วันจันทร์, 7 เมษายน 2568

พช.ขก.พัฒนาศักยภาพบุคลากรเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนนโยบายกรมการพัฒนาชุมชน และนโยบายสำคัญของรัฐบาล

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2563 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมโรงแรมสวนเจ็ดพี่น้อง ต.เขื่อนอุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น นางจิรภา เชื้อดวงผุย ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย ผอ.กลุ่มงานฯ พัฒนาการอำเภอ นักวิชาการจังหวัด ดำเนินกิจกรรมตามโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน และนโยบายสำคัญของรัฐบาล ประจำปี 2564 ซึ่งในวันนี้เป็นวันที่สองของการดำเนินโครงการฯ


เริ่มจากการทบทวนบทบาทของผู้บริหารของจังหวัด/อำเภอ ในสถานการณ์ปัจจุบันตามความคาดหวังของผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน การสร้างทีม/TAEM Synergy ต่อมาเป็นการนำเสนอผลความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน ประจำปี 2563 ตามประเด็นหลัก 4 ประเด็น ซึ่งจากการระดมความคิดจากที่ประชุม สรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จของหน่วยงานในรอบปีที่ผ่านมา ได้แก่เรื่อง
-การดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการสวมใส่ผ้าไทย การพัฒนาต่อยอด ในเรื่อง การสร้าง E-book การสวมใส่ผ้าไทย เผยแพร่สู่ระบบออนไลน์ เช่น fackbook line เว็บไซด์ Instargram web page ต่าง ๆ การจับคู่ธุรกิจ (ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ+นักการตลาด) การพัฒนาผ้าไทยให้มีมาตรฐาน และตรงตามความต้องการของลูกค้า การขยายผลสู่โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเยาวชนรุ่นใหม่ การนำผ้าไทยทั้งผ้าผืน และผ้าสำเร็จรูป สู่ตลาดสากล การรณรงค์สวมใส่ผ้าไทยในงานประเพณีท้องถิ่นหรืองานสำคัญต่าง ๆ และการสร้างกระแสด้วยการประกาศวาระจังหวัด/อำเภอ เต็มพื้นที่
-การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP การพัฒนาต่อยอดในเรื่อง การส่งเสริมการจัดเวทีสร้างการเรียนรู้ในกลุ่ม Cluster เดียวกันให้คุณภาพสินค้าใกล้เคียงกันมากที่สุด การพัฒนาระบบฐานข้อมูลของผู้ผลิต ผู้ประกอบการให้เกิดความสมบูรณ์ครบถ้วน นำสู่การคัดสรรที่ได้มาตรฐาน การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ดาวเด่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาต่อยอดให้เกิดนวตกรรมให้หลากหลายยิ่งขึ้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์/เทคนิคการออกตลาด อย่างต่อเนื่อง การขยายตลาดสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน/สินค้า OTOP สู่ห้างสรรพสินค้า และการสร้างผู้ผลิต ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เพื่อสืบสานต่อยอดและมีสมรรถนะมากขึ้นในการออกตลาด
-การดำเนินงานโครงการน้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาต่อยอด ในเรื่อง การส่งเสริมให้นำผลผลิตที่เหลือกิน เหลือแบ่งปัน มาแปรรูปเพื่อการถนอมอาหารและการขายสร้างรายได้ การสร้างและพัฒนาศูนย์เมล็ดพันธ์ผัก เพื่อได้เมล็ดพันธ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ การประชาสัมพันธ์สร้างกระแสการปลูกผักอย่างต่อเนื่อง การขยายผลสู่หมู่บ้านสัมมาชีพชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กศน.ตำบล เป็นการสร้างกระแสอย่างต่อเนื่องยั่งยืน และการสร้างและพัฒนาศูนย์เรียนรู้ในการปลูกพืชผัก เพื่อการดำรงอยู่ภายในครัวเรือน และสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น
2. ผลการดำเนินงานที่ไม่ประสบผลสำเร็จของหน่วยงาน ได้แก่เรื่อง
-โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนลดความเหลื่อมล้ำ แนวทางแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น ในเรื่อง การกำหนดกรอบแนวทางที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมได้ การประสานขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมทั้งภาคราชการ หน่วยงานภาคี การจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้มากเพียงพอในการช่วยเหลือครัวเรือนยากจน การกำหนดเป้าหมายการช่วยเหลือให้หลากหลาย
