วันศุกร์, 15 พฤศจิกายน 2567

จังหวัดร้อยเอ็ด จับมือกับ โครงการเรน รณรงค์ไม่เผาตอซัง หากทำได้ดีต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดินเพิ่มพูนผลผลิต

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 16 ที่ โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้น จังหวัดร้อยเอ็ด นายนพดล จอมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิด การฝึกอบรมเกษตรกร เรื่อง “กลยุทธ์และเทคโนโลยีไม่เผาตอซังในนาข้าว” เป็นความร่วมระหว่างองค์กรวินร็อคอินเตอร์แนชั่นแนล เป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา โดยในวันนี้ดำเนินโครงการเรนในประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด จัดฝึกการอบรมรณรงค์ไม่เผาตอซัง โดยมีนางสาวจิราภรณ์ โชติพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการโครงการเรน พร้อมด้วย รศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล ผู้ประสานงานโครงการ Chi river No Burn และเกษตรกร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จากอำเภอจังหาร เชียงขวัญ เสลภูมิ และทุ่งเขาหลวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการอบรมกว่า 130 คน

นางสาวจิราภรณ์ โชติพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการโครงการเรน กล่าวว่า โครงการนี้ดำเนินการในพื้นที่ 4 จังหวัดลุ่มน้ำชี ภายใต้ชื่อ Chi River No Burn Project (โครงการไม่เผาในลุ่มน้ำชี) ได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด จะได้ดำเนินกิจกรรมหลัก 4 ด้าน คือ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การสร้างเครือข่ายเกษตรกร 3) การสร้างความร่วมมือ และ 4) การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ซึ่งในกิจกรรมเหล่านี้โครงการเรนจะได้สนับสนุนเกษตรกรให้ใช้นวัตกรรมเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

“สำหรับองค์กรวินร็อคอินเตอร์แนชั่นแนล เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ทำโครงการต่างๆทั่วโลกเพื่อเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ รักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โดยได้ดำเนินการในประเทศไทย ชื่อว่า โครงการเรน (RAIN: Thailand Regional Agriculture Innovation Network) ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 5 ปี ดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ 11 จังหวัดของประเทศไทย โครงการนี้จะได้สนับสนุนเกษตรกรรายย่อย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการเกษตร โดยจะมีการคัดเลือกเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมสู่เกษตรกรในลดรายจ่าย เพิ่มผลผลิตและรักษาสิ่งแวดล้อม”

นางสาวจิราภรณ์ กล่าวอีกว่า โครงการไม่เผาในลุ่มน้ำชี นี้ จะทำการอบรมแกนนำเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรที่ผ่านการอบรมนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับเกี่ยวกับการไม่เผาตอซังข้าว นำขยายผลไปยังเกษตรกรท่านอื่นๆ เพราะในปัจจุบันยังมีเกษตรกรบางรายยังเผาตอวังด้วยเหตุผล คือ กำจัดง่าย เร็ว ลดต้นทุน สะดวก แต่ไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา เช่นหน้าดินถูกทำลายไปพร้อมกับจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อดิน ต่อต้นข้าว ทำให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญอย่างหนึ่งเป็นสาเหตุของฝุ่น PM 2.5 ดังนั้นหากไม่มีการเผา ปล่อยให้จุลินทรีย์สลายตอซังแล้วไถกลบ จะส่งผลให้สภาพดินสมบูรณ์ดีมากขึ้น สิ่งแวดล้อมดีขึ้น พืชและสัตว์เล็กๆจะมาอาศัยในแปลงนามากขึ้น

ด้าน รศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล ผู้ประสานงานโครงการ Chi river No Burn กล่าวว่า โครงการมีการสร้างเสน่ห์และแรงจูงในให้เกษตรกรเข้าร่วมพร้อมปฏิบัติมากขึ้น โดยหลังจากอบรมให้ความรู้แล้ว เกษตรกรก็จะได้ขยายผลไปยังเพื่อนเกษตรกร ไม่เผาตอซังและมีการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย เกษตรกรที่ผ่านการอบรมระดับจังหวัด หากสามารถขยายผลได้เป็น 30 คนแรกของแต่ละจังหวัด จะได้รับรางวัลเป็นบัตรกำนัล (วอยเช่อร์) มูลค่า 10,000 บาทต่อคน ที่สามารถไปแลกปัจจัยการผลิตจากหน่วยงานที่ทางโครงการได้ประสานงานไว้ รวมแล้วคิดเป็น 120 รางวัล คิดเป็นมูลค่า 1,200,000 บาท

นอกจากนี้ หลังเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว จะมีการประกวดว่า ชุมชน/หมู่บ้านไหนมีประกวดการจัดการแปลงนาโดยไม่เผาตอซังดีเด่น จังหวัดละ 3 รางวัล รวม 12 รางวัล ขณะเดียวกัน มีการสนับสนุนการทำแปลงสาธิตไม่เผาตอซังและใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย จำนวน 40 แปลง ซึ่งทางโครงการจะสนับสนุนจุลินทรีย์และค่าการเตรียมดินทั้ง 40 แปลง (ค่าไถดะ ไถพรวน) สิ่งเหล่าเป็นกลยุทธ์หนึ่งของโครงการที่ประสงค์ให้เกษตรเปลี่ยนทัศนคติไม่เผาตอซังด้วยการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
จังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับโครงการเรน เดินหน้าขับเคลื่อนใช้กลยุทธ์และเทคโนโลยีไม่เผาตอซังในนาข้าว มุ่งสร้างเป็นเมืองเกษตรปลอดการเผา โครงการ Chi river No Burn
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดหลักสูตร “การบริหารสัญญา งด ลดค่าปรับ บทบาทหน้าที่กรรมการจัดซื้อจัดจ้างฯ เพื่อให้ได้พัสดุตามความต้องการ”
ร้อยเอ็ด แถลงข่าวจัดงาน “มหาทานบารมี ประเพณีบุญผะเหวดร้อยเอ็ด” ประจำปี 2567
จังหวัดร้อยเอ็ดร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “สงกรานต์ร้อยเอ็ด ม่วนซื่น เมืองเกินร้อย”
‘ร้อยเอ็ด สถานที่แห่งความทรงจำ’คว้ารางวัลชนะเลิศ โครงการสร้างสรรค์ไทย ปี 2
(มีคลิป)กฟผ.โดยฝ่ายปฎิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดโครงการค่ายส่งเสริมผู้เรียนทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ผ่านฐานกิจกรรม Walk rally ให้กับน้องๆเยาวชนโรงเรียนธวัชบุรีวิทยาคม  อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด