วันพฤหัสบดี, 17 เมษายน 2568

คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จับมือ PMCU ร่วมจัดหลักสูตรพัฒนาผู้จัดการสินทรัพย์และ นักพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ พลิกโฉมพื้นที่สถานีรถไฟ

วันที่ 8 เมษายน 2568, กรุงเทพฯ – คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) จัดหลักสูตร “พัฒนาผู้บริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟเพื่อสร้างรายได้” เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ มุ่งเน้นการบริหารพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟเพื่อให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างศูนย์กลางของชุมชนในด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการก้าวสู่การเป็นเมืองแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน โดย ซียู ดีโฟร์เอส

เอ็นเทอร์ไพรส์ เป็นผู้ดำเนินการจัดการหลักสูตรนี้

ผศ. สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้เล็งเห็นแนวโน้มการพัฒนาระบบรถไฟรางคู่ในสถานีรถไฟทั่วประเทศ นำมาซึ่งโอกาสสำคัญในการบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบสถานีให้สามารถให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพและมูลค่าสูงสุด โดยผสานแนวคิด Transit-Oriented Development (TOD) และการบริหารจัดการพื้นที่สถานีรถไฟเพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาชุมชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่จะสามารถสร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน”

ผศ.ดร. ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย ผู้ช่วยคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ขยายความร่วมมือทางด้านวิชาการร่วมกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานในต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมัน ที่เป็นต้นแบบของการพัฒนา TOD ที่ประสบความสำเร็จ ความร่วมมือเหล่านี้ได้ช่วยให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้สะสมองค์ความรู้ในการพัฒนาพื้นที่ภายใต้แนวคิด TOD ดังนั้นทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จึงมีแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ และสร้างการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาของพื้นที่รอบสถานีรถไฟในประเทศไทย”

ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้เปิดหลักสูตร “พัฒนาผู้บริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟเพื่อสร้างรายได้” โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการพื้นที่รอบสถานีรถไฟอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สถานีรถไฟ ผ่านกรณีศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะกรณีศึกษาต้นแบบจากประเทศญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟให้กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว”

ดร.จรัสพัฒน์ พฤกษารัตนวุฒิ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “PMCU จึงได้ร่วมมือกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในการพัฒนาหลักสูตร โดยใช้กรณีศึกษาในการบริหารจัดการพื้นที่จากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ซึ่งเป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน เช่น สยามสแควร์ สวนหลวงสแควร์ และย่านบรรทัดทอง เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม โดยหัวใจสำคัญของหลักสูตรนี้ คือ การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน มุ่งเน้นไปที่การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ตามแนวคิด “การทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าของพื้นที่ ผู้เช่า และชุมชน” เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ตอบโจทย์ของทุกฝ่าย และสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง”

ผศ.ดร. ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย ผู้ช่วยคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กล่าวว่า“การบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ (Property Management) จะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มมูลค่าของพื้นที่ และสร้างความยั่งยืนผ่านการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างคุ้มค่าและเป็นระบบ โดยการนำหลักการของ TOD มาช่วยในการสร้างผลตอบแทนที่สมดุลทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยหลักสูตรนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่จะช่วยยกระดับการพัฒนาระบบรางของประเทศไทยให้เป็นมากกว่าระบบคมนาคม เป็นการสร้างโอกาสในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง สร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชน และดึงดูดการลงทุนเข้ามาในพื้นที่เพื่อร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนในระยะยาว”

ไฮไลต์หลักสูตร:

  • แนวทางการจัดการบริหารพื้นที่เพื่อให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
  • แนวทางการจัดการบริหารพื้นที่ (Property Management) เพื่อเพิ่มมูลค่าพื้นที่และสร้างความยั่งยืนร่วมกับชุมชน
  • กรณีศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
  • การถอดรหัสองค์ความรู้จาก “สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU)” ซึ่งเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น สยามสแควร์ และโครงการสมาร์ทซิตี้ระดับนานาชาติ

หลักสูตรนี้จะจัดขึ้นในรูปแบบการอบรมในระยะเวลา 2 วัน เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง พร้อมโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารจากภาครัฐและเอกชน โดยกลุ่มเป้าหมายของหลักสูตรประกอบด้วย นายสถานีรถไฟทั่วประเทศ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และผู้ที่สนใจด้านการบริหารจัดการพื้นที่รอบสถานีรถไฟ

หลักสูตรนี้ไม่เพียงมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากร แต่ยังเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันให้สถานีรถไฟทั่วประเทศสามารถกลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สร้างรายได้อย่างยั่งยืน รองรับการเติบโตของระบบขนส่งมวลชน และช่วยส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตร “พัฒนาผู้บริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟเพื่อสร้างรายได้” มีรอบการจัดอบรม ดังนี้ รอบที่ 1 วันที่ 22-23 พฤษภาคม 2568 และรอบที่ 2 วันที่ 12-13 มิถุนายน 2568 เปิดรับสมัครแล้ว ตั้งแต่วันนี้ – 1 พฤษภาคม 2568 โดยมีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม 18,000 บาท/ท่าน/รอบ พิเศษ สำหรับผู้ที่สมัครภายในวันที่ 18 เมษายน 2568 จะได้รับ สิทธิ์ Early Bird ลดเหลือเพียง 16,600 บาท/ท่าน/รอบ

ข้อมูลเพิ่มเติมและการสมัครเข้าร่วมหลักสูตร

ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ Facebook: CUD4S 

สอบถามข้อมูลได้ที่ Line OA: @cud4s โทร 02-218-4316 

Email: contact@cud4s.ac.th หรือผ่านทางเว็บไซต์ http://www.cud4s.arch.chula.ac.th    

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 ปกผู้สับสนุน2 tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg 33333 cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
นิโอ ทาร์เก็ต และอินฟลูเอ็นเชี่ยลแบรนด์ สิงค์โปร์ จัดงานมอบรางวัลสุดยอดแบรนด์ปี 2024
พูดถึงกล้วยหอมทอง ทำไมต้องที่ “โก โฮลเซลล์” ผลผลิตสดใหม่จากเสิงสาง ใหญ่ เนื้อแน่น รสชาติดี มีมาตรฐาน GAP
ญาญ่า อุรัสยา เคียงข้างพรอมิสมาอย่างต่อเนื่อง เปิดตัวแคมเปญใหม่ สมัครกู้เงินได้สะดวกและง่ายขึ้นผ่านแอป
ทราเวลโลก้าเผย กรุงเทพฯ ยังครองแชมป์ ชุมพรติดโผจุดหมายฮิตสงกรานต์ 2568
สสว. เสริมแกร่ง SME ผนึกกำลัง 30 หน่วยงาน จัดงาน “ปลดล็อกความสำเร็จ SME สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน” มุ่งยกระดับศักยภาพแบบพลวัต
CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ ‘ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568’ ปีที่ 7 หนุนนักศึกษาลงพื้นที่ นนทบุรี-นครปฐม พลิกโฉมผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจฐานราก