8) ปลัดกระทรวงมหาดไทย                     
(9) ปลัดกระทรวงการคลัง
(10) ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
(11) ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(12) ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(13) ปลัดกระทรวงการคมนาคม
(14) ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(15) ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(16) ปลัดกระทรวงพาณิชย์                        
(17) ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม                      
(18) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
(19) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
(20) เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(21) อธิบดีกรมชลประทาน
(22) อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
(23) อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
(24) อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์
(25) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(26) ประธานกรรมการหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
(27) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(28) ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(29) ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ  (องค์การมหาชน)
(30) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
(31) นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย
อำนาจหน้าที่
(1) กำหนดนโยบาย อำนวยการ กำกับ และติดตามผลการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา        พ.ศ. 2572 ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
(2) มอบหมายให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐสนับสนุนงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572
(3) แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 เพื่อพิจารณาแผนงานและงบประมาณโครงการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572
(4) ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572
(5) คณะกรรมการอำนวยการฯ สามารถเบิกเบี้ยประชุมตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

                             2.2. การชำระเงินค่าธรรมเนียมและการจัดทำสัญญามีรายละเอียด ดังนี้

หัวข้อรายละเอียดผู้รับผิดชอบ
การชำระค่าธรรมเนียม
(เมื่อได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพจัดงาน)
(1) หลังประกาศผล 1 เดือน ชำระค่าหนังสือค้ำประกันโดยธนาคาร (Financial Guarantee) 100,000 ยูโร (ประมาณ         4 ล้านบาท)
(2) ภายใน 6 เดือน ชำระค่าตอบแทนการให้ใช้สิทธิ (License Fee) 600,000 ยูโร (ประมาณ 30.5 ล้านบาท รวมภาษี) ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว
สสปน.
การลงนามในสัญญาลงนามภายใน 3 เดือน หลังประกาศว่าได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพกษ. จังหวัดนครราชสีมา และ สสปน.
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง(1) การเยี่ยมชมพื้นที่จริงของคณะกรรมการสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH Site inspection) ประจำปี 2567
(2) ก่อนการจัดงาน 4 ปี ดำเนินการรายงานต่อ สำนักนิทรรศการระหว่างประเทศ (Bureau International des Expositions: BIE และชำระค่าธรรมเนียม ประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้วสสปน.

                             2.3 ประโยชน์และผลกระทบ

ประเด็นรายละเอียด
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ– เงินทุนหมุนเวียนจากการจัดงาน
– การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP)
– สร้างการจัดงาน
– รายได้จากการจัดเก็บภาษี
ผลกระทบทางสังคมจากการจัดงานการจัดมหกรรมพืชสวนโลกในประเทศไทยถือเป็นงานระดับภูมิภาคที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศให้เดินทางมาเพื่อเข้าร่วมงาน รวมทั้งก่อให้เกิดการบูรณาการและทำงานร่วมกันของทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงจากค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการจัดงานของผู้จัดและค่าใช้จ่ายของผู้เข้าร่วมงานและเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอันเป็นผลจากการจัดงานอีกด้วย นอกจากผลกระทบเชิงเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากการจัดมหกรรมพืชสวนโลก ยังส่งผลกระทบทางสังคมต่อประเทศไทยทั้งทางบวกและทางลบในประเด็นด้านต่าง ๆ ได้แก่ เสริมสร้างภาพลักษณ์ ชื่อเสียงและการรับรู้เกี่ยวกับประเทศไทย ทั้งในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่สีเขียวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในฐานะผู้นำด้านเกษตรกรรมและวนเกษตร ให้เป็นที่รับรู้และมีชื่อเสียงทั้งในระดับนานาชาติและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าภาคการเกษตรของประเทศไทย พัฒนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการเกษตรและเทคโนโลยีด้านเกษตรกรรม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่

_______________________

1การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ (1) A1 : World Horticultural Exhibition ใช้พื้นที่จัดแสดง 500,000 ตารางเมตร ระยะเวลาจัดงาน 3 – 6 เดือน (2) B : International Horticultural Exhibition ใช้พื้นที่จัดแสดง 250,000 ตารางเมตร ระยะเวลาจัดงาน 3 – 6 เดือน (3) C : International Horticultural Show ใช้พื้นที่จัดแสดง 6,000 ตารางเมตร ระยะเวลาจัดงาน 4 – 20 วัน และ (4) D : International Horticultural Trade Exhibition เป็นงานแสดงเพื่อธุรกิจการค้าพันธุ์พืชโดยไม่กำหนดจำนวนวันจัดงานขั้นต่ำ
2 พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (1) (ค) บัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ให้หน่วยงานของรัฐเลือกใช้วิธีการประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อนเว้นแต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้พัสดุนั้นอันเนื่องมาจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้ ซึ่งหากใช้วิธีการประกาศเชิญชวนทั่วไปจะทำให้ไม่ทันต่อความต้องการใช้พัสดุ ให้ใช้วิธีการคัดเลือก

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ยกระดับอาหารพื้นถิ่นและอาหารฟังก์ชัน สู่นวัตกรรมอาหารปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีการฉายรังสี มุ่งเพิ่มโอกาสทางการตลาด ช่วยรับรองประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์
ช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2567 หากเจ็บป่วยฉุกเฉิน แนะเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดตามนโยบาย UCEP
มอบรางวัลประกาศเกียรติคุณเป็น “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2565 แก่บุคคล หน่วยงาน และโครงการ ที่ทำประโยชน์-ความดีเพื่อสังคมและประเทศชาติ
ปลื้มสินค้าผลไม้ไทยมีชื่อเสียง สับปะรดกระป๋องของไทยครองอันดับ 1 ของโลก และมะม่วงเบาสงขลา ขึ้นทะเบียน GI แล้ว
ว้าว!10 จังหวัดที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุด ภูเก็ตคว้าแชมป์ 127,927 ล้านบาท
ครม.เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมไทย-จีน สู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันอย่างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น