-การจัดเก็บข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท (จปฐ.) ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ แนวทางแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น ได้แก่ การปรับปรุงแนวคิด วิธีการให้ตรงกับการปฏิบัติงานจริง การนำกระบวนงานเดิมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดเก็บข้อมูล ผู้รับจ้างต้องสร้างการรับรู้ ฝึกอบรมสอนวิธีการจัดเก็บและบันทึก ทำความเข้าใจการจัดเก็บข้อมูลทุกขั้นตอนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนลงพื้นที่ เพื่อจะได้เสนอความคิดเห็นการทำงานร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร พร้อมสนับสนุนเครื่องมือการจัดเก็บที่มีสมรรถนะสูงแก่ผู้จัดเก็บและบันทึกข้อมูล และมอบอำนาจให้จังหวัดดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างเองเพื่อสะดวก รวดเร็วในการประสานงาน
-กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี แนวทางแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น ได้แก่ การบังคับใช้ระเบียบ/กฎหมาย อย่างจริงจัง ในการติดตามหนี้ค้างชำระ การติดตาม ทวงถาม อย่างต่อเนื่อง เป็นระบบตามขั้นตอน สร้างคู่มือแนวทางการดำเนินงาน และสร้างการรับรู้แก่เจ้าหน้าที่/คณะกรรมการพัฒนาสตรี/สมาชิก ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ และมีแผนการดำเนินงานชัดเจน การปลูกฝังทัศนคติที่ดี (รับผิดชอบต่อภาระหนี้ผูกพัน) และจัดให้มีนิติกรประจำจังหวัดเพื่อปรึกษาข้อกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติตามข้อกฎหมายให้ถูกต้อง
3. แนวคิด/ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนางานของกรมการพัฒนาชุมชน
-ด้านการบริหารงานบุคคล ได้แก่ การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรอย่างเข้มข้น ด้วยการนำนวัตกรรม/IT/อุปกรณ์ที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ การสนับสนุนเครื่องมือในการทำงานให้เพียงพอต่อบุคลากร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครื่องมือสื่อสาร (Ipad , สัญญาณ wifi ฟรี ครอบคลุมทุกพื้นที่) วัสดุสำนักงาน อุปกรณ์เครื่องมือในการฝึกอบรมในพื้นที่ (เครื่องเสียง/ไมค์/ลำโพง แบบมือถือ) การจัดสวัสดิการต่าง ๆ อาทิ เบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทนเงินประจำตำแหน่ง ให้เพียงพอเหมาะสมกับการลงพื้นที่ในการปฏิบัติงาน การสร้างความรู้ ความเข้าใจ เทคนิคการทำงานให้บุคลากรให้ชัดเจน และเพิ่มบุคลากรเต็มพื้นที่ (พัฒนากร รับผิดขอบ 1 คน ต่อ 1 ตำบล)
-ด้านงาน ได้แก่ การปรับเปลี่ยนเนื้อหาในงานพัฒนาชุมชนให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป และสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ลดความซ้ำซ้อนของระบบงาน ลดกิจกรรมการประกวดที่ไม่มีงบประมาณหรือมีแต่น้อยมาก งานในระดับนโยบาย ไม่สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมได้ทั้งหมด ยกเลิกงาน กทบ. โดยให้ สทบ.ชาติ ดำเนินการทั้งระบบ ถ่ายโอนงานแผนชุมชนให้กรมการปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการทั้งระบบ ถ่ายโอนโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี/ท่องเที่ยวชุมชน ให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทย รับผิดชอบทั้งระบบ
-ด้านเงิน ต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการทำงาน ทั้งด้านสวัสดิการ และกิจกรรม/โครงการ
4. แนวทางการพัฒนาของกรมการพัฒนาชุมชนในอนาคต ต้องยึดหลักการพัฒนาชุมชนในการปฏิบัติงานอย่างจริงใจ พัฒนาระบบงาน เช่น ระบบสารสนเทศ / IT / ระบบการติดต่อสื่อสาร ZOOM , Sessioncall / ระบบรายงานให้เป็นแบบรายงานออนไลน์ทั้งหมด พัฒนาศูนย์รวม (War Room) ให้ได้มาตรฐาน เพียงพอต่อการสื่อสาร และเสถียรมากที่สุด พัฒนาอัตรากำลัง เช่น พัฒนากรเต็มพื้นที่ (ตำบลละ 1 คน) มีเจ้าหน้าที่พัสดุ/การเงิน ระดับอำเภอ มีนิติกรประจำจังหวัด สร้างเส้นทางความก้าวหน้าในทุกสายงานด้วยการประเมินผลงานสร้างขวัญกำลังใจให้กับกลุ่มองค์กรที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน เช่น ผู้นำ อช. อช.ให้ทัดเทียมกลุ่มองค์กรของหน่วยงานอื่น และต้องกำหนดนโยบายให้ชัดเจน วิธีปฏิบัติ ตัวชี้วัดที่สามารถปฏิบัติได้จริง
สุดท้าย ที่ประชุมได้ร่วมกันเขียนความคิดเห็นในบัตรคำเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการที่ควรจะ “ปิด ปรับปรุง เปิด” เพื่อเป็นกรอบในการขับเคลื่อนงาน สพจ.ขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564 ให้มีประสิทธิภาพและบรรลุผลสัมฤทธิ์ ต่อไป