วันเสาร์, 3 พฤษภาคม 2568

โก โฮลเซลล์ เปิดฤดูกาลส้มสายน้ำผึ้งรับลมหนาว ชูความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่ ส่งตรงจากแหล่งดัง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ช่วยเกษตรกรกระจายผลผลิตทั่วประเทศ

โก โฮลเซลล์ (GO WHOLESALE)  ตะลุยแหล่งปลูกส้มสายน้ำผึ้ง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ รับซื้อผลผลิตจากชาวสวนบนยอดดอย ตรวจสอบกระบวนการเพาะปลูกปลอดภัยตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงมือผู้บริโภค เปิดฤดูกาลจำหน่าย ตั้งแต่ 1 ธันวาคมเป็นต้นไป สนับสนุนเกษตรกรชาวสวนส้มกระจายผลผลิตสร้างรายได้มั่นคงและยั่งยืน  

โดย โก โฮลเซลล์ (GO WHOLESALE) ศูนย์ค้าส่งวัตถุดิบอาหาร ทางเลือกใหม่เพื่อผู้ประกอบการ ในเครือเซ็นทรัล รีเทล เดินหน้าพันธกิจสนับสนุนเกษตรกรไทย ในพื้นที่ภาคเหนือ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกที่มีชื่อเสียงของ “ส้มสายน้ำผึ้ง” ที่มีจุดเด่นคือพื้นที่ปลูกบนเขาสูง ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 700 เมตรขึ้นไป ทำให้สภาพภูมิอากาศระหว่างช่วงกลางวันและกลางคืนมีความแตกต่างกันประมาณ 10 องศาเซลเซียสขึ้นไป ส่งผลให้ส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งของที่นี่ มีความแตกต่างทั้งด้านสีผิวของผลส้มและรสชาติ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แร่ธาตุในดิน และความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าโดยรอบไม่น่าแปลกใจ หากเกษตรกรในพื้นที่จะยึดอาชีพปลูกส้มกันเป็นจำนวนมาก

1

นายสุริยะ คุปตรัตน์ ผู้จัดการสวนส้มไร่บุญธรรม เล่าว่า ในพื้นที่อำเภอฝาง ปลูกส้มกันมานานมากกว่า 40 ปีแล้ว โดยมีหน่วยงานภาครัฐได้ให้ความสำคัญในการลงพื้นที่มาอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สารเคมีให้แก่เกษตรกรเพื่อผลิตส้มให้ปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง สำหรับไร่บุญธรรมที่ผมดูแลมีพื้นที่กว่า 200 ไร่ เราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เพราะผลผลิตเราส่งเข้าห้าง ซึ่งจะซีเรียสเรื่องสารตกค้างมาก เราจะมีบัญชีการใช้สารเคมี  วางแผนระยะเก็บผลผลิตให้ปลอดภัย

4

“เราเป็นคนต้นทาง ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการปลูกส้มอย่างปลอดภัย ซึ่งจะมีการเว้นระยะความปลอดภัยในการเก็บเกี่ยวตามค่ามาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดมาให้ เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ว่า จะขายส้มกันได้ง่ายๆ เหมือนเมื่อก่อน  การแข่งขันในตลาดสูง ถ้าเข้าห้างฯ ได้ก็จะดีกว่า อย่างผลผลิตที่เราส่ง โก โฮลเซลล์ จะเข้มงวดเรื่องสารเคมีตกค้างมาก  โดยมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบการลงบันทึกการใช้สารเคมีที่ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข ดูข้อมูลย้อนหลัง ตรวจสอบสารเคมีตกค้างจนกว่าจะถึงมือผู้บริโภค และต้องตรวจสอบย้อนกลับได้”

คนต้นทางอย่างเขาบอกอีกว่า การปลูกส้มให้ปลอดภัยนั้น ต้องทำตลอดกระบวนการตั้งแต่เป็นดอกส้ม จนถึงระยะเก็บเกี่ยว ก่อนผลผลิตออกจากสวน จะมีการตรวจสอบสารตกค้างด้วย GT Test Kit และต้องส่งผลการทดสอบที่ได้จากห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานระดับสากล ISO 17025 ด้วย

3

นอกจากสวนส้มไร่บุญธรรมแล้ว  โก โฮลเซลล์ ยังรับซื้อส้มสวนส้มธนาธร อีกหนึ่งรายใน อ.ฝาง ที่มีเกษตรกรลูกสวนมากมายและได้มาตรฐามความปลอดภัยระดับสากล โดย นางสาวธนาพร จิระวัฒนากูล ผู้จัดการโรงงาน บริษัท เชียงใหม่ธนาธรฟาร์ม จำกัด กล่าวว่า ส้มจากสวนส้มธนาธรของเราจะได้ใบรับรอง GAP ส่วนโรงงานแพ็คบรรจุก็ได้ใบรับรอง GHP และ HACCP  ซึ่งในเทศกาลปีใหม่นี้ ได้จัดทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ใส่ส้มสายน้ำผึ้งคุณภาพปลอดภัยเอาไว้เป็นทางเลือกในช่วงการส่งความสุขให้แก่กัน

2

แม้ปัจจุบัน ส้มสายน้ำผึ้งจะสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ว่ากันว่า ช่วงที่ส้มมีรสชาติอร่อยที่สุด และมีสีส้มสวยที่สุด จะอยู่ในช่วงเดือน ธ้นวาคม – กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูกาลส้มที่ทุกคนรอคอย

พบผลผลิตส้มสายน้ำผึ้งที่มีความปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน ได้ที่ โก โฮลเซลล์ ทุกสาขา ทั้ง ศรีนครินทร์ เชียงใหม่ อมตะชลบุรี พัทยาใต้  พระราม2 รังสิต รามคำแหง ราไวย์ เมืองภูเก็ต และสาขาล่าสุดเจริญราษฎร์

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
โก โฮลเซลล์ เพิ่มดีกรีความเข้มข้นแบรนด์กลยุทธ์ “สด ครบ คุ้ม” ย้ำพันธกิจพาผู้ประกอบการไทย ก้าวไปให้ไกลกว่าเดิม “ความสำเร็จคุณ เป้าหมายเรา”
 โก โฮลเซลล์ ลุยเคาะรั้วมหาวิทยาลัย ชี้ช่องตำแหน่งงาน นำร่อง ม.มหาสารคาม เจาะนิสิตเฉพาะทาง เพิ่มผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจ ตอกย้ำ Brand Core Value
พูดถึงกล้วยหอมทอง ทำไมต้องที่ “โก โฮลเซลล์” ผลผลิตสดใหม่จากเสิงสาง ใหญ่ เนื้อแน่น รสชาติดี มีมาตรฐาน GAP
โก โฮลเซลล์ งัดกลยุทธ์ครบคุ้มรับซัมเมอร์ กระตุ้นกำลังซื้อร้านค้าปลีกขนาดเล็ก จัด “โชห่วย GO Plus” ขนทัพสินค้ารับร้อน สาดโปรโมชั่นแรง ปลุกย่านรังสิต คึกคัก
โก โฮลเซลล์ ปล่อยหนังโฆษณาใหม่ สื่อสารแบรนด์ DNA ‘Always Fresh-Forward’พร้อมตอกย้ำ “ความสำเร็จคุณ เป้าหมายเรา”
โก โฮลเซลล์ ลดขยะอาหาร บรรเทาวิกฤติโลก ผนึก SOS บริจาคอาหารส่วนเกิน ลดความเหลื่อมล้ำในชุมชน