วันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 09.30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) นำโดย ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นายสุรชัย ยุทธชนะ ผู้อำนวยการสำนักจัดการปฏิรูปที่ดิน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ได้ร่วมประชุมในครั้งนี้ ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

การประชุมดังกล่าว มีสาระสำคัญ คือ
1.การติดตามความก้าวหน้าการบริการของ คสช. โดยเฉพาะการจัดหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้กับประชาชน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี(พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ท่านได้เน้นย้ำว่า การดำเนินการใดๆ จำเป็นต้องมีข้อกำหนด บังคับใช้ตามกฏหมาย
2.การเตรียมพื้นที่ เพื่อดำเนินการจัดที่ดินแก่ประชาชนผู้ไร้ที่ดินทำกิน ครอบคลุมพี้นที่ 76 จังหวัด
3.พื้นที่ที่มีที่ดินทับซ้อน จะเร่งดำเนินการแก้ไข โดยใช้ One Map (การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ แบบบูรณาการ มาตราส่วน 1:4000 ) ซึ่งใช้เฉพาะพื้นที่ที่มีปัญหาต้องเร่งดำเนินการ โดยท่านได้ขอให้ติดตามความก้าวหน้าของ คทช.ด้วย
ตามหลักการบริหารราชการใหม่ ให้ใช้กลไกของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ดำ
เนินการ โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว และจำเป็นต้องเร่งรัด ทั้งนี้ได้อ่านรายละเอียดข้อมูลแล้ว ได้เตรียมการไว้ครบถ้วน แต่ต้องเร่งรัดการดำเนินการเพื่อให้เกิดความพึงพอใจของประชาชน ที่ยังได้รับความเดือดร้อนอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ การจัดสรรที่ดินใหม่และที่ดินที่มีความทับซ้อน ซึ่งจะต้องนำมาแก้ปัญหาทั้งหมด ทั้งนี้ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่ง แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมนี้ จะได้สรุปข้อมูลและตอบข้อซักถาม และนำข้อสังเกต อันเป็นประโยชน์และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป
4.ติดตามสถานการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน(สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า) เกี่ยวกับการสู้รบในประเทศ และการอพยพประชาชน รัฐบาลต้องมีการแก้ไข ในเรื่องการกำกับดูแลสิทธิมนุษยชน
5.การคาดการณ์เตรียมพื้นที่ ช่วยเหลือผู้อพยพของประเทศเพื่อนบ้าน (สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า)
6.กรณีมีม็อบชุมนุมประท้วง นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำว่า คนทั้งประเทศ จะต้องได้รับสิทธิ ได้รับเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญกำหนด และมีกฏหมายลูกดำเนินการอยู่ ซึ่งได้กำหนดหลักปฏิบัติไว้ โดยจะพิจารณาเหตุการณ์ชุมนุมที่เกิดขึ้น มีผลกระทบกับบุคคลอื่นหรือไม่ กระทบภาคธุรกิจเดือดร้อนหรือไม่ เกิดการจราจรติดขัด และการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพียงไร รวมถึง สถานที่ราชการอยู่ต้องห่างจากการชุมนุมเห่าไหร่ โดยพิจารณากฎหมายอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย ซึ่งประชาชนทุกคน จะได้รับการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพเหมือนกัน
นายกรัฐมนตรี ได้กำชับผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมหารือว่า กรณีการทำงานเมื่อมีความก้าวหน้าให้สรุปรายละเอียดทั้งหมด ทุกๆ พื้นที่ ส่งข้อมูลให้กับสภาฯ เพื่อให้สมาชิกได้รับทราบ ไม่เช่นนั้น ก็จะกล่าวหาอีกว่า…รัฐบาลไม่ทำอะไรเลย
