วันพฤหัสบดี, 19 กันยายน 2567

โครงการการบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า

(มีคลิป)อบจ.ขอนแก่น-คณะแพทย์ศาสตร์ มข.สำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 7 และเครือข่ายฯสนับสนุนจัด “โครงการการบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 12 ประจำปี 2567                 

          เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2567  เวลา 10.00น ณ ห้องเรือนนภาลัย ราชาวดี รีสอร์ท แอนด์โฮเทล มีพิธีเปิด  “โครงการการบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 12 ประจำปี 2567″  ในงานได้รับเกียรติจาก นายประสิทธิ์ ทองแท่งไทย รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานเปิด  มี ศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี รองประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ ,นางชนิษฐา พินิจพาณิชย์ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่น ,นางเครือวัลย์ ชาญนุวงศ์ กรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่น และกรรมการ ,นางสุธีรา ประดับวงษ์ ที่ปรึกษาศูนย์ตะวันฉายและกรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ ,อาจารย์บัญชา พละพล รองประธานสภาพนักงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,นางเตือนใจ พิทยาวัฒนชัย รองหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล ฝ่ายคลินิกบริการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ,นางสาวสุทธิกานต์ ก่อสกุล หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ,นางสาววัลย์ณรัตน์ ศรีไสย หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,บุคลากรทางการแพทย์ กรรมการมูลนิธิตะวันฉายฯ ตลอดจนน้องตะวันฉายและครอบครัว สื่อมวลชน ร่วมพิธีเปิดงาน

456697488-10162058376089604-8886190405497213638-n

         ทางด้านศาสตรจารย์ ดร.เบญจมาศ พระธานี รองประธานกรรมการมูลนิธิตะวันฉายกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม การจัดโครงการนี้จัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 12 เน้นเรื่องการดูแล คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า ที่โด้รับการดูแลอย่างครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านการดำรงชีวิ ด้านสังคม และด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจ ซึ่งจะส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ เป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุดในระดับเชต ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ เพื่อมุ่งหวังให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งในอนาคตโครงการนี้อาจเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างเหรือข่ายที่เข้มแข็งให้เก่ารดูแลรักษาในกลุ่มโรคอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

457021431-10162058380004604-2380061017885112844-n

       การจัดโครงการการบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ปีงประมาณ 2567 ดำเนินงานโดย มูลนิธิตะวันฉายเพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า สนับสนุนโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของใบหน้าและกะโหลกศีรษะ คือ การแก้ไขให้หายหรือใกล้เคียงความปกติ การฟื้นฟูสภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยให้กลับมาสู่สภาพปกติให้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตและมีบทบาทในสังคมตามปกติดังเช่นบุคคลโดยทั่วไป   

456692742-10162058382344604-5319000714213480480-n

     ซึ่งในการส่งเสริมสุขภาพ การดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่จำเป็นต้องอาศัยการรักษาและการติดตามผลเป็นระยะเวลายาวนานและต่อเนื่อง ตั้งแต่การให้คำปรึกษาก่อนการตั้งครรภ์ การปฏิปฏิบัติตนระหว่างการตั้งครรภ์ การดูแลตั้งแต่แรกเกิดจนเป็นผู้ใหญ่โดยสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการดูแลรักษาฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจแบบบูรณาการโดยทีมสหวิทยาการ รวมถึงการสร้างทีมการดูแลผู้ป่วยในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่องค์กรระดับประเทศ เช่นสมาคมความพิการปากแหว่งเพดานโหวใบหน้าและศีรษะแห่งประเทศไทย การบริการสาธารณสุขทั้งระดับตติยภูมิ เช่น ศูนย์การดูแลผู้ป่วยเฉพาะทาง ระดับทุติยภูมิ เช่น โรงพยาบาลจังหวัด และระดับปฐมภูมิ รวมถึงองค์กรในชุมชน องค์กรสุขภาพ ใกล้บ้าน ครอบครัว และโรงเรียน จากการจัดโครงการ ทั้ง 11 ครั้ง ที่ผ่านมา ทำให้เห็นถึงปัญหาของผู้ป่วยปากแหว่งพดานโหว่ หลายประการ เช่น ปัญหาด้านการแพทย์ เช่น การปวดแผลหลังการผ่าตัดและการดูแลบาดแผล การติดตามการรักษา ทางคลินิกที่มีระยะเวลายาวนาน การคาดหวังผลลัพธ์ของการผ่าตัดที่อาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ปัญหาด้านการเงิน เช่น ค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์ การเดินทาง และการขาดรายได้เพื่อมาติดตามการรักษา ปัญหาด้านการพูด เช่น การพูดเสียงขึ้นจมูก พูดไม่ชัด และความยากลำบากในการสื่อสาร ปัญหาด้านจิตวิทยาและสังคม เช่น การขาดความมั่นใจ ปัญหาของภาพลักษณ์ส่วนตัว การแยกตัวการเกิดปมด้อย การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความแปรปรวนทางอารมณ์ และความยากลำบากในการหางานทำ เป็นต้น จากปัญหาด้านต่างๆ มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า จึงจัดโครงการ การบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 12 โดยการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น, มูลนิธิตะวันฉายเพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า เจ้าของโครงการ ร่วมกับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยชอนแก่น ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ตะวันฉายและทีมสหวิทยาการ โดยมีเป้าประสงค์สำคัญของการจัดโครงการต่อเนื่องครั้งที่ 12 คือ คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า ที่โด้รับการดูแลอย่างครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านการดำรงชีวิ ด้านสังคม และด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจ ซึ่งจะส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ เป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบมากที่ เพื่อมุ่งหวังให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งในอนาคตโครงการนี้อาจเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างเหรือข่ายที่เข้มแข็งให้เก่ารดูแลรักษาในกลุ่มโรคอื่นๆ ได้เป็นอย่างดีต่อไป

456564558-10162058375909604-7660439047361748911-n

           ทางด้านนายประสิทธิ์ ทองแท่งไทย รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ตนมีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การบริการที่สมบูรณ์แบบเพื่อการดูแลผู้ป่วยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในพื้นพื้นที่จังหวัดขอนแก่นครั้งที่ 12” หรือจะเรียกสั้นๆ ว่า “ค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต น้อง ๆ ตะวันฉาย” ในครั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมและสนับสนุนโครงการอันเป็นประโยชน์อย่างมากต่อน้องๆ ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ครอบครัวฯ และเพื่อนๆ ของน้อง ๆ ด้วย อีกทั้งยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติที่ 4 เรื่องการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนแม่บทที่ 13    การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี และ สอดคล้องกับแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และกรอบแนวทางการพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาจังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2566-2570 ในประเด็นการพัฒนาที่ 4 การพัฒนาสังคมสุขภาวะให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ตามแนวทางการพัฒนา ที่มีทั้ง1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทุกช่วงวัยให้มีสุขภาวะและความเป็นอยู่ดี2) การส่งเสริมสวัสดิการและการพัฒนาทักษะด้านการประกอบอาชีพให้มีรายได้อย่างยั่งยืน และ3) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชน เป็นฐานในการสร้างสุขภาวะที่ดี

456784905-10162058377244604-6855887710955688871-n

        สุดท้ายนี้ขอชื่นชมมูลนิธิตะวันฉายฯ ที่มุ่งมั่นตั้งใจมอบโอกาสให้กับน้อง ๆ ทั้งด้านร่างกายและจิตสังคม ในสุขภาพ สังคม การศึกษา การดำรงชีวิต และการเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพกายและจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข และสามารถตอบแทนคืนสู่สังคมได้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ ผู้ป่วยและครอบครัว จะนำเอาทักษะ ความรู้จากการฝึกอบรมในโครงการนี้ ไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในชีวิตจริง รวมทั้งแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ดีๆ ให้แก่คนรอบข้าง ขอขอบคุณ มูลนิธิตะวันฉายฯ และทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมมือร่วมใจกัน จัดโครงการการบริการที่สมบูรณ์แบบนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ยินดีที่จะให้การสนับสนุนโครงการดีๆเช่นนี้ตลอดไป”นายประสิทธิ์ ทองแท่งไทย รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นกล่าวปิดท้าย

vlcsnap-2024-08-24-23h12m47s834 IMG-2833
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
NocNoc on Tour เยือนอีสาน ที่แรกที่ขอนแก่น
เซ็นทรัล ขอนแก่น ฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ประจำปี 2567
คลังปิโตรเลียมขอนแก่น จัดกิจกรรมการตรวจประเมิน  โครงการ รักษ์ แอท หนองกุง
สำนักบริการวิชาการ มข. Up Skill ผู้ปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มข. จับมือ ซีพี และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ขับเคลื่อนนวัตกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ช่วยลดต้นทุน สร้างรายได้เกษตรกร ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
สยามคูโบต้า เดินหน้าจัด INNO SHOWCASE เสวนาการเกษตร 5 จุดทั่วไทย ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร ชวน Young Smart Farmer เข้าแข่งขัน “คูโบต้า กล้า | ท้า | ปลูก” ปีที่ 2