วันเสาร์, 5 เมษายน 2568

ทรู คอร์ปอเรชั่น เร่ง กสทช. เดินหน้าประมูลคลื่นความถี่ตามแผนเดิม หนุนไทยขึ้นแท่นดิจิทัลชั้นนำในภูมิภาค

01 เม.ย. 2025
123

1 เมษายน 2568 – บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แสดงจุดยืนในการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะครั้งที่ 2 ต่อร่างประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล สนับสนุน กสทช. นำคลื่นตามแผน IMT Spectrum Roadmap มาจัดประมูลตามกำหนดเดิม

นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิจการองค์กร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะด้านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เราต้องรักษาความได้เปรียบนี้ด้วยการมองไปข้างหน้าและเร่งสร้างโอกาสใหม่ๆ การประมูลครั้งนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจะเป็นประเทศชั้นนำด้านดิจิทัลหรือจะล้าหลัง การประมูลคลื่นความถี่ครั้งนี้มีส่วนสำคัญในการผลักดันโครงสร้างดิจิทัลของประเทศ ดังนั้น กสทช. จึงควรเร่งให้เกิดการประมูลคลื่นความถี่ตามแผนเดิม”

TRUE02

โดย ทรู คอร์ปอเรชั่น สนับสนุนให้ กสทช. จัดการประมูลตามแผนการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลของประเทศไทย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567-2571) หรือแผน IMT Spectrum Roadmap ที่ กสทช. เห็นชอบ และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปตั้งแต่ปี 2567 อันประกอบด้วยคลื่นที่กำลังจะหมดอายุทั้งในปีนี้และอีก 2 ปีข้างหน้า รวมถึงคลื่นความถี่ที่ว่าง เพื่อให้เกิดการนำคลื่นไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเห็นว่า กสทช. ควรเร่งให้เกิดการประมูลคลื่นตามแผน IMT Spectrum Roadmap เพื่อลดผลกระทบอันเกิดจากการจัดสรรคลื่นไม่ทันท่วงที นอกจากนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังสนับสนุนการประมูลคลื่นในรูปแบบที่นำคลื่นมาประมูลพร้อมกัน ซึ่งเป็นวิธีการที่เป็นที่ยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับแนวโน้มในการจัดสรรคลื่นทั่วโลก นอกจากนี้ในประเด็นการกำหนดราคาขั้นต่ำ ทรู เห็นด้วยกับวิธีการกำหนดราคาที่อ้างอิงหลักการสากล ไม่ใช่การนำราคาตามข้อตกลงระหว่างเอกชนในอดีตที่ไม่ได้สะท้อนมูลค่าคลื่นความถี่เพียงอย่างเดียว 

นอกจากนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคลื่น 3500 MHz แม้จะเป็นอีกหนึ่งคลื่นที่มีความสำคัญ แต่ขณะนี้ทรู คอร์ปอเรชั่นยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ อีกทั้ง หากนำมาร่วมประมูล กสทช. ควรพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล และผู้รับชมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบ C band ก่อนดำเนินการประมูล

ทรู คอร์ปอเรชั่นเน้นย้ำว่า คลื่นความถี่คือทรัพยากรสำคัญของประเทศที่เปรียบเสมือนรากฐานในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล การจัดสรรคลื่นอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ไทยแข่งขันได้ในเวทีโลก และสนับสนุนการเติบโตของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้ง 5G ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) บริษัทฯ แสดงความเชื่อมั่นว่า กสทช. จะดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ครั้งนี้ด้วยความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 ปกผู้สับสนุน2 tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg 33333 cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ ‘ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568’ ปีที่ 7 หนุนนักศึกษาลงพื้นที่ นนทบุรี-นครปฐม พลิกโฉมผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจฐานราก
SIHOO จัดงาน “2025 SIHOO แบรนด์สู่ตลาดโลก” ประกาศเปิดตัว SIHOO Thailand อย่างเป็นทางการ มุ่งสู่แบรนด์เก้าอี้เพื่อสุขภาพอันดับ 1 ในประเทศไทย
ทรู คอร์ปอเรชั่น ผนึกร่วม ปภ. กสทช. ดีอี ซ้อมใหญ่ระบบเตือนภัย Cell Broadcast นำร่องพร้อมใช้จริงเพื่อคนไทย ปลื้มผลทดสอบตามคาดหมาย
สายการบินไชน่าแอร์ไลน์ ลงนามสรุปสั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ350-1000 จำนวน 10 ลำ
SEA-ACN เปิดเวทีเสวนาหัวข้อ “การประสานมาตรฐานคำนิยามบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs)” ในอาเซียน (มาเลเซียและไทย)
โครงการมูลนิธิยาเพื่อนยาก บ้านหมอละออง ครั้งที่ 18 “รำลึกถึงบุญคุณและสานต่อสังคมแห่งการให้”